กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกลุ่ม BIMSTEC เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่ม BIMSTEC สามารถตกลงกันได้ในเรื่องกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่จะได้ประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าระหว่างกัน จากเดิมที่ไม่สามารถตกลงกันได้ และทำให้การเจรจายืดเยื้อมานานเกือบ 4 ปี
นายอดิสัย ธรรมคุปต์ นักวิชาการพาณิชย์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกลุ่ม BIMSTEC เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่ม BIMSTEC สามารถตกลงกันได้ในเรื่องกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่จะได้ประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าระหว่างกัน จากเดิมที่ไม่สามารถตกลงกันได้ และทำให้การเจรจายืดเยื้อมานานเกือบ 4 ปี |
. |
เบื้องต้นจะใช้เกณฑ์ทั่วไปด้วยการเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลัก(นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตในพิกัดหนึ่ง แต่เมื่อผลิตเพื่อส่งออกก็จะเปลี่ยนเป็นอีกพิกัดหนึ่งที่มีตัวเลข 6 หลัก) ควบคู่กับสัดส่วนมูลค่าเพิ่มในประเทศ(Local Contern) 35% แต่ประเทศที่พัฒนาน้อยสามารถใช้ Local Contern ที่ 30% ได้เพื่อเป็นแต้มต่อในการได้รับสิทธิลดภาษี |
. |
ขณะเดียวกัน กลุ่ม BIMSTEC ยังได้ตกลงให้จัดทำกฎแหล่งกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าขึ้น โดยแต่ละประเทศจะคัดเลือกสินค้าส่งออกสำคัญที่มีศักยภาพส่งออก แต่ไม่สามารถผ่านเกณฑ์ทั่วไปได้ และกำหนดเกณฑ์เฉพาะสำหรับสินค้านั้นๆ ขึ้นมา ซึ่งไทยได้เสนออัญมณี, เหล็ก และโทรทัศน์สี เป็นต้น โดยจะมีการเจรจาหารือในรายละเอียดต่อไป |
. |
สำหรับกลุ่มประเทศ BIMSTEC ประกอบด้วย บังคลาเทศ ภูฎาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเจรจาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี เพราะที่ผ่านมาสมาชิกไม่สามารถหาข้อสรุปในจำนวนรายการสินค้าที่จะนำมาลดภาษีได้ และมีสินค้าจำนวนน้อยมากที่แต่ละประเทศนำมาลดภาษี อีกทั้งยังมีปัญหาในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเปิดตลาด เพราะเป็นการกำหนดเกณฑ์ของสินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากการเปิดเสรี |