เนื้อหาวันที่ : 2008-03-14 09:59:15 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2502 views

มิติใหม่ความต้องการ ด้านระบบการจัดเก็บข้อมูล

ความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูล (สตอเรจ) กำลังเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ในขณะที่สภาพแวดล้อมสตอเรจ กำลังซับซ้อนเพิ่มขึ้นด้วย องค์กรต่างๆ กำลังวางแผนโครงสร้างสตอเรจของพวกเขาภายใต้เงื่อนไขสำคัญบางประการ

โดย นายฮิว โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

.

ความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูล (สตอเรจ) กำลังเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ในขณะที่สภาพแวดล้อมสตอเรจ  กำลังซับซ้อนเพิ่มขึ้นด้วย องค์กรต่างๆ กำลังวางแผนโครงสร้างสตอเรจของพวกเขาภายใต้เงื่อนไขสำคัญบางประการ ได้แก่ ความปลอดภัย การกู้ข้อมูลคืนจากความเสียหาย ความจุ เป็นไปตามกฎระเบียบ และการใช้ประโยชน์ดิสก์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้จัดการด้านไอทีก็ต้องอยู่ในกรอบของความต้องการในด้านการลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานและการจัดการสตอเรจอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีของโลกคาดว่าจะลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐที่กำลังซบเซา และบริษัทต่างๆ กำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันมากขึ้นและต้องแน่ใจว่าจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านไอทีได้

.

บริษัทต่างๆ ที่กำลังเผชิญกับปัญหาด้านค่าใช้จ่าย การจัดการ และการจัดสรรทรัพยากรภายในโครงสร้างพื้นฐานสตอเรจ ต้องหันมาให้ความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ ที่มีอยู่และพร้อมที่จะช่วยจัดการกับปัญหาต่างๆได้ โดย นายฮิว โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวว่า ในปี 2550 พบว่ามีการพัฒนาของเทคโนโลยี เช่น การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (De-duplicatioin) การจัดสรรพื้นที่ของระบบการจัดเก็บข้อมูล ให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างเพียงพอและทันเวลา (Thin Provisioning) และระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ (Services-Oriented Storage) ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสมเมื่อองค์กรด้านไอทีส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว งบประมาณด้านไอทีที่ลดลง และการคาดหวังด้านประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้น

.

.

.
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสำคัญ ห้าอันดับแรก ที่จะมีผลต่อธุรกิจในปี 2551มีดังนี้
.

1. ชุดควบคุมระบบเสมือนจริงของสตอเรจ สามารถช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มสตอเรจที่มีอยู่ แนวคิดในการใช้ชุดควบคุมเพื่อนำไปสู่ระบบเสมือนจริงนี้สามารถใช้ฟังก์ชั่นทั้งหมดของชุดควบคุมเพื่อปรับปรุงการทำงานของชั้นจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่เดิมของกลุ่มสตอเรจได้ และแนวคิดที่ใช้ชุดควบคุมเพื่อนำไปสู่ระบบเสมือนจริงนี้ สามารถจะทำให้ระบบสตอเรจที่มีความสามารถน้อยนั้นสามารถใช้ประโยชน์จากการบริการที่เพิ่มมูลค่าโดยชุดควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชั่นการเคลื่อนย้ายข้อมูลหรือความสามารถด้านการจัดสรรพื้นที่ของระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

.

2. ระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ (Services Oriented Storage) จะกลายเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับสถาปัตยกรรมเชิงบริการ: ระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการจะกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับสถาปัตยกรรมเชิงบริการในพื้นที่แอพพลิเคชั่นและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานเชิงบริการในพื้นที่โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้กลายเป็นศูนย์ข้อมูลแบบไดนามิกได้ในอนาคต ทั้งนี้ ระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการต้องการชั้นเสมือนจริงในชุดควบคุมสตอเรจที่ช่วยทำให้ระบบสตอเรจอื่นๆ สามารถใช้บริการที่มีอยู่ได้ เช่น แคชส่วนกลางประสิทธิภาพสูง การสำรองข้อมูล (Thin Provision)แบบระยะไกล สตอเรจแบบชั้น และการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

3. บริการสตอเรจที่เป็นเนื้อหา ไฟล์ และชุดข้อมูล จะรวมเป็นหนึ่งแพลตฟอร์มเสมือนจริง: แทนที่ระบบสตอเรจจะเป็นแบบแยกส่วนสำหรับการจัดเก็บเนื้อหา (เก็บถาวร) ระบบสตอเรจแบบไฟล์ และกลุ่มข้อมูล เราจะเห็นการรวมกันของสตอเรจเหล่านี้ในรูปของแพลตฟอร์มเสมือนจริง โดย        คลัสเตอร์ที่พร้อมใช้งานสูงของเซิร์ฟเวอร์เนื้อหาและเซิร์ฟเวอร์ไฟล์จะใช้แพลตฟอร์มบริการเสมือนจริงแบบชุดข้อมูลภายใต้ชุดเครื่องมือการจัดการเดียว สิ่งนี้จะทำให้เซิร์ฟเวอร์เนื้อหาหรือเซิร์ฟเวอร์ไฟล์สามารถใช้บริการชุดข้อมูลทั่วไป เช่น การสำรองข้อมูลแบบระยะไกล การจัดสรรพื้นที่จัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ หรือระบบเสมือนจริงของระบบสตอเรจต่างชนิดกันได้

.

