เนื้อหาวันที่ : 2008-04-25 10:01:28 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1667 views

จีเอ็ม ชี้กลยุทธ์เพื่อความมั่งคงด้านพลังงาน ช่วยไทยครองความเป็นผู้นำอุตฯยานยนต์

บอสใหญ่จีเอ็มไทย สตีฟ คาร์ไลส์ พร้อมร่วมมือภาครัฐแก้ไขปัญหาการพึ่งพาพลังงานปิโตรเลียม เสนอให้ทั้งภาครัฐและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ร่วมกันค้นหาแนวทางเพื่อสร้าง กลยุทธ์เพื่อความมั่งคงด้านพลังงาน เน้นการใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงหลากประเภท

.

บอสใหญ่จีเอ็มไทย สตีฟ คาร์ไลส์ ชี้กลยุทธ์เพื่อความมั่งคงด้านพลังงาน ช่วยไทยครองความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ ร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการพึ่งพาพลังงานปิโตรเลียม เสนอให้ทั้งภาครัฐและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ร่วมกันค้นหาแนวทางเพื่อสร้าง กลยุทธ์เพื่อความมั่งคงด้านพลังงาน เน้นการใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงหลากประเภท   ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมองหาพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำมัน สำหรับยานยนต์โลกอนาคต

.

มร. สตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์เอเชีย โอเปอเรชั่นส์ จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการพึ่งพาพลังงานปิโตรเลียม เสนอให้ทั้งภาครัฐและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ร่วมกันค้นหาแนวทางเพื่อสร้าง กลยุทธ์เพื่อความมั่งคงด้านพลังงานเน้นการใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงหลากประเภท 

.

ในการสัมมนาเรื่อง นโยบายพลังงานทางเลือกใหม่เพื่อเทคโนโลยีในอนาคต: กลยุทธ์สำหรับประเทศไทย จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย มร. สตีฟ คาร์ไลส์ ได้กล่าวถึงความพยายามของจีเอ็มในการรับมือกับสถานการณ์ที่ ร้อยละ98  ของรถยนต์ปัจจุบัน ยังคงพึ่งพาพลังงานจากปิโตรเลียมด้วยกลยุทธ์ด้านพลังงานทางเลือกอันหลากหลาย เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียม ทั้งยังเสนอให้ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ริเริ่มมาตรการเชิงนี้เช่นกัน

.

"เห็นได้ชัดเจนว่า แนวทางที่ประเทศไทยและอีกหลาย ๆ ประเทศ ได้ยึดถือปฏิบัติตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อันได้แก่การใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (Internal Combustion Engine) ซึ่งต้องอาศัยพลังงานเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมเกือบทั้งหมดนั้น มิใช่กลยุทธ์ที่ได้ผลอย่างยั่งยืนในระยะยาว" มร. คาร์ไลส์ กล่าว พร้อมให้มุมมองว่าสิ่งที่จำเป็นสำหรับประเทศไทยในขณะนี้ คือแนวทางใหม่ๆ ที่รวบรวมกลยุทธ์ด้านพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย "นี่คือวิถีทางในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศไทย" มร. คาร์ไลส์ กล่าวเสริม

.

.

พลังงานทางเลือกประเภทต่างๆ ทั้งเอธานอล ไฮบริดหรือพลังงานไฟฟ้า รวมถึงก๊าซธรรมชาติ ล้วนเป็นคำตอบสำคัญที่ช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระยะสั้น ในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันดิบยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มร. คาร์ไลส์ ได้ให้ความเห็นว่า การลดการพึ่งพาปิโตรเลียมในระยะยาวนั้น จำต้องทดแทนด้วยการใช้พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งมีมากมายเหลือเฟือ อีกทั้งไม่มีการปล่อยก๊าซไฮโดรคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ แต่การสร้างสรรค์พัฒนายานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนนั้นยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปี ซึ่งระหว่างนี้ ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ควรร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเพื่อหามาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหา

.

เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของภาครัฐในการจัดการด้านพลังงาน มร. คาร์ไลส์ ได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศบราซิลและสวีเดน ซึ่งกระแสความต้องการเอธานอลได้รับการผลักดันด้วยมาตรการจูงใจต่างๆ รวมทั้งภาษี นโยบายดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการรถยนต์เฟล็กซ์ฟิว (Flex Fuel) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้สูงถึงร้อยละ80  ของตลาดในประเทศบราซิล

.

มร. คาร์ไลส์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในประเทศไทย เชฟโรเลต ได้ริเริ่มแนวทางแก้ไขปัญหาระยะสั้นหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์เชฟโรเลต ออพตร้า ซีเอ็นจี และรถกระบะเชฟวี่ โคโลราโด ซีเอ็นจี ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานก๊าซธรรมชาติแบบอัด อีกทั้งรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเอธานอล อี 20 ก็จะเปิดตัวในเมืองไทยช่วงปลายปีนี้ และจะตามมาด้วยการเปิดตัวรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง อี85  ถ้าหากว่าภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงเหล่านี้

.

"ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกลยุทธ์เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นใจในการครองความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกได้ในระยะยาว และเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทยเอง" มร. คาร์ไลส์ สรุป พร้อมกล่าวเสริมว่า "ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างมาตรฐานด้านต่างๆ และให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค

.

เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือพลังงานอื่นๆ มาใช้ในอนาคต โดยภาครัฐควรให้ความสนับสนุนในการค้นคว้าวิจัย และควรพิจารณาการริเริ่มมาตรการจูงใจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยและเชื้อเพลิงชนิดใหม่ ทั้งนี้ ประเทศไทยนั้นได้เปรียบตรงที่ได้เริ่มพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญไปมากแล้ว เวลานี้จึงควรดำเนินการพัฒนางานชิ้นสำคัญนี้ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง"