อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) ให้คำแนะนำด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในการกลับสู่การเดินทางเพื่อธุรกิจอย่างปลอดภัย ตอบรับการเปิดประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ข้อมูลล่าสุดจาก อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เปิดเผยว่าตัวเลขการเดินทางเพื่อธุรกิจทั่วโลกเพิ่มขึ้น 4 เท่าและการเดินทางภายในประเทศตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 25641 เพิ่มขึ้น 7 เท่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ความซับซ้อนในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น ทั้งกฎข้อบังคับการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมหมายถึงการเดินทางในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะต้องอพยพเคลื่อนย้ายมากขึ้นถึง 9 เท่า1 ข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกเผยแพร่โดย อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการความช่วยเหลือด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยชั้นนำของโลก ที่มีลูกค้า 12,000 รายทั่วโลก
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้ให้การสนับสนุนลูกค้าองค์กรของบริษัทฯ ในการกลับมาเดินทางอย่างปลอดภัยตลอดช่วงที่มีแพร่ระบาด โดยในปีที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนเคสเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ต่อการเดินทาง 100 ครั้ง และเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยมีความรุนแรงสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ถึงแม้ยังมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่อนาคตของการเดินทางหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการบิน การบริการ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หลักสามประการในการกลับมาเดินทางต่ออย่างปลอดภัยท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ 1) ปกป้องและดูแลผู้เดินทาง 2) ปกป้องธุรกิจ 3) ปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อจำกัดด้านการเดินทาง – ความท้าทายสำหรับตัวผู้เดินทางและบริษัทผู้ว่าจ้าง
ข้อจำกัดในการข้ามพรมแดนที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเนื่องจากโควิด-19 นั้น ได้ก่อให้เกิดปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้เดินทาง และต้องการความช่วยเหลือที่มากขึ้นจากบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทีมทรัพยากรบุคคลและความปลอดภัย ในการให้ข้อมูลคำแนะนำด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยที่เชื่อถือได้ ตลอดจนช่วยเหลือด้านการปฏิบัติตามกฎหมายในท้องถิ่น
นพ. จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ จากบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากผลการศึกษาพบว่า การเดินทางมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดการอพยพเคลื่อนย้ายทางการแพทย์มากขึ้นถึง 9 เท่า ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องทบทวนนโยบายการเดินทางของบริษัทและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประเทศต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงให้กับพนักงาน นโยบายการเดินทางควรรวมถึงการส่งเสริมด้านสุขภาพจิตและร่างกาย การตรวจโควิด-19 และกระบวนการกักตัวสำหรับผู้เดินทาง การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งในเรื่องความเสี่ยงของสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน และโครงสร้างพื้นฐานของการรักษาพยาบาลในจุดหมายปลายทางที่เดินทางไปถึง”
นายสราวุธ ธัมจุล ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า “ความจริงใหม่ของการเดินทางทำให้ผู้บริหารจำเป็นต้องพิจารณาถึงจำนวนของพนักงานที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางและผู้ที่อยู่ในความดูแล รวมทั้งให้การประเมินความเสี่ยงส่วนบุคคล ตั้งแต่การเข้าถึงการรักษาพยาบาลไปจนถึงการพบแพทย์แบบระยะไกล การรักษาความปลอดภัย หรือการส่งเสริมสุขภาพจิต บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องรับผิดชอบในการดูแลพนักงาน โดยสื่อสารให้ชัดเจนถึงความเสี่ยงและมาตรการบรรเทาผลกระทบต่าง ๆ ให้พนักงานทราบ และให้การสนับสนุนด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และความมั่นคงปลอดภัย เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ นั่นหมายถึงการติดตามสถานการณ์และข้อจำกัดในการเดินทางของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ประเมินสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงปลอดภัย และขีดความสามารถของการรักษาพยาบาลของจุดหมายปลายทางที่เดินทางไป การเดินทางอย่างปลอดภัยเริ่มต้นด้วยการได้รับข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับจุดหมายปลายทาง ที่ถูกต้องแม่นยำก่อนออกเดินทาง และต้องใช้ทั้งความยืดหยุ่นและการปรับตัว ซึ่งหมายถึงการวางสถานการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในกระบวนการตัดสินใจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตามแผนการตอบสนองที่วางแผนไว้อย่างละเอียด
Workforce Resilience Solution ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตาม ISO 31020: 2021 ใหม่ - การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเดินทาง - คำแนะนำสำหรับองค์กร เพื่อการกลับมาเดินทางอีกครั้งอย่างปลอดภัย และกลับมาเริ่มต้นกิจกรรมทางธุรกิจ เพื่อความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการติดต่อ กรุณาคลิกที่นี่ www.internationalsos.com