เนื้อหาวันที่ : 2008-02-29 10:10:16 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1555 views

สุวิทย์ ลั่นดึงลงทุน1ล้านล้านใน 2 ปี งัดภาษีจูงใจ ควัก3 หมื่นล.ให้กู้ SME

กระทรวงอุตฯ ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีแห่งการลงทุนมีเป้าหมายดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนทั้งจากนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาทภายใน 2 ปี โดยจะใช้ทั้งมาตรการภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

.

กระทรวงอุตฯ ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีแห่งการลงทุนมีเป้าหมายดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนทั้งจากนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาทภายใน 2 ปี โดยจะใช้ทั้งมาตรการภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี

..

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังประชุมการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินปี 2551-2554 ว่า กระทรวงได้จัดทำแผนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีแห่งการลงทุนมีเป้าหมายดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนทั้งจากนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาทภายใน 2 ปี โดยจะใช้ทั้งมาตรการภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดในการกระตุ้นการลงทุนทั้งหมด

.

"มาตรการทางภาษีที่จะปรับลดให้จูงใจนักลงทุนนั้น คงจะต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลังก่อน ส่วนมาตรการอื่นนั้น จะมีการนำเงินจากกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน มาให้ผู้ประกอบการกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าท้องตลาดมาปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มผลิตภาพการผลิต ซึ่งเชื่อว่า มาตรกาลงทุนเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคและระดับโลก ทั้งปิโตรเคมี เหล็ก พลังงาน อู่ต่อเรือและท่องเที่ยว" นายสุวิทย์กล่าว

.

นายสุวิทย์กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะสนับสนุนสินเชื่อสู่ผู้ประกอบการและชุมชนผ่านธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแหล่งเงินทุนที่จะมาปล่อยกู้ตามแผนที่วางไว้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ขณะที่กระทรวงจะจัดหาดีไซเนอร์มาปรับปรุงคุณภาพและแพคเกจจิ้งของสินค้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ฝึกอบรมและบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าของสินค้าให้ผู้ประกอบการ

.

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า มาตรการกระตุ้นการลงทุนเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ต้องทำภายใน 1 ปีนับจากนี้ รวมทั้งการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำแก่เอสเอ็มอี เนื่องจากกลุ่มเอสเอ็มอีมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาความวุ่นวายอีกครั้ง โดยกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุนอาจใช้เงิน 2-3 พันล้านบาทไปก่อน แต่ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะจัดสรรเงินปริมาณเท่าใด เพราะมีโครงการเร่งด่วนอย่างอื่นที่มีความสำคัญ เช่น กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น

.

ที่มา : มติชน