เปิดประตูสู่อนาคตแห่งการขับขี่ที่ไร้อุบัติเหตุและการจราจรติดขัด ด้วยความลำหน้าของเทคโนโลยีไฟฟ้าและโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบไร้ผู้ขับขี่ ใกล้กลายเป็นความจริงมากยิ่งขึ้น
. |
เปิดประตูสู่อนาคตแห่งการขับขี่ที่ไร้อุบัติเหตุและการจราจรติดขัด ด้วยความลำหน้าของเทคโนโลยีไฟฟ้าและโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบไร้ผู้ขับขี่ ใกล้กลายเป็นความจริงมากยิ่งขึ้น |
. |
เจนเนอรัล มอเตอร์ส นำรถยนต์ เชฟโรเลต ทาโฮ “บอส” รถยนต์คันแรกของโลก ที่วิ่งได้แบบไม่ต้องใช้คนขับ จากการทดสอบวิ่งด้วยระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร โดยใช้ระบบควบคุมด้วยเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ล้ำหน้าของจีเอ็ม ที่ทำให้ความฝันในการผลิตรถยนต์แบบไร้ผู้ขับขี่ ใกล้กลายเป็นความจริงมากยิ่งขึ้น |
. |
เชฟโรเลต ทาโฮ บอส (Chevrolet Tahoe “Boss”) ตั้งตามชื่อเล่นของ ชาล์ส เอฟ เคทเทอริ่ง (Charles F. |
. |
เทคโนโลยีสุดล้ำในการทำแผนที่เข้ากับระบบสัญญาณเรดาร์ และระบบนำทาง GPS ทำให้ “บอส” สามารถรับรู้สภาพถนน การจราจร รวมทั้งอุปสรรคกีดขวางต่างๆ ทั้งบนถนน และรอบๆตัวรถได้เป็นอย่างดี จากนั้นจึงคำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบอัลกอริธึ่ม (Algorithms) คือ ระบบชุดคำสั่งตามขั้นตอนอันชาญฉลาดที่ป้อนเอาไว้ ก่อนจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นทิศทางการขับขี่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับ เชฟโรเลต ทาโฮ บอส และสามารถขับขี่หลบสิ่งกีดขวางต่างๆ ไปได้ จนกระทั่งถึงจุดหมาย |
. |
. |
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการทดลองนำ เชฟโรเลต ทาโฮ บอส ใช้ระบบนำทางดังกล่าวควบคุมการขับขี่ด้วยตัวเองเป็นระยะทางประมาณเกือบ 100 กิโลเมตร ผ่านการจราจรที่คับคั่งของตัวเมือง ทางแยกและสัญญาณจราจรต่างๆ ได้อย่างราบรื่นภายในเวลาน้อยกว่า 6 ชั่วโมง และบอสยังเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน Urban Challenge ประจำปี 2550 ของสำนักพัฒนาวิจัยภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (Defense Advanced Research Projects Agency: DARPA) |
. |
แลร์รี่ เบิร์นส์ (Larry Burns) รองประธานฝ่ายพัฒนาและวิจัย และการวางแผนกลยุทธ์ของจีเอ็ม คอร์เปอเรชั่น กล่าวว่า "เราไม่เพียงสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเพื่อขับเคลื่อนศตวรรษใหม่แห่งยานยนต์ได้เท่านั้น แต่เทคโนโลยีไฟฟ้าในรถยนต์อย่าง บอส จะทำให้เราอยู่ในโลกแห่งการขับขี่ที่ปลอดภัย ไม่มีทั้งอุบัติเหตุ ความแออัดของการจราจร และทำให้การเดินทางมีประสิทธิภาพมากขึ้นในที่สุด" |
. |
นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่มีอยู่ใน เชฟโรเลต ทาโฮ บอส ยังเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญ นำไปสู่อนาคตที่ทำให้เราสามารถ รับ-ส่ง อีเมล กินอาหารเช้า หรือแม้กระทั่งดูข่าวไปด้วยในขณะที่ บอสกำลังขับเคลื่อนตัวเองเพื่อไปส่งเราจนถึงที่ทำงาน“การแข่งขัน (Urban Challenge) นี้ ช่วยทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า การที่จะสร้างและพัฒนารถยนต์ไร้คนขับให้สำเร็จนั้น เราต้องการสิ่งใดบ้าง เหมือนกับที่เราคิดค้นพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้กับวงการรถยนต์มาอย่างต่อเนื่อง" เบิร์นส์ กล่าว |
. |
. |
ทุกวันนี้ ยานพาหนะส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับระบบไฟฟ้าหลายชนิด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับช่วยอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ให้กับผู้ขับขี่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อของ การขับขี่แบบอิสระด้วยตัวเอง (Autonomous Driving) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผิดพลาดของผู้ขับ ซึ่งปัจจัยหลักของการเกิดอุบัติเหตุ ระบบขับขี่อิสระด้วยไฟฟ้านี้เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะส่งผลสำคัญต่อระบบการขนส่งในอนาคตอีกด้วย |
. |
ปัจจุบัน เทคโนโลยีต่างๆ ในรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมปรับความเร็วอัตโนมัติ (adaptive cruise control) หรือระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว เช่น Stabili Ttrak ของจีเอ็ม ระบบนำทางด้วยจีพีเอส OnStar ที่ให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ ระบบตรวจจับก่อนการชน (pre-crash sensors) ระบบช่วยเหลือมุมมองด้านข้าง (side blind zone assist) หรือแม้แต่ระบบเตือนเมื่อรถเปลี่ยนทิศทางออกนอกเลน (Lane Departure Warning: LDW) สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนความรับผิดชอบ และความเอาใจใส่ของผู้ขับขี่ได้ ระบบเพียงแต่ช่วยลดความผิดพลาดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้โดยสาร รวมทั้งบ่งบอกจุดที่การจราจรคับคั่งได้เท่านั้น |
. |
ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของทีมแข่งรถทาร์ทัน (Tartan Racing Team) ซึ่งเป็นผู้นำชัยชนะให้กับ บอส ในการแข่งขันของ DARPA จีเอ็มได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน ในการพัฒนาระบบขับขี่อิสระด้วยตนเอง ขึ้นจากห้องวิจัยร่วม ณ มหาวิทยาลัยในเมืองพิตส์เบิร์ก ซึ่ง อลัน โทบ (Alan Taub) ประธานบริหารฝ่ายพัฒนาและวิจัยของจีเอ็ม คอร์เปอเรชั่น ได้ให้ความคิดเห็นว่า ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ นั้นเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เลยทีเดียว |