เนื้อหาวันที่ : 2008-02-25 08:40:54 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1702 views

เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่นฉลองเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์

เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่น โตอย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง สูงกว่าการเติบโตโดยรวมของตลาดซอฟท์แวร์เพื่อธุรกิจในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิกในปี 2550 ขยายการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมเพิ่มพนักงานอีกกว่า 3,300 คน

เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่น (หรือ "เอพีเจ") มีการเติบโตอย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง สูงกว่าการเติบโตโดยรวมของตลาดซอฟท์แวร์เพื่อธุรกิจในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิกในปี 2550 โดยมียอดขายซอฟท์แวร์ประจำไตรมาสที่ 4 คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น  180 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 44% และยังคงเป็นองค์กรที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของเอสเอพี เอจีตลอดปี 2550 ด้วยรายได้จากการจำหน่ายซอฟท์แวร์คิดเป็นมูลค่า 482 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 32% ในปี 2550 เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่นมีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,275 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ถึง 20%

.
มร. เจรัลดีน แมคไบรด์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่น กล่าวว่า "ปี 2550 นับเป็นปีแห่งความสำเร็จสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของเอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่น โดยบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอสเอพีมุ่งเดินหน้าขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคแห่งนี้ ในปี 2550 บริษัทได้ว่าจ้างพนักงานใหม่จำนวนมากกว่า 3,300 คนเพื่อช่วยขยายผลิตภัณฑ์และบริการของเราออกสู่ตลาดได้อย่างหลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น"
.

"ลูกค้าของเราในภูมิภาคแห่งนี้มีเป้าหมายมุ่งเสริมสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจของตน และต้องการเพิ่มความคุ้มค่าให้แก่ระบบที่นำมาใช้งาน ดังนั้น เอสเอพีจึงตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าสูงสุดและได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างพิถีพิถันโดยทีมงานที่เชี่ยวชาญของเราทั่วโลก" มร. แมคไบรด์ กล่าว และเสริมว่า "ในปี 2550 เอสเอพีได้ขยายการดำเนินงานสู่ตลาดใหม่ๆ หลายแห่งในภูมิภาคแห่งนี้ และตั้งเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจของบริษัทให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในอีก 2 ปีข้างหน้า"

.

เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่นมีรายได้จากธุรกิจซอฟท์แวร์และบริการที่เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์ เพิ่มขึ้น 24%  โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 959 ล้านยูโรในปี 2550 และเพิ่มขึ้น 32% มีมูลค่าทั้งสิ้น 304 ล้านยูโรในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550

.

นายภัทร ยงวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอพี ประเทศไทย และฟิลิปปินส์ กล่าวว่า "ปี 2550 นับเป็นปีแห่งความสำเร็จอย่างแท้จริงของเอสเอพี โดยมีรายได้ด้านซอฟท์แวร์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 85% สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในทุกกลุ่มธุรกิจของเอสเอพี ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากการมีทีมงานที่เปี่ยมประสิทธิภาพ และมีพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ส่วนงานต่างๆ ทั้งหมดของเอสเอพี"

.

ซึ่งได้แก่ บริการให้คำปรึกษา การฝึกอบรมให้ความรู้ การสนับสนุน การตลาด และพันธมิตรได้ทุ่มเททำงานกันอย่างหนักและเต็มกำลัง เพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่ลูกค้า เอสเอพีมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ โดยมีความโดดเด่นเหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ ทั้งทางด้านแอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยี และการสร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำสมัย  ทั้งยังมุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้า และด้วยปัจจัยทั้งหมดดังกล่าว ทำให้เราเชื่อมั่นว่า เอสเอพีจะยังคงครองความเป็นผู้นำในตลาดไทยได้อย่างเหนียวแน่นต่อไป

.

นอกจากนี้ เอสเอพียังมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 และนับเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกัน ทั้งยังมีส่วนแบ่งในตลาดแอพพลิเคชั่นระดับองค์กร (Core Enterprise Applications) ทั่วโลก เพิ่มขึ้นเป็น 28.5% ตลอด 4 ไตรมาสสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เทียบกับ 27.0% ตลอด 4 ไตรมาสสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 และเพิ่มขึ้น 4% จาก 24.5% ตลอด 4 ไตรมาส สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ทั้งนี้ ผลการศึกษาและวิจัยของนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ใน 4 ไตรมาสสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ระบุว่า ตลาดแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรมีรายได้ด้านซอฟท์แวร์และบริการเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าประมาณ 36,700 ล้านยูโร

.

เอสเอพีเดินหน้าขยายการลงทุนเพื่อเสริมสร้างการเติบโตของฐานลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่น เอสเอพีมุ่งเดินหน้าขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดเอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่นที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วไว้อย่างเหนียวแน่น  โดยในปี 2250 บริษัทมีพนักงานใหม่จำนวน 3,384 คน ทำให้เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่นมีพนักงานที่ปฏิบัติงานประจำในภูมิภาคแห่งนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้นมากกว่า 9,500 คน และส่งผลให้บริษัทได้รับยกย่องให้เป็นนายจ้างดีเด่นประจำภูมิภาคแห่งนี้

.

