คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าตลอดปี 2551 จะต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ที่ 158,994 ล้านหน่วย และคาดว่า Peak ที่จะเกิดขึ้นในปี 2551 จะต่ำกว่าที่ประมาณไว้ที่ 23,300 เมกะวัตต์ จากภาวะฝนตกที่มาเร็วกว่ากำหนด ราคาน้ำมันแพง และสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวอยู่
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ปริมาณการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak) 3 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.51) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เดือนมกราคม 2551 อยู่ที่ 20,733 เมกะวัตต์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกัน 4.95% เดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 20,708 เมกะวัตต์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกัน 0.56% และเดือนมีนาคม 2551 อยู่ที่ 22,112 เมกะวัตต์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกัน 0.22% ขณะที่ในเดือนเมษายน 2551 ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 Peak ขึ้นไปอยู่ที่ 22,568 เมกะวัตต์ แต่ยังต่ำกว่าในเดือนเมษายน 2550 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิด Peak สูงสุดของประเทศเมื่อปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 22,586 เมกะวัตต์ |
. |
ด้านปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.51) อยู่ที่ระดับ 36,732 ล้านหน่วย สูงขึ้น 3.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 35,369 ล้านหน่วย |
. |
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าตลอดปี 2551 จะต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ที่ 158,994 ล้านหน่วย และคาดว่า Peak ที่จะเกิดขึ้นในปี 2551 จะต่ำกว่าที่ประมาณไว้ที่ 23,300 เมกะวัตต์ เนื่องจากภาวะฝนตกที่มาเร็วกว่ากำหนด จากปัญหาราคาน้ำมันแพง และสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวอยู่ ส่งผลต่อเนื่องให้การใช้ไฟฟ้าลดลงจากที่คาดการณ์ |
. |
"ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นถือว่าเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง เหตุผลคงต้องยอมรับเรื่องของสถานการณ์น้ำมันแพง เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเป็นความสำเร็จของมาตรการรณรงค์ประหยัดพลังงานของภาครัฐที่รณรงค์อย่างต่อเนื่อง และการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า (เบอร์ 5) ทำให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญการประหยัดพลังงานและหันมาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเพิ่มขึ้น" นายวีระพล กล่าว |