เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการเปิดตัว อย่างเป็นทางการของโครงการวางระบบ ERP ภายใต้ชื่อ “CTL-SAP Project” โดยมีจุดมุ่งหมายในการนำระบบ ERP มาใช้เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนการเกษตรแบบดิจิทัลและเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Data-driven Organization ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัท คริสตอลลา จำกัด นำทีมโดย คุณวิศิษฎ์ ลิขิตาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่- รักษาการ (คนที่ 3 จากซ้าย), คุณทิตพงษ์ เตชะอำพลกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบัญชีการเงินและสนับสนุน (คนที่ 2 จากซ้าย), คุณรัตนา ฮวง กรรมการผู้จัดการ บจก. พรรณธิอร เทรดดิ้ง (คนที่ 1 จากซ้าย), คุณอดุลยเดช ประทีปสินธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานจัดซื้อและประสานงานธุรกิจภายนอก (คนที่ 1 จากขวา) และ คุณธิป โรจนกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ โรงงานและเทคนิคการผลิต (คนที่ 2 จากขวา) ร่วมกับ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จำกัด นำทีมโดย คุณพิพิธ จริยวัฒนวิจิตร Deputy Managing Director Commercial & Operation (ตรงกลาง) และ คุณอรุณ คชโอสถ Client Engagement Director (คนที่ 3 จากขวา)
คุณวิศิษฎ์ ลิขิตาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท คริสตอลลา จำกัด กล่าวว่า ระบบข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นของทุกองค์กร การดำเนินการภายในองค์กรจึงจำเป็นต้องมีระบบข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคปัจจุบัน คริสตอลลาจึงให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นอย่างมาก โดยมีการนำระบบ ERP เข้ามาใช้ ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เนื่องจากความเสถียรและใช้งานง่าย ส่งผลให้ข้อมูลในระบบถูกต้องและแม่นยำอยู่เสมอ
คุณทิตพงษ์ เตชะอำพลกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบัญชีการเงินและสนับสนุน บริษัท คริสตอลลา จำกัด กล่าวว่า ระบบ ERP เป็นระบบที่มีการวิเคราะห์ ตรวจทาน และรายงานข้อมูลของหน่วยต่างๆภายในองค์กรอย่างแม่นยำ อาธิเช่น การผลิต การควบคุมคุณภาพ และการซ่อมบำรุง เป็นต้น อีกทั้งยังสนับสนุนทุกคนภายในองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและมีส่วนช่วยสำคัญในการยกระดับองค์กรสู่การเป็น world-class organization
คุณพิพิธ จริยวัฒนวิจิตร Deputy Managing Director Commercial & Operation บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า ในปัจจุบัน digital transformation ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตร อาทิเช่น การเพาะปลูก การผลิต และการกระจายสินค้าต่อผู้บริโภค เป็นต้น โดยระบบ ERP นั้นนับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ digitalization ในการปรับเปลี่ยนข้อมูลสู่ระบบดิจิทัล อีกทั้งยังช่วยในเรื่องความถูกต้องและมาตรฐานที่เท่าเทียมกันที่เป็นพื้นฐานสำคัญของวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น Data-driven organization