สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาด ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร ปี 51 ยังคงได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะพืชกระโดดสูงตามไปด้วย
. |
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาด ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร ปี 51 ยังคงได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะพืชกระโดดสูงตามไปด้วย |
. |
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล อย่างต่อเนื่องจากราคาเฉลี่ย 20.03 บาท / ลิตร ในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 25.74 บาท / ลิตร ในปี 2550 ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในแต่ละกิจกรรมการผลิตที่ต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ต้องพึ่งพาน้ำมันดีเซล อาทิ การเตรียมดิน การบำรุงดูแลรักษา ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ฉีดยาปราบศัตรูพืชวัชพืช การเก็บเกี่ยว และการขนย้ายผลผลิต |
. |
สำหรับกิจกรรมการเตรียมดินมีสัดส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุด โดยข้าวนาปีมีสัดส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 66.51 พืชไร่ ร้อยละ 75.65 และไม้ยืนต้น ร้อยละ 67.82 ของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรวมทุกกิจกรรมการผลิต กล่าวคือ หากราคาน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้นจาก 25.74 บาท / ลิตร เป็น 30 บาท / ลิตร จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต ข้าวนาปี เฉลี่ยร้อยละ 1.54 พืชไร่ ร้อยละ 1.37 และไม้ยืนต้น ร้อยละ 0.86 ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกหลายปัจจัย ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดพืช อาทิ ราคาปุ๋ย ยาปราบศัตรู / วัชพืช ค่าจ้างแรงงาน รวมถึงราคาพันธุ์พืช |
. |
ด้านนายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการ ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้กล่าวถึงนโยบายภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มเติมว่า ทางกระทรวงฯ มีนโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมการใช้พันธุ์ดีให้ผลผลิตต่อไร่สูง รวมทั้งให้ความรู้เรื่องการใช้สารชีวภาพ ทดแทนสารเคมีในขั้นตอนการผลิต ตลอดจนดูแลเฝ้าระวังและให้ข่าวสารเรื่องราคาผลผลิต เพื่อเตือนภัยแก่เกษตรกร รวมทั้งใช้วางแผนการผลิตต่อไปในอนาคต |