4. การจัดสรรพื้นที่ของระบบการจัดเก็บข้อมูล ให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างเพียงพอและทันเวลา (Thin provisioning) สามารถช่วยบริษัทต่างๆ เพิ่มการใช้ประโยชน์สตอเรจได้: โดย Thin Provisioning จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์สตอเรจเพิ่มขึ้นด้วยการกำจัดความจุส่วนเกินที่เกิดจากการจัดสรรไว้แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จริง การประหยัดจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าด้วยการกำจัดความต้องการความจุทุกครั้งที่ทำการคัดลอกข้อมูล เนื่องจากความจุจะถูกใช้งานจริงเมื่อมีการคัดลอกเพื่อการสำรองข้อมูล การจำลองแบบ ดาต้ามายนิ่ง การทดสอบการพัฒนา และการแจกจ่ายข้อมูล นอกจากจะเพิ่มการใช้ประโยชน์สตอเรจแล้ว ความสามารถนี้ยังถูกรวมไว้ภายใต้แนวคิดสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

.

5. การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Deduplication) เป็นส่วนสำคัญในการลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล : การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลจะมีผลอย่างมากในการกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนในการสำรองข้อมูล ความสามารถในการลดปริมาณข้อมูลได้ราว 20-30 เท่า ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการลดค่าใช้จ่ายของการเก็บข้อมูลที่สามารถช่วยเก็บสำรองข้อมูลลงในดิสก์มากกว่าเทป ซึ่งมีคุณลักษณะด้านการใช้งาน ความพร้อมใช้งาน และความน่าเชื่อถือที่ดีกว่า สำหรับรูปแบบอื่นๆ ของการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เช่น การเก็บข้อมูลถาวรไว้ในที่สตอเรจตัวเดียวกัน และคัดลอกเมื่อเขียนสำหรับการทำสแนปช็อต จะกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

.

.

.

จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของสตอเรจกำลังเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากการเติบโตที่รวดเร็วของข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งเกินความสามารถของโซลูชั่นสตอเรจข้อมูลที่มีอยู่ สามารถจัดการได้ ทั้งนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มอุปกรณ์สตอเรจข้อมูล เนื่องจากไม่มีพื้นที่จัดวางที่เพียงพอ บริษัทต่างๆ กำลังต้องการโซลูชั่นใหม่อย่างเร่งด่วนเพื่อจัดการกับสตอเรจให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

เมื่อเข้าสู่ปี 2551 บริษัทต่างๆ กำลังมองหาสตอเรจที่มีประสิทธิภาพ และการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้สามารถช่วยให้ได้รับประโยชน์สูงสุดมากกว่าค่าใช้จ่ายด้านสตอเรจที่เสียไป สิ่งนี้จะนำไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานและการจัดการสตอเรจ นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถจัดการกับความต้องการด้านสตอเรจในการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเกินงบประมาณหรือความจุของชั้นที่จัดเก็บ ซึ่งผู้จัดการด้านไอทีอาจจะต้องพิจารณาว่าจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่เหล่านี้ เพื่อประโยชน์สูงสุด ของบริษัทหรือไม่

.

สำหรับในประเทศไทยนาย ทวีศักดิ์ แสงทอง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวถึงเทคโนโลยีใหม่ ที่เกิดจากความต้องการระบบการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ว่า เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านระบบการจัดเก็บข้อมูล คือ VTL (Virtual Tape Library), Archiving และ High-performance NAS (HNAS) จะมีความสำคัญมากขึ้น ในองค์กรธุรกิจของประเทศไทย

.

VTL เป็นระบบการจัดเก็บสำรองข้อมูลเทปเสมือนจริง โดยนำดิสก์มาใช้แทนเทป แต่กระบวนการจัดเก็บยังเหมือนเดิม ซึ่งดิสก์จะเก็บข้อมูลได้ดีกว่าและนานกว่าในขณะที่ราคาใกล้เคียงกัน ส่วน Archiving จะเป็นเทคโนโลยีที่มาช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลได้นานขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้มีการแก้ไขข้อมูล เทคโนโลยีดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากเมื่อมีการใช้พระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และกฎระเบียบต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น และ เทคโนโลยี HNAS  ที่เข้ามา จะช่วยรองรับการเติบโตของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่เป็นคอนเทนท์และไฟล์อิมเมจ

.

นอกจาก 3 เทคโนโลยีดังกล่าวที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นแล้ว  การนำข้อมูลที่มีอยู่ให้มาอินติเกรตให้เป็นแพลตฟอร์มเดียวกันก็มีความจำเป็นจะมีส่วนช่วยให้ลดค่าใช้ได้เป็นอย่างดี