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เอสเอพีจับมือกับพันธมิตรระบบเอสเอพี บิสิเนส ออล-อิน-วัน (SAP Business All-in-One) ในกรุงพนมเปญ เปิดสำนักงานขายแห่งแรกในประเทศกัมพูชา โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้ขยายการดำเนินงานสู่ประเทศเวียดนาม โดยเปิดสำหนักงานขายในกรุงฮานอยและโฮจิมินห์ เมื่อต้นปี 2550

.

สำหรับในประเทศอินเดีย เอสเอพี อินเดีย เป็นองค์กรธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของเอสเอพีทั่วโลก โดยในปี 2550 มีการขยายการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเข้าซื้อกิจการของบริษัท ยาซู เทคโนโลยีส์ (YASU Technologies)  นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารของเอสเอพี ยังมีมติขยายการลงทุนในประเทศอินเดียคิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2553

.

มร. แมคไบรด์ กล่าวว่า "เอสเอพี เอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่นยังคงครองความเป็นผู้นำในตลาดโซลูชั่นระดับเอสเอ็มอีที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของเอสเอพี โดยกลุ่มโซลูชั่นระดับเอสเอ็มอีมีผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยมในทุกไตรมาสตลอดปี 2550 โดยมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 รายในแต่ละวันทำการ ส่งผลให้เรามีลูกค้าเอสเอ็มคิดเป็นร้อยละ 70 ของฐานลูกค้าทั้งหมดในภูมิภาคแห่งนี้"

.

ความสำเร็จอย่างงดงามของกลุ่มโซลูชั่นเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่น เป็นผลจากการมีระบบพันธมิตรที่ดีเยี่ยม เสริมทัพด้วยการมีโซลูชั่นอันล้ำสมัยและเปี่ยมประสิทธิภาพ  ในปี 2551 เอสเอพีจะเปิดตัวโซลูชั่น SAP Business ByDesign นวัตกรรมเทคโนโลยีซอฟท์แวร์สำหรับงานบริการรุ่นใหม่ล่าสุดที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับธุรกิจเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เจาะตลาดธุรกิจระดับกลางถึงล่างในประเทศออสเตรเลียและอินเดีย หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการแนะนำโซลูชั่นใหม่ดังกล่าวลงสู่ตลาดประเทศจีนในปี 2550 และสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้

.

กลุ่มโซลูชัน SAP NetWeaver และ Business User มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดทำโซลูชั่นใหม่ๆ ของเอสเอพีในปี 2550 ซึ่งได้แก่ โซลูชั่นด้านการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ (governance, risk and compliance : GSC) จำนวน 171 ชุด  โซลูชันด้านการบริหารจัดการกิจการของบริษัท (corporate performance management :CPM) จำนวน 20 ชุด และโซลูชั่นการบริหารจัดการข้อมูล SAP NetWeaver Master Data Management : SAP MDM)   จำนวน 30 ชุด ปัจจุบัน มีลูกค้าหลายรายที่ได้ปรับเปลี่ยนไปใช้โซลูชัน SAR ERP 6.0 บนระบบปฏิบัติการ SAP NetWeaver กันมากขึ้น โดยมีผู้ใช้รวมทั้งหมดประมาณ 1,300 รายในภูมิภาคดังกล่าว

.

ด้วยความสำเร็จจากการเข้าซื้อกิจการของบิสิเนส อ็อบเจ็คส์  (Business Objects) เมื่อต้นปี 2551 ทำให้เอสเอพีเปิดตัวซอฟท์แวร์แพคเกจใหม่ที่เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างเทคโนโลยีเอสเอพีและบิสิเนส อ็อบเจ็คส์ รวมทั้งสิ้น 9 โซลูชั่น ซึ่งมีวางจำหน่ายในตลาดในขณะนี้โดยทีมงานด้านการขายของทั้งเอสเอพีและบิสิเนส อ็อบเจ็คส์ การเปิดตัว 9 โซลูชั่นใหม่ดังกล่าวจะช่วยขยายฐานความเป็นผู้นำของเอสเอพีในตลาดซอฟท์แวร์เพื่อการใช้งานเชิงธุรกิจ และยกระดับเอสเอพีขึ้นแท่นผู้นำในตลาดเกิดใหม่ที่มีผลประกอบการทางธุรกิจสูงสุด

.

นอกจากนี้ ซอฟท์แวร์แพคเกจใหม่ดังกล่าวยังได้รับการออกแบบให้ตอบสนองสิ่งท้าทายต่างๆ ที่พบมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ซึ่งได้แก่ การมีความรู้ความเข้าใจทางด้านธุรกิจที่ดีขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท และการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและระเบียบข้อบังคับต่างๆ  ทั้งยังช่วยให้บริษัทธุรกิจต่างๆ สามารถขอรับใบอนุญาต ติดตั้ง และใช้โซลูชั่นของเอสเอพีและบิสิเนส อ็อบเจคส์พร้อมๆ กันอย่างครบวงจร โดยใช้งบลงทุนด้านไอทีเพียงครั้งเดียว