ดั๊บเบิ้ล เอ ชูโครงการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ หนุนช่วยแก้ปัญหาสังคมในท้องถิ่น สร้างรายได้เสริม โดยเกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ว่าง เวลาว่างและเครื่องมือว่างนอกฤดูเก็บเกี่ยวให้เกิดประโยชน์ มั่นใจจะมีเกษตรกรร่วมปลูก 200 ล้านต้นในปีแรก ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในภาคเกษตรไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท
ดั๊บเบิ้ล เอ ชูโครงการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ หนุนช่วยแก้ปัญหาสังคมในท้องถิ่น สร้างรายได้เสริม โดยเกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ว่าง เวลาว่างและเครื่องมือว่างนอกฤดูเก็บเกี่ยวให้เกิดประโยชน์ มั่นใจจะมีเกษตรกรร่วมปลูก 200 ล้านต้นในปีแรก ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในภาคเกษตรไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท |
. |
ดั๊บเบิ้ล เอ ชูโครงการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ หนุนช่วยแก้ปัญหาสังคมในท้องถิ่น สร้างรายได้เสริม โดยเกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ว่าง เวลาว่างและเครื่องมือว่างนอกฤดูเก็บเกี่ยวให้เกิดประโยชน์ หลังโฆษณาชุดเทวดาออกอากาศ กระแสตอบรับดีเยี่ยม มั่นใจจะมีเกษตรกรร่วมปลูก 200 ล้านต้นในปีแรก ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในภาคเกษตรไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาท พร้อมหนุนแคมเปญชวนผู้บริโภคใช้กระดาษจากไม้ปลูก และหมุนเวียนใช้ถุงบรรจุต้นกล้าซ้ำช่วยลดภาวะโลกร้อน |
. |
นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดเผยว่า ดั๊บเบิ้ล เอ มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรไทยใช้พื้นที่ว่างตามหัวไร่ คันนา ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ว่างจากการเพาะปลูก รวมถึงเวลาว่างนอกฤดูเก็บเกี่ยวมาปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว โดยเกษตรกรสามารถปลูกในพื้นที่ว่างควบกับพืชหลักอื่น ๆ ได้ ทั้งนาข้าว ไร่มันสำปะหลัง ไร่ข้าวโพด เป็นต้น |
. |
รวมทั้งยังถือเป็นส่งเสริมให้มีต้นไม้เพิ่มขึ้น แม้จะเป็นต้นไม้ในเชิงพาณิชย์ แต่ก็สามารถช่วยสร้างออกซิเจน และช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับธรรมชาติได้ และยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคกระดาษ ที่จะเลือกใช้กระดาษที่ผลิตจากไม้ปลูก แทนการใช้กระดาษที่ผลิตจากป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง |
. |
"หลังโฆษณาต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ชุด "เทวดา" ได้เผยแพร่ออกไป มีเกษตรกรสนใจโทรศัพท์มาสอบถามผ่านสายด่วน 1759 เป็นจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นเกษตรกรรายใหม่ และเกษตรกรสมาชิกรายเดิม รวมทั้งเจ้าของที่ดินรายย่อยที่มีที่รกร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถือว่าการส่งเสริมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไปดีเกินคาด เนื่องจากเกษตรกรมองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้เสริมด้วยการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ตามพื้นที่ว่างที่เขาไม่เคยใช้ประโยชน์อะไร |
. |
โดยในช่วงเดือนครึ่งนี้ มีเกษตรกรแสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการประมาณ 6,100 ราย จากในหลาย ๆ พื้นที่ เช่น นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว คาดว่าจะมีเกษตรกรร่วมปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอในเดือนนี้ประมาณ 12 ล้านต้น ทำให้บริษัทเชื่อมั่นว่า น่าจะส่งเสริมให้มีการปลูกได้เพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 200 ล้านกล้าในปีแรกนี้" นายชาญวิทย์กล่าว |
. |
นายเดือน อินอุนโชติ เกษตรกรผู้ปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอจาก จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า เริ่มปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านมา จากการแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของบริษัท ซึ่งการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอได้ผลดีกว่าการปลูกแบบเมล็ดทั่วไป เนื่องจากต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอมีลำต้นที่ตรง และเติบโตเร็ว ซึ่งขณะนี้ตนปลูกเป็นเวลา 2 ปี และคาดว่าจะสามารถตัดขายได้ในช่วงปี 2551 |
