กรมส่งเสริมอุตฯ จับมือ แสงทองเทคโนโลยี และพันธมิตร จัดโครงการ "ฟูมฟักช่าง สู่ช่างมืออาชีพ" อบรมช่างอิเล็กทรอนิกส์ฟรี พัฒนาทักษะอิเล็กทรอนิกส์ภาคอุตสาหกรรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หวังสร้างช่างคุณภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยี , สมาคมเครื่องจักรกลไทย , โรงเรียนเทคโนโลยีพลพณิชยการ และ บริษัท เค.วีอีเลคทรอนิคส์ จำกัด จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรภาคอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมในสาขาช่างเครื่องจักรกล หรือ "ฟูมฟักช่าง สู่ช่างมืออาชีพ" เปิดอบรมความรู้ และพัฒนาทักษะอิเล็กทรอนิกส์ภาคอุตสาหกรรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หวังสร้างช่างคุณภาพให้แก่ภาคอุตสาหกรรม |
. |
นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม |
. |
นายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายเข้ามาใช้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานที่ละเอียดซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่สถานประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มักจะไม่มีบุคลากรที่ดูแลเฉพาะด้าน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับระบบเหล่านี้ |
. |
ถึงแม้เป็นปัญหาเพียงเล็กน้อยก็ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น สถานประกอบการ SME ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านเงินทุนและบุคลากร แม้จะไม่สามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ได้ แต่หากนำบุคลากรที่มีอยู่แล้วในสถานประกอบการ มาพัฒนาความรู้เพิ่มทักษะในด้านดังกล่าว ก็สามารถทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ และส่งผลให้เกิดผลิตภาพสูงขึ้นตามไปด้วย |
. |
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เล็งเห็นว่าการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมมีโครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินกิจการที่แข็งแกร่งขึ้น ก่อให้เกิดศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดไปในด้านอื่นๆ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมในด้านอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ไฟฟ้าอุตสาหกรรม จึงร่วมมือกับ โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยี |
. |
ซึ่งเป็นสถานการศึกษาที่มีชื่อเสียงและความชำนาญในการสอนด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มานานกว่า 30 ปี จัดโครงการ “ฟูมฟักช่างสู่ช่างอาชีพ” โดยมอบหมายให้โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยีทำการพัฒนาปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม และดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรในปีนี้จำนวนอย่างน้อย 90 ราย ให้เน้นหนักทั้งในด้านทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ทำงานได้จริงในสถานประกอบการ |
. |
ด้านอาจารย์สญชัย อึ้งสมรรถโกษา ประธานกรรมการบริหาร โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยี กล่าวว่า สำหรับโครงการ “ฟูมฟักช่าง สู่ช่างอาชีพ” โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยีรับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตร การฝึกอบรม รวมถึงหางานให้ผู้อบรมเข้าทำงานกับบริษัทที่ร่วมโครงการด้วย สำหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการและใช้ประโยชน์จากผู้อบรมได้จริง |
. |
โรงเรียนฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก สมาคมเครื่องจักรกลไทย และ สมาคมสมองกลฝังตัวไทย ประกอบด้วย วิชาไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์เพื่อบำรุงรักษา ระบบไฟ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงวิชาการประยุกต์ใช้อิเล็กทรอนิกส์ ในภาคอุตสาหกรรม และซ่อมบำรุง ดูแล ระบบ ไฟฟ้า-แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเครื่องจักรกล |
. |
นอกจากนี้ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท เควี อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความรู้ความชำนาญในการซ่อมแผงอิเล็กทรอนิกส์ ในเครื่องจักรโดยตรง ร่วมสอน โดยใช้เครื่องมือในการสอนที่มีมูลค่ากว่า 2 ล้านบาทต่อ 1 ชุด ในการฝึกอบรมครั้งนี้ด้วย เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบัน |
. |
นอกจากมีการอบรมในกรุงเทพฯ แล้ว โครงการนี้ถือเป็นโครงการนำร่องที่มีการอบรมในภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดยได้ร่วมกับพันธมิตร โรงเรียนเทคโนโลยีพลพาณิชยการ ของ ศจ.นพ.ดร. กระแส ชนะวงศ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพด้านการฝึกอบรมช่างเป็นอย่างดี โดยจัดสัดส่วนการเรียน ภาคทฤษฎี 40% และภาคปฏิบัติ 60% โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนตลอดโครงการ 7 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2551 |
. |
อาจารย์สญชัย กล่าวเสริมว่า "ในช่วงทดลองเปิดโครงการ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากที่จะเปิดรับเพียง 15 ท่าน ในระยะแรก จึงต้องรับเพิ่มเป็น 30 ท่าน และ ตอนนี้ได้พัฒนาหลักสูตรจนเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย จึงจะรับสมัครเพิ่มอีก 60 ท่าน โดยฝึกอบรมในกรุงเทพฯทั้งหมด ทั้งนี้การฝึกอบรมจะจัดขึ้นที่โรงเรียนแสงทองโทรทัศน์ทั้ง 3 สาขา และ หมดเขตรับสมัคร 31 พฤษภาคม 2551 นี้ ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ในปีนี้ คงต้องรอโครงการใหม่ของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปีถัดไป" |
. |
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า สิ่งที่คาดว่าผู้อบรมได้รับจากโครงการคือ เกิดหลักสูตรใหม่ๆ ในการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับภาคโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแท้จริง และลดการว่างงาน และ เป็นการสร้างอาชีพให้กับนักศึกษาจบใหม่ ให้มีอาชีพ และ มีอนาคต ที่ดีในการทำงาน และที่สำคัญทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมลดลง และเกิดการซ่อมแซม เครื่องจักรในโรงงานมากขึ้น อันเป็นการลดการสูญเสียจากการทิ้งเครื่องจักรที่สามารถนำกลับมาใช้งาน และเกิดประโยชน์อีกครั้ง |
. |
สำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ รับผู้ที่จบวุฒิ ปวส. หรือ ปริญญาตรี ไม่เกิน 3 ปี หรือ เป็น ผู้ศึกษา หลักสูตร ปริญญาตรี ต่อเนื่องจาก ปวส. ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงสถานประกอบการใดต้องการส่งช่างเข้าอบรม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยี โทร. 0 2304-2099 |
. |
อนึ่ง ข้อมูลจากสมาคมเครื่องจักรกลไทยได้สำรวจสถานประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนจากเครื่องจักรหยุดการผลิต ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องจักรที่ถูกทิ้งกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ประมาณ 80,000 เครื่อง ซึ่งทางสมาคมเครื่องจักรกลไทย มองว่าสามารถนำกลับมาฟื้นปรับปรุงใหม่ได้ประมาณ 40,000 เครื่อง อันจะทำให้ลดการนำเข้าเครื่องจักรที่มีมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี |
. |
อีกที้งปัญหาเครื่องจักรหยุดการผลิต ส่วนใหญ่จะเกิดจากแผงอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ในเครื่องจักรเป็นส่วนมาก อีกทั้งในปัจจุบันภาคเอกชนไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก โดยตัวเลขล่าสุดที่เปิดเผยจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่าตัวเลขในการประเมินระหว่างปี 2547-2552 ภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการแรงงานทั้งสิ้น 3.5-4 ล้านคน โดยเฉพราะในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ |