เนื้อหาวันที่ : 2008-02-19 09:39:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1570 views

จุฬาฯ เจ๋ง พัฒนาซิลเวอร์นาโน ป้อนภาคอุตสาหกรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงผลสำเร็จในการพัฒนาวัตถุดิบอนุภาคซิลเวอร์นาโน เพื่อการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีวัสดุนาโน และวัตถุดิบวัสดุนาโน พัฒนาโดยคณะผู้วิจัยจากจุฬาฯ ถือเป็นความสำเร็จของเทคโนโลยีนาโนแห่งแรกในประเทศ ทำให้ได้รับความสนใจจากภาคอุตสาหกรรม

 .

รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงผลสำเร็จในการพัฒนาวัตถุดิบอนุภาคซิลเวอร์นาโน เพื่อการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมว่า เทคโนโลยีวัสดุนาโน และวัตถุดิบวัสดุนาโนพัฒนาโดยคณะผู้วิจัยจากจุฬาฯ ถือเป็นความสำเร็จของเทคโนโลยีนาโนแห่งแรกในประเทศ  ทำให้ได้รับความสนใจจากภาคอุตสาหกรรม

 .

สามารถนำไปใช้พัฒนาสินค้าและเพิ่มศักยภาพสินค้าแล้วหลายชนิด เช่น สเปรย์กำจัดกลิ่น สำลีปลอดเชื้อ ที่ใช้อนุภาคซิลเวอร์นาโนแขวนลอยอยู่ในน้ำ (คอลลอยด์) ความเข้มข้นสูงของอนุภาคซิลเวอร์นาโน เพิ่มคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หรือกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ทันที, ใช้กับสิ่งทอสีขาวที่ไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสี, หมึกนำไฟฟ้าที่ทำจากอนุภาคซิลเวอร์นาโน ที่สามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า, อนุภาคซิลเวอร์นาโนชนิดของแข็งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

 .

ล่าสุดทีมวิจัยประยุกต์ใช้อนุภาคซิลเวอร์นาโนในการเปลี่ยนสีมุกธรรมชาติได้ โดยการตรึงอนุภาคซิลเวอร์ลงบนผิวมุก จากมุกสีขาวนวลเหลืองได้เป็นมุกสีทอง เหลืองทอง ชมพู เทา และดำ และในอนาคตทีมวิจัยวางแผนปลูกอนุภาคซิลเวอร์นาโนลงในมุกและเลี้ยงในธรรมชาติให้ได้มุกสีต่างๆ ซึ่งวิธีนี้เพิ่มมูลค่าให้กับอัญมณีได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีที่พัฒนาได้ จะทำให้ภาคอุตสาหกรรม ได้รับประโยชน์ จากต้นทุนที่ลดน้อยลง ไม่ต้องสั่งซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่สำคัญมีราคาถูกกว่า 6 -10 เท่า ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ได้ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ.

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย