97.8% ชี้รัฐต้องผลักดันนโยบายอุตสาหกรรมยั่งยืน และการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน 81.6% สนับสนุนมาตรการหลักที่รัฐบาลเสนอส่วนใหญ่เชื่อ การบริโภคอย่างฉลาด เป็นกุญแจสำคัญผลการสำรวจ พบประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เห็นด้วยกับนโยบายและสนับสนุนแผนปฏิบัติการ ที่จะนำออกมาใช้
97.8% ชี้รัฐต้องผลักดันนโยบายอุตสาหกรรมยั่งยืน และการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน 81.6% สนับสนุนมาตรการหลักที่รัฐบาลเสนอส่วนใหญ่เชื่อ การบริโภคอย่างฉลาด เป็นกุญแจสำคัญผลการสำรวจ พบประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เห็นด้วยกับนโยบายและสนับสนุนแผนปฏิบัติการ ที่จะนำออกมาใช้ |
. |
จากที่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EC) ได้จัด "ประชาพิจารณ์ออนไลน์" ในประเด็นนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ สหภาพยุโรปในช่วงปลายปี 2007 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในทางเลือกต่างๆ ที่จะนำไปสู่แผนปฏิบัติการ “สู่นโยบายอุตสาหกรรมยั่งยืน” และ “การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน” ที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการในระดับสหภาพ ผลการสำรวจ พบประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เห็นด้วยกับนโยบายและสนับสนุนแผนปฏิบัติการ ที่จะนำออกมาใช้ |
. |
ผลการสำรวจ |
การสำรวจครั้งนี้ มีผู้ให้ข้อคิดเห็น 658 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้บอกสังกัดของตัวเอง 479 ราย แบ่งได้เป็น ความเห็นในส่วนบุคคล 277 รายและความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 202 ราย (องค์กร) ผู้ให้ข้อคิดเห็นในครั้งนี้ มาจากภาคอุตสาหกรรม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสายสิ่งแวดล้อม และภาคประชาชน ในสัดส่วนใกล้เคียงกันตามลำดับ ข้อคิดเห็นที่มาจากภาคประชาชน ได้รับจาก 22 ประเทศโดยส่วนใหญ่มาจากประเทศ ฝรั่งเศส เบลเยียม สหราชอาณาจักร และเยอรมัน ส่วนความคิดเห็นที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนใหญ่อยู่ใน เบลเยียม สหราชอาณาจักร เยอรมันและอิตาลี |
. |
อุปสรรคและโอกาส |
ผู้ตอบข้อคิดเห็นเกือบทุกคน (97.8%) เห็นว่าจำเป็นต้องมีมาตรการภาครัฐ ในเรื่องนโยบายอุตสาหกรรมยั่งยืน และการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดย 81.6% สนับสนุนมาตรการหลัก 5 ด้านที่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอ ซึ่งได้แก่ การผลักดันนวัตกรรม ผลักดันสินค้าให้ดีขึ้น สนับสนุนการผลิตที่สะอาดและ “พอเพียง” (Leaner and cleaner production) ผลักดันการบริโภคอย่างฉลาด และผลักดันตลาดโลก โดยในภาพรวม คนส่วนใหญ่เห็นว่า การบริโภคอย่างฉลาดเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะต้องพัฒนา โดยประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า มาตรการดำเนินการควรมุ่งเน้นที่การบริโภค ในขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่า การบริโภค การพัฒนานวัตกรรม และนโยบายสินค้า เป็น 3 ประเด็นหลักที่รัฐควรให้ความสำคัญ |
. |
ผลักดันนวัตกรรม |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่เห็นว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ได้แก่ การขาดนโยบายและการกำหนดทิศทางการออกกฎระเบียบในระยะยาว ผู้บริโภคไม่มีความตระหนักถึงสินค้าที่ดีกว่า การเปลี่ยนกระบวนการผลิต สินค้า และบริการไปสู่รูปแบบของการรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความเสี่ยงสูง และการจัดซื้อสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมของภาครัฐ มีน้อยเกินไป |
. |
