ประเทศไทยหลีกหนีไม่พ้นในผลกระทบนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในทุกภาคการผลิตที่ขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของสังคมชาวเมืองและชาวชนบทในชีวิตประจำวัน การปรับตัวโดย การหาพลังงานทางเลือกอื่นมาทดแทนน้ำมันดีเซล ที่เรียกว่าไบโอดีเซลที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร
ประเทศไทย มีรถยนต์ทุกชนิดเครื่องดีเซล 6.4 ล้านคัน และ เรือยนต์เครื่องดีเซล อีก 50,000 ลำ ที่จดทะเบียนไว้ ฉะนั้นรวมเครื่องยนต์ดีเซลทั้งประเทศ จึงมีประมาณ 6.45 ล้านเครื่อง ที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลสำหรับขับเคลื่อน ในปี 2548, 49 และ 50 ยอดการจำหน่ายน้ำมันดีเซลเป็นจำนวนปีละ 19,231 , 18,213 และ 18,038 ล้านลิตร มูลค่า 384,812 , 485,377 และ 462,885 ล้านบาท หรือ เฉลี่ยจำหน่ายวันละ 53.6 , 50.2 , และ 51.1 ล้านลิตร ตามลำดับ |
. |
ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบจากทุกแหล่งผลิตทั่วโลกขยับขึ้นสูงและไม่มีท่าทีหยุดนิ่งเนื่องจากการผลิตและความต้องการที่ยังขาด ๆ เกิน ๆ ประกอบกับการเก็งกำไรน้ำมันดิบ ในตลาดหุ้น อันเนื่องมาจากความอ่อนไหวและความมั่นคงด้านพลังงานทั่วทุกมุมโลก |
. |
ประเทศไทยหลีกหนีไม่พ้นในผลกระทบนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในทุกภาคการผลิตที่ขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของสังคมชาวเมืองและชาวชนบทในชีวิตประจำวัน การปรับตัวโดย การหาพลังงานทางเลือกอื่นมาทดแทนน้ำมันดีเซล ที่เรียกว่าไบโอดีเซลที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร |
. |
เช่น ปาล์มน้ำมัน ตลอดจนน้ำมันใช้แล้ว ผลิตไบโอดีเซลเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล จึงมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงปีข้างต้น น้ำมันไบโอดีเซลทางเลือกใหม่ตามปั๊มบริการประกอบด้วย ปาล์มดีเซล และไบโอดีเซลบี 5 มียอดขายทั่วประเทศปริมาณ 10.43 , 46.7 และ 629.63 ล้านลิตร หรือ เฉลี่ยวันละ 0.03 , 0.118 และ 1.718 ล้านลิตร ตามลำดับ โดย ปาล์มดีเซล และไบโอดีเซล บี 5 มีราคาถูกกว่าดีเซลลิตรละ 0.50 - 0.70 บาท |
. |
นับจากวันที่ 1 เมษายน 2551 เป็นต้นมา น้ำมันดีเซลที่จำหน่ายในประเทศไทย ต้องมีส่วนผสมของไบโอดีเซลบี 100 ระดับ 2 ส่วนในทุกๆ ลิตรที่จำหน่าย ซึ่งต้องใช้ไบโอดีเซลบี 100 เป็นส่วนผสม บนความต้องการน้ำมันดีเซลทั่วประเทศเฉลี่ยวันละ 50 ล้านลิตร ซึ่งหากบังคับใช้เป็นไปตามนี้ ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซล บี 100 เพื่อนำไปผสม สูตรไบโอดีเซล บี 2 อยู่ที่วันละ 1.0 ล้านลิตร ถ้าเป็น สูตรไบโอดีเซล บี 5 อยู่ที่วันละ 2.5 ล้านลิตร หรือหากมีการส่งเสริมทั่วประเทศใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 5 ได้ ถึง 1 ใน 3 หรือเท่ากับ 17 ล้านลิตร ต่อวัน |
. |
ซึ่งต้องใช้ไบโอดีเซลบี 100 วันละ 850,000 ลิตรหรือ ปีละ ประมาณ 310 ล้านลิตร ซึ่งประเทศสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลธรรมชาติได้เท่ากับจำนวนดังกล่าวนี้ ที่มี มูลค่า 10,500 ล้านบาท (ณ ราคาขายปลีกที่ 33.94บาท) อย่างไรก็ดี กำลังการผลิตในปัจจุบัน ปตท มีเป้าหมายผลิตไบโอดีเซลบี 100 ประมาณ ปีละ 200 ล้านลิตร หรือเฉลี่ยวันละ 550,000 ลิตร บางจาก สามารถผลิต ได้วันละ 20,000 ลิตร และกำลังสร้างเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 300,000 ลิตร |
. |
หากรวมทั้งสองค่ายใหญ่ จะมีกำลังผลิตไบโอดีเซลบี 100 ออกมาวันละประมาณ 850,000 ลิตรต่อวัน และโรงงานที่เหลืออยู่ กับผลผลิตของชุมชน ซึ่งคาดว่าจะผลิตได้ไม่เกินวันละ 50,000 ลิตร ซึ่งรวมประมาณกำลังการผลิตทั้งประเทศน่าจะไม่เกินวันละ 900,000 ลิตร ( ถ้ามีวัตถุดิบเต็มที่) หากย้อนกลับไปพิจารณาในปี 2550 การจำหน่ายไบโอดีเซลบี 5 ได้รับการสนองตอบจากผู้ใช้รถยนต์ดีเซลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มาอยู่ที่ระดับวันละ 1.7 ล้านลิตร ซึ่งต้องใช้ไบโอดีเซลบี 100 ผสม วันละ จำนวน 85,000 ลิตร ซึ่งจำนวนผสมนี้เพียงพอกับการผลิตจริงของไบโอดีเซล บี 100 ในปัจจุบันความเป็นไปได้ในการขอนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ |
. |
ปัจจุบันไทยผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณปีละ 0.94- 1.2 ล้านตัน ในพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3 ล้านไร่ แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ทางใต้ของประเทศ คือ กระบี่(34%) สุราษฎร์ธานี (26% )ชุมพร (18%) สตูล(8%) ตรัง (4%) และอื่นๆ ใช้บริโภคภายในประเทศประมาณปีละ 900,000 ตัน และยังมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ ระหว่าง 3- 40,000 ตัน และส่งออกในรูปของน้ำมันบริสุทธิ์สำหรับประกอบอาหาร ปีละ 3 - 370,000 ตัน |
. |
โดยปีหนึ่งจะมีน้ำมันปาล์มดิบเหลือจากการบริโภค ปีละ 200,000 ตัน หรือ 200 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 550,000 ลิตร เพื่อนำเข้าผลิตเป็นไบโอดีเซล ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล บี 100 เพื่อจำหน่ายให้กับ ปตท. และ บางจาก ผู้ค้าน้ำมันดีเซลที่จะนำไปผสม เป็นไบโอดีเซล |
. |
เมื่อโรงงานผลิตไบโอดีเซลทุกโรงเปิดดำเนินการเต็มที่ ตามกำลังการผลิต และคำนึงถึงความต้องการไบโอดีเซลบี 100 เพื่อนำไปผสมเป็นบี 2 ภาคบังคับ และบี 5 ซึ่งเป็นทางเลือก แล้ว วัตถุดิบคือน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศขณะนี้ น่าจะเพิ่มขึ้นไม่ทันกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเร็วและสูงกว่า การขอนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ จึงมีความเป็นไปได้สูง |
. |
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ปี 2551 - 2555 เพิ่มการปลูกปาล์มน้ำมัน และคาดว่าในปี 2555 จะมีน้ำมันปาล์มดิบเป็นปริมาณ 2.87 ล้านตัน เพื่อการบริโภคและส่วนที่เหลือสามารถนำไปเพิ่มผลผลิตไบโอดีเซลบี 100 สนองความต้องการในการนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล บี 2 - บี 5 หรือในส่วนผสมที่สูงกว่าขึ้นไปในอนาคต ซึ่งเป็นการบูรณาการแนวนโยบายของกระทรวงพลังงาน และส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมันและสร้างรายได้ในกับประชาชนในพื้นที่ |
. |
ข้อมูลการวิจัยทางเทคนิค ของสหรัฐอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยไอดาโฮ ในปี 1979 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า น้ำมันไบโอดีเซลบี 100 ที่ ได้จากน้ำมันพืชที่แตกต่างกัน 3 ชนิด คือน้ำมัน ถั่วเหลือง เรฟซีด และ แคโนล่า กับ น้ำมันจากไขวัว ที่ผ่านกระบวนการเคมีทั้ง เอทิลและเมทิล เอส เตอร์ สามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล สี่สูบ ไดเรคอินเจคชั่น ติดเทอร์โบ |
. |
โดยเครื่องยนต์ดีเซล ไม่ปรากฏแสดงถึง ระบบท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง กรองน้ำมันเชื้อเพลิง หรือหัวฉีด ตีบตัน และมีการสึกหรอในเครื่องยนต์ผิดปกติไปกว่าการใช้น้ำมันดีเซลธรรมชาติ เช่น แหวน ลูกสูบ และผนังกระบอกสูบ สลักก้านข้อเหวี่ยง ข้อเหวี่ยง ชาร์ป และ ตลับลูกปืน แต่กำลังเครื่องยนต์อาจเสียบ้าง |
. |
โดยลดลงร้อยละ 5 แรงบิด (ทอร์ค) ลดลงร้อยละ 4 ความร้อนพลังงานลดลง ร้อยละ 6 ควันดำลดลงร้อยละ 70 และกินน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เทียบกับดีเซลธรรมชาติ ที่สำคัญคือ คุณภาพมาตรฐานของไบโอดีเซล บี 100 ต้องเป็นไปตามกำหนด และมีกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวด เพื่อให้มีการผลิต น้ำมันไบโอดีเซลบี 100 ให้ได้คุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอ |
. |
เมื่อนำบี 100 ไปผสมในสูตร ไบโอดีเซล บี 2 - บี 5 ก็จะได้น้ำมันที่ผลิตออกมามีคุณภาพมาตรฐานเป็นหนึ่งเดียวกันทุก ๆ ล๊อต ไบโอดีเซล จึงเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่มีส่วนดีคือ ลดการพึ่งพาน้ำมันดีเซลบางส่วนจากภายนอกประเทศ ลดภาวะโลกร้อน ลดควันไอพิษ ลดค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกรผู้ใช้เครื่องจักรยนต์ดีเซล แต่ยังมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าน้ำมันดีเซลธรรมชาติ และหากมองไกลออกไปอีก อาจจะมีผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกพืช หากมุ่งเน้นปลูกพืชสำหรับใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น อาจจะกระทบต่อการปลูกพืชอื่น ๆ ที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์โดยตรง. |