. |
โดยขณะนี้ตนปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ แล้วกว่า 10,000 ต้น ทั้งบนแปลงขนาด 150 ไร่ และตามหัวไร่คันนา โดยปลูกร่วมกับข้าว และอ้อย ที่เป็นรายได้หลักให้กับครอบครัว ซึ่งจากการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอที่ผ่านมายังไม่มีผลกระทบกับพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ โดยตนคาดว่าหากตัดต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอขายแล้ว จะเอารายได้เสริมส่วนนี้มาใช้จ่ายภายในครอบครัว |
. |
รวมทั้งนำไปเป็นต้นทุนสำหรับปลูกข้าวและอ้อยอีกด้วย การปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ทิ้งไว้ตามพื้นที่ว่าง เหมือนกับการฝากเงินเอาไว้ในที่ของตนเอง และถ้าขัดสนเมื่อไรก็สามารถตัดมาขายเป็นเงินได้ ไม่ต้องรีบขายแม้จะราคาตกเหมือนพืชเกษตรตัวอื่นที่เน่าเสียได้ |
. |
ด้านนายสำเภา ขุนทอง หัวหน้าส่งเสริมการเกษตร สหกรณ์การเกษตร อ.จักราช จ.นครราชสีมา กล่าวว่า เริ่มปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ โดยครั้งแรกทดลองปลูกบนเนื้อที่ 5 ไร่ และหลังจากนั้นไม่นานจึงปลูกเพิ่มอีก 5 ไร่ ซึ่งในช่วงปี 2551 ต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอจะครบรอบที่จะสามารถตัดเพื่อไปขายได้ |
. |
ซึ่งตนอาจจะแบ่งตัด คือ ในช่วง 3 ปี แรก ตัด 100 ต้น ช่วง 4 ปี ตัดอีก 100 ต้น และช่วงปีที่ 5 ตัดอีก 100 ต้น เพื่อดูความสมบูรณ์ของต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอว่าช่วงปีใดจะได้คุณภาพมากที่สุด นอกจากนี้ต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอบางส่วนตนจะเก็บไว้ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรในพื้นที่รายอื่นๆที่มีความสนใจที่จะปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ |
. |
"ที่ผ่านมาตนเคยมีทัศนคติที่ไม่ดีกับต้นยูคาลิปตัส เนื่องจากเป็นไม้ที่กำจัดยาก แต่หลังจากได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของบริษัท และฟังคำอธิบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอแล้ว ทำให้มีความสนใจที่จะทดลองปลูก แม้ไม่ใช่เกษตรกรโดยอาชีพ แต่ปลูกเพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรในพื้นที่ |
. |
ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรที่สนใจที่จะเข้าร่วมปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอกว่า 70 คน บนเนื้อที่ประมาณ 220 ไร่ ซึ่งหากเกษตรกรเหล่านี้รวมกันปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ ก็จะเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับพวกเขา และยังเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณต้นไม้ให้กับประเทศอีกด้วย" นายสำเภา กล่าว |
. |
โครงการได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ มาแล้วกว่า 17 ปี ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้วประมาณ 1.5 ล้านครอบครัว ตั้งแต่การปลูกเพียง 30 ต้น จนถึงการปลูกเป็นแปลงขนาด 100-200 ไร่ โดยเกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยจากการปลูกต้นละ 100 บาท ภายใน 3 ปี หรือประมาณ 15-20 เท่าของการลงทุน เป็นการใช้พื้นที่ว่าง |
. |
อาทิ หัวไร่ คันนา มาสร้างรายได้เสริมแก่เกษตรกร เกิดอาชีพต่อเนื่องทั้งการรับจ้างปลูก รับจ้างตัด รับจ้างขนส่ง และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้หมุนเวียนกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี และเป็นการเพิ่มออกซิเจนและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับธรรมชาติ |
. |
โดยขณะนี้ดั๊บเบิ้ล เอ ได้จัดกิจกรรมช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยเกษตรกรสามารถนำถุงพลาสติกสำหรับใส่ต้นกล้ากระดาษดั๊บเบิ้ล เอใบเก่า 5 ใบ มาแลกรับต้นกล้าฟรี 1 ต้น ที่สาขาส่งเสริมของบริษัททั่วประเทศ ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าวคาดว่าจะทำให้มีการใช้ถุงพลาสติกซ้ำไม่น้อยกว่า 2 แสนใบสำหรับในปีแรก |
. |
ซึ่งจะช่วยลดภาระโลกร้อนในการใช้พลังงานและทรัพยากรในการผลิตถุงพลาสติกใหม่ และลดภาระการกำจัดขยะถุงพลาสติกได้เป็นจำนวนมาก สำหรับเกษตรกรที่สนใจต้นกระดาษดั๊บเบิ้ล เอ สามารถติดต่อและสอบถามได้ที่สายด่วน 1759 |