เจนเนอรัล มอเตอร์ส เปิดตัวศูนย์การออกแบบแห่งใหม่เพื่อยานยนต์แห่งอนาคตที่จะขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า สตูดิโอโฉมใหม่ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณศูนย์การออกแบบ Advanced Design Center ของจีเอ็ม ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าต้นแบบ "เชฟโรเลตโวลต์"
. |
เจนเนอรัล มอเตอร์ส เปิดตัวศูนย์การออกแบบแห่งใหม่เพื่อยานยนต์แห่งอนาคตที่จะขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า สตูดิโอโฉมใหม่ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณศูนย์การออกแบบ Advanced
|
. |
ศูนย์การออกแบบ ระบบอีเฟล็กซ์ (E-Flex Systems) ในมิชิแกนนี้มีหน้าที่พัฒนาและคิดค้นยานยนต์หลากหลายรูปแบบที่ล้วนขับเคลื่อนด้วยระบบอีเฟล็กซ์ เริ่มจากรุ่นต้นแบบของเชฟโรเลต โวลต์ โดยศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นหน่วยงานเดียวในโลกที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการคิดค้นและพัฒนายานพาหนะพลังไฟฟ้าโดยเฉพาะ |
. |
บ็อบ โบนิฟาซ ผู้อำนวยด้านการออกแบบของอีเฟล็กซ์ สตูดิโอ และเชฟโรเลต โวลต์ เป็นผู้ควบคุมทีมซึ่งประกอบด้วยนักออกแบบ ประติมากร วิศวกรออกแบบ นักวิทยาศาสตร์ และทีมงานบริหาร ทั้งหมดราว 45 คน และยังเป็นผู้นำในการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกให้เชฟโรเลต โวลต์ กล่าวว่า ทีมงานของเราประกอบด้วยนักออกแบบรุ่นใหม่และนักออกแบบที่มีประสบการณ์สูง ทุกคนล้วนเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น และมุ่งมั่น ทั้งยังมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำเช่นเดียวกับตัวผม พวกเราพยายามที่จะพัฒนาทางเลือกที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นคำตอบที่จะนำเราหลุดพ้นจากการพึ่งพาน้ำมัน และผลลัพธ์เบื้องต้นของสิ่งที่ผมกล่าวถึงก็คือเชฟโรเลต โวลต์ คันนี้ |
. |
. |
เชฟโรเลต โวลต์ รถยนต์คันแรกที่ออกแบบโดยสตูดิโอแห่งใหม่ ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊ก สามารถวิ่งได้โดยไม่ใช้เชื้อเพลิงเป็นระยะทางกว่า 64 กิโลเมตร เพียงพอต่อความต้องการถึง 2 ใน 3 ในการขับขี่แต่ละวันของประชากรอเมริกัน ตามข้อมูลอ้างอิงจากรัฐบาล รถยนต์ตระกูลอีเฟล็กซ์คันแรกนี้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าโดยมีแบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายพลังงาน โดยสามารถประจุพลังงานใหม่ได้ในขณะที่รถยนต์วิ่ง จากการสันดาปของเครื่องยนต์ที่ใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือเอธานอล หรือจะประจุพลังงานง่ายๆ ด้วยการเสียบปลั๊กในบ้าน ขณะไม่ได้ใช้รถยนต์ก็ได้เช่นกัน |
. |
สิ่งสำคัญที่ท้าท้ายทีมออกแบบก็คือการพัฒนาระบบแอโรไดนามิกส์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อพัฒนาให้รถยนต์ต้นแบบดำเนินกระบวนการต่อไปสู่การผลิตเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งการพัฒนาระบบแอโรไดนามิกส์นับเป็นขั้นตอนสำคัญยิ่งยวดในเป้าหมายหลายประการ ที่ใช้ประกอบการพิจารณาขั้นสุดท้ายก่อนการตัดสินใจผลิตจริง โดยทีมออกแบบต้องทำงานร่วมกับวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านแอโรไดนามิกส์ และนักวิทยาศาสตร์หลายคนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านพลังงานของเชฟโรเลต โวลต์ ให้ดีที่สุดด้วยระบบแอโรไดนามิกส์ |
. |
สิ่งหนึ่งที่การออกแบบช่วยให้รถยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็คือประโยชน์จากระบบแอโรไดนามิกส์ ซึ่งเกิดจากรูปทรงรถยนต์ การร่วมมือกันของนักออกแบบกับวิศวกรแอโรไดนามิกส์ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานหรือวิ่งได้ระยะไกลขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้เราสามารถผลิตยานยนต์ที่มีรูปลักษณ์ดึงดูดสายตา ด้วยรูปทรงที่หลากหลายอีกด้วย เอ็ด เวลเบิร์น รองประธานกรรมการฝ่ายการออกแบบทั่วโลกของจีเอ็ม กล่าว |
. |
. |
โดยทั่วไป ระบบแอโรไดนามิกส์จะช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงลงเฉลี่ย 20 % โดยทีมนักออกแบบของจีเอ็มจะอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เพื่อพัฒนาให้รถยนต์ของจีเอ็มทุกคันเป็นรถยนต์ที่ประหยัดพลังงานทั้งหมด แท้ที่จริง จากความได้เปรียบของการออกแบบและความสามารถในการพัฒนาระบบแอโรไดนามิกส์ ทำให้จีเอ็มสามารถผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานให้กับตลาดมากกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ |
. |
ไม่ไกลจากสตูดิโอออกแบบระบบอีเฟล็กซ์แห่งใหม่ จีเอ็มได้ทำการทดลองด้านแอโรไดนามิกส์ขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการแอโรไดนามิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคิดค้นยานพาหนะที่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันตามนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น ภายในห้องปฏิบัติการฯ ประกอบด้วยอุโมงค์ลมและพัดลมเพื่อการทดสอบด้านยานยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งสามารถสร้างกระแสลมจำลองในอัตราความเร็วกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมด้วยระบบบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real Time) ระบบแสดงผลตรวจวัดแรง ความเร็ว ความดัน อุณหภูมิ และเสียงของลมจำลอง |
. |
ขณะนี้เราอยู่ ณ จุดกึ่งกลางของยุคใหม่แห่งการออกแบบ ทีมงานของเราทุกคนพยายามอย่างยิ่งในการพัฒนารถยนต์ที่จะประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น และพัฒนาให้รถยนต์ระบบไฟฟ้าวิ่งได้เป็นระยะทางที่ไกลขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เวลเบิร์น กล่าวสรุป |