ปัจจุบันปริมาณการใช้พลาสติกและโฟมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณขยะประเภทพลาสติก และโฟมสูงถึง 2.3 ล้านตัน ซึ่งก่อให้เกิดเป็นปัญหาต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ให้พลาสติกเหล่านี้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ ก็ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 400 ปี
. |
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำคณะผู้ตรวจราชการและสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามความก้าวหน้าและปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินโครงการ ณ บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด จังหวัดชัยนาท |
. |
นายพรชัย หอมชื่น ผู้จัดการโครงการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า "ปัจจุบันปริมาณการใช้พลาสติกและโฟมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณขยะประเภทพลาสติก และโฟมสูงถึง 2.3 ล้านตัน ซึ่งก่อให้เกิดเป็นปัญหาต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ให้พลาสติกเหล่านี้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ ก็ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 400 ปี ดังนั้น ภาวะขยะพลาสติกและโฟมจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศต่างๆ ต้องพึงตระหนัก |
. |
ซึ่งในการบริโภคอาหารของประชาชนคนไทยกับการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมเป็นของคู่กันอย่างไม่มีทางเลือก และประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงผลกระทบจากการใช้วัสดุโฟมที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการกำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีสำหรับผู้นำเข้าและผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากโฟมและพลาสติกขึ้นหลายเท่าตัว |
. |
ตลอดจนยังได้เร่งหาบรรจุภัณฑ์ทดแทนต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกชีวภาพหรือบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ดังนั้น สนช. จึงได้ให้การสนับสนุน โครงการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากชานอ้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมของคนไทย ที่มีความปลอดภัยทั้งด้านสุขภาพและยังสามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งด้วย" |
. |
. |
นายพรชัยฯ กล่าวว่า "โครงการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการหนึ่งที่สำนักงานฯ ได้ให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารจากเยื่อชานอ้อยที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังสามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติภายหลังการใช้งาน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังได้ผ่านการวิเคราะห์ทดสอบจากหน่วยงานทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้นวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาขยะจากโฟมที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ รวมทั้งช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนจากการลดการใช้โฟม" |
. |
"ที่ผ่านมา สนช. ได้ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ และบริษัท บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายเพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด ในการดำเนิน "โครงการนำร่องการใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร...ปลอดมะเร็ง” ขึ้น ณ บริเวณร้านค้าในโรงอาหารสวัสดิการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อให้ผู้จำหน่ายอาหาร และผู้บริโภคได้ทราบถึงข้อมูลด้านสุขภาพจากการใช้บรรจุภัณฑ์โฟมในการบรรจุอาหาร รวมถึงทดสอบการใช้งานและเก็บข้อมูลด้านการใช้งานเพื่อนำมาประเมินผลตอบรับจากผู้บริโภค |
. |
อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการได้ใช้ผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ และยังสามารถช่วยลดปัญหาสภาพแวดล้อมด้วย ซึ่งผลดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มลูกค้า แต่ขณะเดียวกันยังติดปัญหาเรื่องราคาของบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยที่สูงกว่ากล่องโฟมประมาณ 1.5 เท่า จึงทำให้ขาดการดำเนินการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนึ้ยังต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดัน เพื่อให้เกิดพลังให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป” นายพรชัยฯ เพิ่มเติม |