สำหรับประเด็นแนวทางแก้ไข-ปรับปรุง ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยกับอุตสาหกรรม การให้ความช่วยเหลือ SME และการใช้เครื่องมือทางการตลาด เพื่อสนับสนุนให้มีการรับเอาเทคโนโลยีใหม่มาใช้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเสียงสนับสนุนให้ ใช้เครื่องมือทางการตลาดเพื่อส่งเสริม การพัฒนานวัตกรรมด้านการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Ecodesign) และ “นวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม”(Eco-innovation) |
. |
การผลิตที่สะอาดและ "พอเพียง" |
สิ่งที่เป็นอุปสรรคของภาคอุตสาหกรรม ในการปรับระบบการผลิต ให้มีประสิทธิภาพพลังงานและทรัพยากรสูงขึ้น ได้แก่ การขาดแรงจูงใจในการพัฒนากระบวนการผลิต (63.8%) การที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ที่เข้มงวดกว่า ทำให้เกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก (48.1%) และการปรับตัว ก่อให้เกิดภาระในการลงทุน และการเพิ่มทักษะบุคลากรมากเกินไป (44.6%) ตามลำดับ |
. |
มาตรการในการพัฒนาในประเด็นนี้ ส่วนใหญ่เห็นว่า น่าจะต้องมีแรงจูงใจเพื่อโน้มน้าวให้อุตสาหกรรมหันมาปรับตัว ใช้เครื่องมือทางการเงิน การอุดหนุน และมาตรการทางการค้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นปริมาณการใช้วัตถุดิบและการรีไซเคิล โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่า ควรมีการตั้งเป้าหมายประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ยั่งยืน |
. |
ผลักดันสินค้าให้ดีขึ้น |
การขาดความตระหนักของผู้บริโภค ต่อผลดีที่จะได้รับจากการเลือกใช้สินค้าที่ดี (61.8%) การขาดแรงจูงใจ สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่มีสมรรถนะดีกว่า (46.1%) และราคาของสินค้าที่แพงกว่า (40%) เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้บริโภคในการเลือกใช้สินค้าที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอีก 37.8% ที่เห็นว่าข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับสินค้าที่มีอยู่ ยังมีระดับความยั่งยืนไม่สูงพอ |
. |
ผู้ให้ข้อคิดเห็นระบุว่า การขยายขอบเขตของการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (ของระเบียบ EuP) ให้ครอบคลุมสินค้ามากขึ้น จะช่วยสนับสนุนสินค้าที่ดีขึ้น ส่วนรูปแบบของมาตรการที่ควรนำออกมาใช้ให้เป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า น่าจะใช้มาตรการทางภาษี การจัดซื้อภาครัฐ และการติดป้าย |
. |
ในประเด็นการกระตุ้นระบบ ในการเพิ่มสมรรถนะของสินค้าและส่งเสริมนวัตกรรมในตลาดสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่ (65.7%) เห็นตรงกันว่า จะต้องมีมาตรการบังคับ ในขณะที่มาตรการแบบสมัครใจมีผู้สนับสนุนเพียง 25% ส่วนประเด็นที่ควรมุ่งเน้นพัฒนา 79.1% เห็นว่าควรมุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงาน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมุ่งเน้น สินค้าที่เมื่อใช้แล้วจะก่อผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดก่อน |
. |
ผู้ให้ข้อคิดเห็นส่วนใหญ่ (67.3%) เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ควรขยายผลการใช้เครื่องมือด้าน การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ กับสินค้าชนิดใหม่ แต่ควรเป็นไปในลักษณะการขยายขอบเขตของระเบียบ EuP มากกว่าการออกระเบียบฉบับใหม่ นอกจากนี้ยังมีเสียงสนับสนุน ให้มีการสำแดงสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมของสินค้า และการติดป้ายความยั่งยืน (Sustainability labels) และให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง |
. |
สำหรับมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสินค้า การจำหน่าย และการใช้สินค้าที่มีสมรรถนะดีขึ้น ส่วนใหญ่เห็นว่าวิธีที่ดีที่สุด คือการใช้ระบบภาษี ที่สะท้อนประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากรของสินค้า (48.3%) การกระตุ้นด้วยกลไกการจัดซื้อภาครัฐ ที่เน้นประสิทธิภาพพลังงานของสินค้า (32.4%) และระบบการติดป้ายบนสินค้าเพื่อบ่งบอกสมรรถนะด้านต่างๆ (28.9%) |
. |
ผลักดันการบริโภคอย่างฉลาด |
การบริโภคอย่างฉลาด เป็นมาตรการที่ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุด ที่จะสามารถพัฒนาไปสู่รูปแบบของการบริโภคที่ยั่งยืนได้ ส่วนรูปแบบของการพัฒนา ส่วนใหญ่ (49.7%) เห็นว่าควรอยู่ในรูปของการเก็บภาษีตามร่องรอยสิ่งแวดล้อม (Environmental Footprint) ของสินค้า ตามด้วยการให้ความรู้และการฝึกอบรมผู้บริโภค (37.3%) นอกจากนี้ยังควรเพิ่มประเด็นประสิทธิภาพพลังงานและสินค้าสีเขียว ในขั้นตอนการจัดซื้อของภาครัฐ (33.6%) และ รวมถึงการจัดการกับการสำแดงทางสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเท็จหรือบิดเบือนความจริง (30.7%) |
. |
ในส่วนของมาตรการที่เกี่ยวกับผู้ค้าปลีก 71.8% เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการพัฒนาโครงการระดับสหภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ค้าปลีก ชักจูงผู้ผลิตในสายโซ่อุปทาน ให้หันมาเป็นผู้ผลิตสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (Greening supply chain) และให้ชี้ชวนการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค และ 78.3% เห็นด้วย กับการออกมาตรการ เพื่อยืนยันความเชื่อถือได้ของการสำแดงทางสิ่งแวดล้อม ที่ผู้ผลิต/ผู้ค้าปลีก ใช้โฆษณาสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมของสินค้าที่ตนขาย นอกจากนี้ ยังมีเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้น (82%) ให้ภาครัฐมุ่งเน้นการจัดซื้อสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม แม้จะต้องจ่ายแพงกว่า และอีก 60.5% ยังเห็นว่าการจัดซื้อสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (Green procurement) ควรเป็นมาตรการบังคับ นอกจากนี้ ยังมีอีก 71% ที่เห็นว่า ภาครัฐควรจัดมาตรการจูงใจ เพื่อกระตุ้นการจัดซื้อสีเขียวในองค์กรภาคเอกชน |
. |
ผลักดันตลาดโลก |
ในประเด็นการแข่งขันในตลาดโลก มีอุปสรรคสำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ ระดับคุณภาพที่แตกต่างกัน ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ และการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้ในระดับนานาชาติ ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหา ส่วนใหญ่ (59.9%) เห็นว่าควรกำหนดข้อกำหนดขั้นต่ำในระดับสากล (นั่นคือกำหนดให้เป็นมาตรฐานสากล) การปรับระดับ “พื้นที่เล่น” (Level playing field) (53%) การนำประเด็นประสิทธิภาพพลังงาน ไปเป็นหัวข้อหนึ่งในการพิจารณาข้อตกลงการค้าแบบทวิภาคี (43.1%) และในการกำหนดนโยบายการค้าและการพัฒนาของสหภาพยุโรป (39.1%) |
. |
ผลต่อผู้ประกอบการไทย? |
ถ้าจะมองอย่างผิวเผิน ผลสำรวจนี้ ก็เป็นเรื่องภายในของสหภาพยุโรป เป็นเรื่องคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ถามความเห็นประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายและการกำหนดแผนปฏิบัติการของภาครัฐ ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน แต่หากพิจารณาถึงผลกระทบต่อสินค้าไทย ผลสำรวจนี้ สามารถเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด แม้จะมองได้ว่าคำตอบจากผู้ตอบเพียง 658 ราย ซึ่งดูจะน้อยเกินกว่าที่จะเป็นตัวแทนของคนยุโรปทั้งหมด ที่มีอยู่ประมาณ 500 ล้านคน แต่ต้องไม่ลืมว่า |
. |
