ประเทศญี่ปุ่นแต่ละปีมียานยนต์ที่หมดอายุ การใช้งานเป็นจำนวนมาก ซากยานยนต์ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังสุสานรถยนต์เพื่อถอดอะไหล่และชิ้นส่วน นำมาขายต่อในตลาดอะไหล่มือสอง วัสดุมีค่าที่เหลือก็จะถูกนำไปขายต่อเป็นเศษวัสดุ ขณะที่ชิ้นส่วนและวัสดุที่ไม่มีค่าจะถูกทิ้งอย่างไม่ระมัดระวังและก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเป็นภาระต่อสังคม
. |
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในแต่ละปีมียานยนต์ที่หมดอายุ การใช้งานเป็นจำนวนมาก ซากยานยนต์ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังสุสานรถยนต์เพื่อถอดอะไหล่และชิ้นส่วน นำมาขายต่อในตลาดอะไหล่มือสอง วัสดุมีค่าที่เหลือก็จะถูกนำไปขายต่อเป็นเศษวัสดุ ขณะที่ชิ้นส่วน/วัสดุที่ไม่มีค่าจะถูกทิ้งอย่างไม่ระมัดระวังและก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเป็นภาระต่อสังคม |
. |
โดยรถยนต์ 1 คัน ประกอบด้วยชิ้นส่วนซึ่งสามารถ Re-use และ Recycle ได้ถึงร้อยละ 80 ส่วนที่เป็นเศษเหลือทิ้งมีเพียงร้อยละ 20 ประเทศต่าง ๆ จึงกำหนดระเบียบหรือมาตรการเกี่ยวกับการจัดการซากยานยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน (End of Life Vehicle: ELV) เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น |
. |
ในประเทศญี่ปุ่นมีชิ้นส่วนรถยนต์และของเหลือใช้ที่เรียกว่า Automobiles Shredder Residues: ASR ประมาณ 180 กิโลกรัมต่อรถหนึ่งคัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วย พลาสติก กระจก เหล็ก ทองแดง อลูมิเนียม และของเสียที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว Hexachromium และ Cadmium ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่า ELV ที่ถูกต้องคือการเลือกชิ้นส่วนที่สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ และจัดการกับสารพิษที่เหลืออย่างถูกวิธี กระทรวงสิ่งแวดล้อมและกระทรวง METI ของญี่ปุ่นจึงได้ร่วมกันออกกฎหมาย ELV Recycling Act เมื่อเดือนมกราคม 2548 เพื่อป้องกันการทิ้ง ASR เช่น Fluorocarbons (เป็นก๊าซชนิดหนึ่งในกลุ่ม Green House Gas ที่ก่อให้เกิดภาวะ โลกร้อน) Air bags |
. |
ทั้งนี้ บริษัทที่ผลิตหรือนำเข้ารถยนต์รวมทั้งผู้ซื้อรถใหม่ต้องฝากเงินจำนวนหนึ่งประมาณ 8,000-18,000 เยนต่อคันไว้ที่
|
. |
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการบังคับใช้กฎหมาย ELV Recycling Act เพราะสังคมของญี่ปุ่นถือเป็นส่วนหนึ่งของ Corporate Social Responsibility (CSR) ที่ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อน ประกอบกับผู้ใช้รถและบริษัทที่ทำธุรกิจ ELV Recycling มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในส่วนของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ไปญี่ปุ่น การจัดการกับ ELV ที่ถูกวิธีและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นผลดีกับประเทศไทยในระยะยาว รวมทั้งการออกกฎหมาย ELV อาจเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต |
. |
ในปี 2550 ประเทศไทยส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปญี่ปุ่นมูลค่า 26,128 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 3 และเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมากเป็นอันดับสี่ รองจากแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ และยางพารา |