เนื้อหาวันที่ : 2024-08-07 07:03:21 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 30278 views

Bitdefender Cybersecurity Forum: Fortifying Digital Frontiers เพื่อปกป้องข้อมูลและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

กรุงเทพมหานคร, วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567 - Bitdefender ผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก เป็นเจ้าภาพจัดงานเสวนาในหัวข้อ “Fortifying Digital Frontiers” ณ โรงแรม เอส 31 สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยมี สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมให้ความรู้และนโยบายของประเทศ ซึ่งงานเสวนาฯ นี้เป็นการรวมตัวของผู้นำในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้นำภาคธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับภูมิทัศน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่กำลังถูกภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนและรุนแรงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา พร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมทางโซลูชั่นเพื่อปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามนี้

ความท้าทายทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. กล่าวเกริ่นนำการเสวนาด้วยปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับปัญหาความท้าทายและโครงการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นในการเสริมสร้างระบบนิเวศด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทย โดยได้เน้นย้ำถึงความซับซ้อนและความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการทำงานร่วมกันที่แข็งแกร่งเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ

ดร.ปริญญา หอมเอนก ประธานและซีอีโอของ ACIS Professional Center นำเสนอ "Cybersecurity Ecosystem Challenges in Thailand" โดยชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างรวดเร็ว ความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของการโจมตีทางไซเบอร์ และยังได้เน้นยำความจำเป็นในการเพิ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มากยิ่งขึ้น

Mr. Paul Hadjy รองประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและการบริการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Bitdefender นำเสนอหัวข้อ "Protecting Data, Empowering People" บรรยายเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยชี้ให้เห็นว่า AI สามารถช่วยปรับปรุงมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นได้อย่างไร พร้อมทั้งได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจจับภัยคุกคามและกลยุทธ์การตอบสนองในเชิงรุก

Mr. Michal Dominik กรรมการผู้จัดการ Indochina Country Partner กล่าวแนะนำว่าทุกองค์กรจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้อยู่เสมอ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการปรับปรุงและปรับตัวตามแนวทางปฏิบัติที่ดีในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cybersecurity Practices) ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเชิงลึกนี้เน้นย้ำถึงขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จำเป็นต้องทำคือต้องมีการสร้างกรอบการกำกับความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ (Resilient Cybersecurity Framework) ให้มีความสามารถในการเตรียมตัว และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงการกู้คืนระบบให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ

พบกับโซลูชันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขั้นสูง– ที่ปกป้องตั้งแต่ Endpoint Security ครอบคลุม EDR จนถึง MDR

คุณทรงกลด ศรีภูมิบาง ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโส ของ Bitdefender เน้นถึงประโยชน์ของบริการรักษาความปลอดภัยเชิงรุก การทดสอบการเจาะระบบ (Penetration Tests) และแพลตฟอร์มข่าวกรองภัยคุกคาม (Threat Intelligence Platforms) พร้อมทั้งให้ละเอียดว่าบริการเหล่านี้สามารถช่วยระบุช่องโหว่ก่อนที่ผู้โจมตีจะโจมตีได้อย่างไร ทำให้องค์กรสามารถมีกลยุทธ์การป้องกันในเชิงรุก

การเสวนาครั้งนี้มีอีกหนึ่งในไฮไลท์คือการนำเสนอ Bitdefender GravityZone ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและการวิเคราะห์ความเสี่ยงแบบรวมศูนย์ (Unified Security and Risk Analytics Platform) โดย ว่าที่ร้อยโทภาวุต โลขัน วิศวกรที่ปรึกษาของ Bitdefender นำเสนอการสาธิตวิธีการที่ GravityZone ขยายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทางให้ครอบคลุมถึง EDR (Endpoint Detection and Response : การตรวจจับปลายทางและการตอบสนอง), XDR (Extended Detection and Response : การตรวจจับและการตอบสนองแบบขยาย), MDR (Managed Detection and Response : การตรวจจับและการตอบสนองที่มีการจัดการ) และมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงอื่น ๆ แนวทางที่ครอบคลุมอย่างสมบูรณ์นี้ทำให้มั่นใจได้ว่าองค์กรจะสามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้ทั่วทั้งโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดได้

ผู้เข้าร่วมงานยังได้รับชมการสาธิตการตามล่าภัยคุกคามทางไซเบอร์โดย คุณฟ้าธานี อิ่มสิน สถาปนิกโซลูชันของ Bitdefender นำเสนอเทคนิคการตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามแบบเรียลไทม์

การอภิปรายเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ปิดท้ายรายการด้วยการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กระตุ้นความคิดเกี่ยวกับการสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคงปลอดภัยของชาติและความเป็นส่วนตัว ดำเนินรายการโดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย ดร.ปริญญา หอมเอนก และ ดร.กำพล ศรธนะรัตน์ โดยมีคุณ นรินทร์ฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สำหรับการอภิปรายเจาะลึกถึงบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ในขณะเดียวกันต้องเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลไปพร้อมกันด้วย

Bitdefender Endpoint Protection Platform ด้วย EDR ที่สามารถขยายครอบคลุม XDR, MDR, CSPM+, และอื่น ๆ  

โซลูชันของ Bitdefender ซึ่งจัดแสดงตลอดทั้งงานนี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเต็มรูปแบบ แพลตฟอร์ม GravityZone นำเสนอระบบการป้องกันอุปกรณ์ปลายทางที่แข็งแกร่ง ปรับปรุงโดย EDR และขยายเป็น XDR เพื่อการตรวจจับและตอบสนองภัยคุกคามที่ครอบคลุมสมบูรณ์ พร้อมทั้งมีบริการ MDR ที่มีการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการด้านความมั่นคงปลอดภัย ช่วยปลดปล่อยองค์กรต่าง ๆ ให้มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักของตนได้

นอกจากนี้ โซลูชัน CSPM+ (Cloud Security Posture Management) ของ Bitdefender ยังช่วยรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่สภาพแวดล้อมคลาวด์ ทำให้มั่นใจได้ถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดและการป้องกันภัยคุกคามเฉพาะบนคลาวด์ บริการข่าวกรองภัยคุกคาม (Threat Intelligence Services) นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้เกี่ยวกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ พร้อมทั้งมีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับคอนเทนเนอร์ (Security for Containers) ช่วยให้มั่นใจได้ว่าแอปพลิเคชันในคอนเทนเนอร์จะปลอดภัยตั้งแต่ขั้นการพัฒนาไปจนถึงขั้นการใช้งาน

เวทีกลางสำหรับการสร้างเครือข่ายและการทำงานร่วมกัน

Bitdefender Cybersecurity Forum จัดเวทีเสวนาที่โดดเด่นสำหรับมืออาชีพในการสร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ และทำงานร่วมกันในการปรับปรุงกลยุทธ์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ กิจกรรมจบลงด้วยการช่วงถามตอบ การจับรางวัล และการรับประทานอาหารค่ำ ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถอภิปรายข้อมูลเชิงลึกของวันนั้นในบรรยากาศที่เป็นกันเองมากขึ้น

ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงพัฒนาต่อไป กิจกรรม เช่น Bitdefender Cybersecurity Forum จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรมในสาขานี้ ด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญและผู้นำของ Bitdefender และ สกมช. มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ร่วมกัน จะช่วยปูทางไปสู่อนาคตดิจิทัลที่มีความมั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้นแก่ประเทศไทย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ครอบคลุมของ Bitdefender โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ https://www.bitdefender.com/business/

เกี่ยวกับ Bitdefender:

Bitdefender เป็นผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่นำเสนอโซลูชันที่ดีที่สุด (best-in-class) ในการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่ใช้กันทั่วโลก ปกป้องสภาพแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภคนับล้าน รวมทั้งองค์กร และหน่วยงานภาครัฐจำนวนมาก Bitdefender เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดในอุตสาหกรรมการกำจัดภัยคุกคาม ปกป้องความเป็นส่วนตัว อัตลักษณ์ตัวตนดิจิทัล (Digital Identity) และข้อมูลดิจิทัล และทำให้องค์กรต่าง ๆ มีความสามารถในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Resilience) ด้วยการลงทุนอย่างหนักในการวิจัยและพัฒนา ทำให้ Bitdefender Labs สามารถค้นพบภัยคุกคามใหม่ๆ หลายร้อยรายการได้ในทุกๆ นาที และทำการตรวจสอบค้นหาภัยคุกคามนับพันล้านรายการได้เป็นประจำทุก ๆ วัน บริษัทได้บุกเบิกนวัตกรรมที่ก้าวล้ำในด้านการป้องกันมัลแวร์ ความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT การวิเคราะห์พฤติกรรม และปัญญาประดิษฐ์ โดยเทคโนโลยีของบริษัทได้รับอนุญาต (Licensed by) จากแบรนด์เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกมากกว่า 180 แบรนด์ Bitdefender ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 มีลูกค้าในมากกว่า 170 ประเทศและมีสำนักงานทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://www.bitdefender.com

Trusted. Always.

เกี่ยวกับ สกมช.:

สำนักงานความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติ (NCSA) ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cybersecurity Resilience) ของประเทศผ่านการพัฒนานโยบาย โครงการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ และความร่วมมือกับพันธมิตรระหว่างประเทศ