ถ้าคุณเกิดความคิดที่ว่า ฉันไม่ชอบงานที่ทำอยู่เลย แต่ก็มีภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องช่วยเหลือครอบครัวและมีดอกเบี้ยต้องคอยส่ง แล้วฉันควรจะเปลี่ยนงานดีหรือเปล่าเนี่ย!
ถ้าคุณเกิดความคิดที่ว่า ฉันไม่ชอบงานที่ทำอยู่เลย แต่ก็มีภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องช่วยเหลือครอบครัวและมีดอกเบี้ยต้องคอยส่ง แล้วฉันควรจะเปลี่ยนงานดีหรือเปล่าเนี่ย! เมื่อคุณไร้ความรู้สึกของความสำเร็จ มองไม่เห็นทางที่จะนำสู่ผลลัพธ์ของความมุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่ และรู้สึกต้องการให้องค์กรหรือหัวหน้าประเมินการทำงานของคุณว่าเป็นอย่างไรบ้าง หรือต้องการให้มีคนเห็นความสำคัญของสิ่งที่คุณทำ ก็คงต้องหันมาพิจารณากันหน่อยว่า คุณต้องทำอะไรบ้างเพื่อตัดสินใจเรื่องการทำงานของตัวเอง คนที่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถนำความคิดที่มีปฏิภาณและมีการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมาใช้หาทางออกที่ดีได้อย่างชาญฉลาด |
. |
. |
ขั้นตอนทั้ง 7 ข้อด้านล่างนี้จะช่วยให้การตัดสินใจเรื่องงานของคุณมีคุณภาพขึ้น เพราะหากคุณลืมหรือข้ามข้อใดข้อหนึ่งไปอาจทำให้ความคิดของคุณไม่ครอบคลุมเรื่องทุกเรื่องที่ควรจะพิจารณาก่อนการตัดสินใจ ลองทำตามแต่ละข้อแล้วรับฟังและเชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง เราอาจจะคิดว่าสิ่งที่สัญชาตญาณบอกนั้นมาจากไหนก็ไม่รู้ แต่ส่งใหญ่แล้วสิ่งเหล่านั้นจะมาจากการได้เตรียมตัวคิดพิจารณาอย่าบรอบคอบและและได้ตั้งใจค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการจริง ๆ |
. |
7 ขั้นตอนเพื่อการตัดสินใจที่ดี |
. |
1.เชื่อมโยงความรู้สึกไม่ดีทั้งหลายที่มีเข้าด้วยกัน |
ร่างกายและจิตใจของคุณอาจส่งสัญญาณบางอย่างให้ได้รับรู้ เช่น คุณอาจรู้สึกว่าไม่อยากจะรอจนกว่าจะถึงวันศุกร์ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการทำงานปกติ หรืออาจมีอาการทางร่างกาย เช่น รู้สึกปวดหัว ส่งสัญญาณให้รู้ เพราะการเกิดสัญญาณทางร่างกายอย่างนี้จะยังคงอยู่ถ้าคุณไม่ให้ความเอาใจใส่ทำให้มันหายไป บางทีการส่งสัญญาณทางร่างกายและจิตใจอย่างนี้ก็บอกให้รู้ว่าเกิดความผิดปกติบางอย่างขึ้นกับตัวเรา |
. |
2.รับรู้ปัญหา |
กลับมาพิจารณาเรื่องของอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในความรู้สึกไม่พอใจของตัวเอง แล้วตีให้แตกว่าอะไรคือสิ่งที่คุณกลัวที่จะจัดการ คุณอาจจะเจอสาเหตุที่แท้จริงแต่ไม่สามารถคิดต่อไปได้ เพราะมีภาระบางอย่างที่ผูกมัดตัวเองกับงาน เช่น บางคนคิดว่ามีภาระเรื่องครอบครัวต้องเลี้ยงดู มีภาระหนี้สินต้องจ่ายดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง หรือต้องส่งบ้านผ่อนรถ |
. |