ในบรรดาผู้ตอบนี้มีอย่างน้อยๆ 202 รายที่เป็นคำตอบระดับองค์กร ที่เป็นตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผลสำรวจนี้ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเป็นผู้นำออกมาเผยแพร่ จึงเสมือนเป็นการส่งสัญญาณ ให้สาธารณชนรับทราบถึงข้อมูลที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ ในขั้นตอนการกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการ ที่จะทำกันในช่วงต้นปี 2008 "ยักษ์ใหญ่" ของสหภาพยุโรป มาตรการและวิธีการดำเนินการของยุโรป ยังอาจส่งผลสั่นสะเทือนไปทั่วโลกได้ และหากพิจารณา ปัญหาวิกฤตพลังงาน และปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ |
. |
ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ทุกประเทศหันมาเอาจริงเอาจังกับ นโยบายการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนขึ้น จะเห็นว่า โอกาสที่ตลาดจะเปลี่ยนไปสู่ รูปแบบของการผลิตและการบริโภคตามลักษณะที่สหภาพยุโรปวาดภาพไว้ มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมีสหภาพยุโรป ออกมาอ้าแขนรับภาระในการกรุยทาง ผลักดันทั้งด้านนโยบาย ทั้งการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของตลาด ทุกอย่างก็จะยิ่งง่ายขึ้น ซึ่งนโยบายเหล่านี้ นอกจากจะมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปยังตลาดยุโรปแล้ว ด้วยความเป็น |
. |
แม้จะยังไม่สามารถประเมินได้ว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงหรือไม่ แต่ก็เชื่อได้ว่า สหภาพยุโรป จะงัดมาตรการในแนวนี้มาใช้ ซึ่งในกรณีสินค้าที่ใช้พลังงาน ที่อยู่ภายใต้มาตรการบังคับใช้หรือกฎหมายลูก ของระเบียบ EuP ที่จะออกมาในไม่ช้านี้ ผลกระทบในช่วง 1-3 ปีคงมีไม่มากไปกว่าที่ผลที่คาดว่าจะเกิดจากระเบียบ EuP แต่อาจมีแรงจูงใจเพิ่มเติม ในกรณีที่ตลาดสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมจะได้รับแรงเสริมให้โตเร็วขึ้น จากมาตรการส่งเสริมการบริโภคอย่างฉลาด แต่ในกรณีสินค้าอื่นที่ยังไม่มีกฎหมายใดควบคุม ที่ผู้ผลิตยังไม่ได้เริ่มต้น ประเมินสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมของสินค้าที่ผลิต ผลกระทบก็คงจะหนักเอาการ ในทางตรงกันข้าม ผู้ผลิตที่มีสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมเตรียมไว้ในกระเป๋าอยู่แล้ว มาตรการเหล่านี้ จะเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด และเพิ่มแรงจูงใจให้เอาจริงเอาจังกับสินค้าเหล่านี้มากยิ่งขึ้น |
. |
นอกจากข้อกำหนดของตลาดที่จะเข้มงวดขึ้นแล้ว ประเด็นที่น่าจับตามองอีกประเด็น คือนโยบายส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม และการผลักดันการพัฒนานวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่จะเป็นอาวุธสำคัญ ในการแย่งชิงตลาดยุคใหม่ ที่ยังมีช่องว่างให้หยิบยกมาเป็นประเด็นในการพัฒนาได้อีกมาก ตลาดสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมในช่วงต้น สามารถเปิดโอกาสครั้งสำคัญ ให้กับผู้ผลิตหน้าใหม่ ที่มีนวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้สามารถแข่งขันกับสินค้าที่ครองตลาดอยู่เดิมได้ แต่การพัฒนาสินค้าใหม่ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังชะลอตัว จนอาจถึงขั้นถดถอย |
. |
คงไม่สามารถคาดหวัง ให้ผู้บริโภคจ่ายแพงกว่า เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม จึงควรต้องเน้นต้นทุนตลอดวัฐจักรชีวิต ซึ่งนโยบายของสหภาพยุโรป จะทำให้มีสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่า ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมในยุโรป ให้หนีห่างออกไปไกลขึ้นไปอีกได้ หากประเทศผู้ผลิตสินค้าอย่างเรา ไม่เร่งยกระดับสินค้า และหันมาสนับสนุนการพัฒนา สินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น |
. |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
|