โดย ไมเคิล จามีสัน ประธานฝ่ายอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ความปลอดภัยของผู้คนถือเป็นสิ่งสำคัญสุดสำหรับบริษัทด้านการผลิต การแพร่ระบาดผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสถานที่ทำงาน เช่น การสร้างระยะห่างทางสังคมในส่วนบรรจุภัณฑ์ และการจำกัดการเข้าถึงเพื่อติดตั้งหรือดำเนินการซ่อมบำรุง คนทำงานลดน้อยลง เนื่องจากกฎระเบียบข้อบังคับในการกักตัว และอีกหลายปัญหาที่ต้องอาศัยการตอบสนองด้วยนวัตกรรมจากผู้มีส่วนร่วมในภาคการผลิต ตัวอย่างเช่น ในเดือนมีนาคม สถาบันด้านการจัดการซัพพลาย หรือ ISM (Institute of Supply Management) รายงานว่าเกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่เข้ารับการสำรวจได้รายงานถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในซัพพลายเชนเรื่องกำลังการผลิตบางส่วน เนื่องจากข้อจำกัดด้านการขนส่งอันเนื่องมาจากไวรัสโคโรนา
เมื่อองค์ประกอบจากปัจจัยภายนอกร่วมกันบีบบังคับให้อุตสาหกรรมต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีเวลา (หรือเงินทุน)มาคาดหวังว่าเงินลงทุนจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในทางกลับกัน โซลูชันที่ช่วยปรับปรุงเรื่องความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความสามารถในการมองเห็นทั่วซัพพลายเชนการผลิตคือสิ่งจำเป็น ความสามารถในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินการได้มากขึ้นด้วยจำนวนคนเท่าที่มีอยู่ โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว
แนวทางใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับกระบวนการดำเนินงานสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้พนักงานสามารถเพิ่มทักษะและการฝึกอบรมได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ทำงานได้จากระยะไกล และเพิ่มประสิทธิภาพของสินทรัพย์ที่มีอยู่ในโรงงานผลิต
การปรับกระบวนการสู่ดิจิทัล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสินทรัพย์ และเพิ่มความยืดหยุ่นได้อย่างไร
หลายองค์กรกำลังตระหนักว่าการปรับกระบวนการดำเนินงานสู่ดิจิทัลสามารถให้วิธีการในการสร้างกระบวนการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วยให้กระบวนการเดิมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่าบรรดาบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ได้นำโซลูชันดิจิทัลซอฟต์แวร์มาใช้ เพื่อปรับตัวรับมือกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดทั่วโลก
ในสถานการณ์ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโรงงานส่วนใหญ่ต้องอาศัยการดำเนินการด้วยตัวเอง พนักงานต้องห่างจากเครื่องจักรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมด้านกระบวนการดำเนินงาน เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาในพื้นที่การผลิต พนักงานเหล่านี้ต้องดูหน้าจอหลากหลายของเครื่องจักรแต่ละตัว เพื่อประเมินถึงต้นเหตุของปัญหาที่เจอ หากสายการผลิตหยุดทำงาน ก็ต้องโทรเข้าไปที่ฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิค ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทั้งหมดกินเวลามากและทำให้มีเวลาไม่พอ
ในทางกลับกัน หากผู้ดำเนินงานเข้าถึงเครื่องมือ AR ในระบบดิจิทัลผ่านอุปกรณ์พกพา ตัวอย่างเช่น พนักงานสามารถระบุจากภาพที่เห็นได้อย่างรวดเร็วว่าเกิดปัญหาที่ไหนโดยที่ไม่ต้องทำการฝึกอบรมต่อ อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำโดยทันที พร้อมเอกสารที่อัพเดตเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และเมื่อกระบวนการในระบบดิจิทัลทำให้งานของผู้ดูแลง่ายขึ้น บริษัทก็มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากและผันผวนได้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติ
ก้าวต่อไปก็คือ หลายองค์กรด้านการผลิตจะนำพาธุรกิจไปในแนวทางใหม่ สำหรับบางรายการจะมุ่งเน้นที่ความพอเพียงในองค์กรมากกว่า แต่สำหรับอีกหลายรายจะเน้นไปที่ช่องทางจัดหาและจัดจำหน่ายเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็ตาม การปรับกระบวนการด้านการทำงานหลักสู่ระบบดิจิทัลและความสามารถในการเข้าถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ในโรงงานได้จากระยะไกลอย่างปลอดภัย จะกลายเป็นศักยภาพหลักที่จำเป็นต่อการให้บริการในตลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ยิ่งขึ้น