แต่คุณต้องแจกแจงปัญหาที่แท้จริงออกมาให้ชัดเจน เช่น คุณชอบอะไรในงานที่ทำอยู่บ้าง, แล้วมีอะไรบ้างหรือไม่ที่ไม่ชอบ, ข้อเสียในงานที่มีนั้นจะหมดไปได้เพราะการลาออกหรือไม่ หรือว่าคุณก็ต้องเจอข้อเสียอย่างเดียวกันหรือคล้ายๆ กันในงานอื่น จากนั้นลองมาดูเรื่องของอุปสรรคที่ทำให้คุณไม่สามารถออกจากงานได้บ้าง อย่างที่กล่าวไปแล้วด้านบน อย่าง ปัญหาการสูญเสียรายได้หรือผลประโยชน์ค่าตอบแทนอื่น ๆ หรือความรู้สึกผิดที่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องงานของคุณจะสร้างปัญหาให้ครอบครัวต้องลำบาก ลองคิดดูว่าคุณจะลดอุปสรรคเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง แล้วก็ทำตามที่คุณคิด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง, การปรับหน้าที่รับผิดชอบ หรือไม่ต้องทำอะไรเลย |
. |
3.ยอมรับในสิ่งที่เป็นปัญหา |
บางครั้งคุณอาจจะคิดและวางแผนว่าจะทำอะไรเพื่อจัดการปัญหา แต่สิ่งที่คุณตั้งใจมันมักจะมีความคิดสวนขึ้นมาว่า ฉันทำอย่างนั้นไม่ได้ อย่าไปกลุ้มใจ ความกลัวแบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของทุกคน ปล่อยให้ตัวเองคิดแล้วก็ยอมรับในสิ่งนั้น |
. |
4.เตรียมตัว |
อย่างแรกต้องรู้จักตัวเองให้มากขึ้น เพราะการรู้ว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญ มีผลการศึกษาพบว่า ความรู้สึกรับรู้ต่อจุดหมายในชีวิต โดยมีการเพิ่มเติมนิยามหรือความหมายของชีวิตและการวางเส้นทางเดินไปในชีวิตนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต, กำลังงาน, ความกระตือรือร้นในชีวิต และความสามารถที่จะจัดการกับความเครียด จุดเริ่มต้นที่ดีคือการค้นหาและรู้ว่าอะไรคือ ความฝัน ความปรารถนา และความหวังอันสูงสุดของตัวเรานอกจากนี้คุณต้องรู้ด้วยว่าคุณมีความสนใจในเรื่องอะไร ความต้องการ ความคิดที่คุณยึดถือ ทักษะ และสิ่งที่คุณทำได้ดี การรับรู้สิ่งที่คุณมีอยู่ในธรรมชาติของตัวเองจะช่วยให้คุณค้นหาสิ่งที่จะทำให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น |
. |
5.ตีวงตัวเลือกให้แคบลง |
ลองทำสิ่งที่คุณคิดว่าน่าสนใจและสำคัญ แต่อย่าบังคับให้ตัวเองต้องตอบว่าชอบหรือไม่ชอบ สิ่งที่ทำใช่หรือไม่ใช่ ให้เวลาเพื่อทำในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะความคิดริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ อาจจะมาตอนไหนก็ได้ |
. |
6.จัดการตัดสินใจ |
การตัดสินใจที่ดีนั้นต้องอาศัยความตั้งใจจริงและการวางแผนที่มีการเตรียมพร้อมอย่างดีทุกๆ ส่วน เช่น คุณอาจเริ่มต้นหางานใหม่ หันมาทำธุรกิจของตัวเอง หรือกลับไปเรียนหนังสือเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม วางแผนให้มีความยืดหยุ่น มองโลกในแง่ดี ทำจิตใจให้เบิกบาน และเชื่อมั่นในตัวเองว่าต้องทำได้สำเร็จ |
. |
7.ประเมินการตัดสินใจ |
นำความสนใจที่คุณมี ความสามารถส่วนตัว และสิ่งที่ทำได้ดีและถนัดมาเชื่อมโยงเข้ากับความเป็นจริงที่จะต้องทำ คุณเองสามารถจะประสบความสำเร็จตามสิ่งที่ฝันไว้ได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจและทำตามเป้าหมายที่วางไว้ ตั้งใจฝ่าฟันสิ่งต่าง ๆ สร้างสมดุลขององค์ประกอบทุกส่วนเพื่อสร้างสิ่งที่ดีที่สุด ใช้ความสามารถที่คุณมี และจงมีศรัทธาและความพากเพียรบากบั่น |
. |
เรียงเรียงจาก Seven Stages To Make Efficient And Wise Career Decisions โดย Carole Kanchier |