คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ร่วงหลุดจากระดับ 130 ดอลลาร์/บาร์เรล ลงไปปิดที่ระดับ 128.85 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ (27 พ.ค.) มาจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากที่ราคาน้ำมันทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 135 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อวันพุธที่ 21 พ.ค. ด้วยเหตุผลที่ผกผันตรงกันข้ามคือ ...สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ร่วงหลุดจากระดับ 130 ดอลลาร์/บาร์เรล ลงไปปิดที่ระดับ 128.85 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ (27 พ.ค.) มาจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากที่ราคาน้ำมันทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 135 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อวันพุธที่ 21 พ.ค. ด้วยเหตุผลที่ผกผันตรงกันข้ามคือ ...สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง |
.. |
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินอันทรงอิทธิพลคับโลก เป็นความภาคภูมิใจของอเมริกันชน เพราะดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ทำธุรกรรมการซื้อขายในตลาดที่สำคัญๆของโลก ไม่ว่าจะเป็นตลาดน้ำมัน ตลาดทองคำ ตลาดหุ้น และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ แม้แต่กลุ่มโอเปคซึ่งสมาชิกหลายประเทศยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสหรัฐก็ยังใช้สกุลเงินดอลลาร์ในการซื้อขายน้ำมัน |
. |
แต่การที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงติดต่อกันเนิ่นนานเมื่อเทียบกับสกุลเงินน้องใหม่อย่าง"ยูโร" ทำให้ดอลลาร์สหรัฐเป็นทั้งยาขมของนักลงทุนกลุ่มที่เสียผลประโยชน์เมื่อดอลลาร์อ่อนตัวลง และเป็นทั้ง"เครื่องมือในการเก็งกำไร" ของนักลงทุนกลุ่มเฮดจ์ฟันด์ที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการใช้ความผันผวนของดอลลาร์กระหน่ำซื้อและเทขายสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นตัวแปรสำคัญของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ซึ่งก็คือ น้ำมัน |
. |
จากสถิติพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงมาจากเศรษฐกิจสหรัฐที่ซบเซาลงอย่างหนัก ซึ่งดูได้จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆซึ่งใช้เป็นมาตรวัดการเติบโต อาทิ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ยอดขาดดุลการค้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (non farm payroll) เป็นต้น |
. |
นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับอิทธิพลในด้านลบจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดปล่อยกู้จำนองให้กับลูกหนี้กลุ่มที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพรม์) ภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อ และภาวะตกต่ำในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ปัจจัยลบเหล่านี้กำลังลุกลามเข้าไปสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือครัวเรือน |
. |
ส่วนอีกปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อดอลลาร์สหรัฐคือ อัตราดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงอย่างรุนแรงทันทีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงขณะนี้ อัตราดอกเบี้ยของเฟดยืนอยู่ที่ระดับ 2.00% การลดอัตราดอกเบี้ยทำให้สินทรัพย์ในรูปสกุลเงินดอลลาร์มีมูลค่าน้อยลงและไม่น่าดึงดูดใจ |
. |
แต่เฟดไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลดดอกเบี้ยลงได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างมาก ในขณะที่เงินเฟ้อในสหรัฐกลับพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันทะยานขึ้นอย่างร้อนแรง สถานการณ์เช่นนี้ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า อีกไม่นานเศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะ Stagflation (ภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงแต่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น) อย่างแน่นอน |
. |
ทิศทางของสกุลเงินดอลลาร์มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อทิศทางของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกน้ำมันและทองคำ หากดูตามสถิติและปัจจัยพื้นฐานจะพบว่า เมื่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ราคาน้ำมันดิบในตลาด NYMEX และราคาทองคำในตลาดนิวยอร์ก จะร่วงลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและทองคำซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อดอลลาร์แข็งขึ้นจะทำให้สัญญาน้ำมันและทองคำแพงขึ้น นักลงทุนจะเข้าซื้อได้น้อยลง นอกจากนี้ เมื่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้น นักลงทุนจำพวก "ตื่นตูม" ซึ่งมีอยู่ไม่น้อยในตลาด จะเฮโลกันย้ายเงินลงทุนเข้าไปในตลาดปริวรรตเงินตรา เพื่อไล่ซื้อดอลลาร์สหรัฐตามนักลงทุนสายป่านยาว |
. |
แต่เมื่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ราคาน้ำมันดิบและทองคำก็จะทะยานขึ้น เพราะสัญญาน้ำมันดิบและทองคำจะมีราคาถูกลง นักลงทุนจะเข้าซื้อได้มากขึ้น และนักลงทุนจำพวก "ตื่นตูม" ก็จะเฮโลย้ายเงินจากตลาดปริวรรตเงินตราเข้าไปทุ่มซื้อสัญญาน้ำมันและทองคำอย่างหนาแน่น ...ความเคลื่อนไหวที่ไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานที่เกิดขึ้นระลอกแล้วระลอกเล่าเช่นนี้ ทำให้ทั้งตลาดน้ำมันและตลาดปริวรรตเงินตราผันผวนจนยากที่จะต้านทาน...เป็นวัฏจักรงูกินหางที่หักปากกาการพยากรณ์ของนักวิเคราะห์มาหลายต่อหลายสำนัก...เป็นวงจรที่เข้าทางนักเก็งกำไรใช้ต่อสายป่านการลงทุน ที่ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด |
. |
ตรงข้ามกับสกุลเงินยูโรที่ผงาดขึ้นมาเป็นสกุลเงินยักษ์ใหญ่ของโลกได้เพียง 10 ปี แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าเงินสกุลใหม่อย่างยูโรได้รับการกล่าวขานว่าสามารถเป็นเงินสกุลหลักของโลก (Anchor Currency) เทียบชั้นเงินดอลลาร์ได้ ความแข็งแกร่งของยูโร เย้ายวนใจจนวอร์เรน บัฟเฟตต์ ชาวอเมริกันและบุคคลผู้ร่ำรวยที่สุดในโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ประกาศว่าจะเดินหน้าเข้าลงทุนในทวีปยุโรป เพื่อหวังเก็บเกี่ยวกำไรจากการแข็งค่าของยูโรนั่นเอง |
. |
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ |
ที่มา : http://www.ryt9.com |