ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 51 ใหม่ อยู่ที่ระดับ 4.5%-5.5% จากเดิม 4%-5% จีดีพีที่ 9.15 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีก่อน เอกชนมีความมั่นใจ รวมทั้งบรรยากาศการลงทุนที่ดี ทำให้การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 50
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้ปรับประ มาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 51 ใหม่ อยู่ที่ระดับ 4.5%-5.5% จากเดิม 4%-5% โดยมีผลผลิตมวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีที่ 9.15 ล้านล้านบาท และมีรายได้ต่อหัว 1.38 แสนบาทต่อคนต่อปี สูงกว่าปีก่อนที่มีรายได้ต่อหัวคนละกว่า 1.28 แสนบาท เนื่องจากเอกชนมีความมั่นใจ รวมทั้งบรรยากาศการลงทุนที่ดี ทำให้การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 50 |
. |
นอกจากนี้การส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและผู้ประกอบการสามารถปรับตัวรองรับการแข็งค่าของเงินบาทได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน ทั้งด้านระบบขนส่งมวลชน การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ การพัฒนาระบบชลประทาน การศึกษาและสาธารณสุข จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตแบบสมดุลมากขึ้นโดยการลงทุนภาคเอกชนจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกเหนือจากการส่งออกแต่เพียงอย่างเดียว |
. |
"สศช.เชื่อว่าในปี 51 จะมีเงินลงทุนจากภาคเอกชนอย่างต่ำ 7.5 แสนล้านบาทที่เข้ามาลงทุนโดยตรง เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจอีก 3 แสนล้านบาท การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วน ราชการอีก 1.6 ล้านล้านบาท รวมทั้งยังมีเงินที่ค้างอยู่ในโครงการอยู่ดีมีสุขอีก 15,000 ล้านบาท มีโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน หรือเอสเอ็มแอล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และธนาคารประชาชน ที่จะขับเคลื่อนลงสู่เศรษฐกิจรากหญ้า ขณะเดียวกันภาคเอกชนยังมีการ นำเข้าสินค้าเครื่องจักร เหล็กและวัตถุดิบ มากขึ้นในเดือนม.ค. 51 จึงยิ่งมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในปี 51 จะขยายตัวดีขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้แน่นอน" |
. |
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 50 ขยายตัวระดับ 4.8% หลังจากที่ขยายตัวต่ำสุดในไตรมาสแรก ที่ระดับ 4.2% แล้วขยายตัวเพิ่มต่อเนื่องที่ระดับ 4.3%, 4.8% ในไตรมาสที่ 2 และ 3 จนถึงไตรมาส 4 ที่ขยายตัวได้สูงสุดที่ระดับ 5.7% ซึ่งมีปัจจัยหลักจากการขยายตัวของภาคอุตสาห กรรม การก่อสร้าง และการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นมากในไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปี 50 ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.5% ที่สำคัญอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 1.4% ต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ระดับ 1.5% แต่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังอ่อนแอเพราะมีกำลังซื้อไม่มาก ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.3% แม้ในไตรมาส 4 เงินเฟ้อจะพุ่งถึง 2.9% จากใน 3 ไตรมาสแรกอยู่ที่ 2% ก็ตาม ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 14,922 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 6.1% ของจีดีพี. |
. |
ที่มา : เดลินิวส์ |