เนื้อหาวันที่ : 2021-10-20 18:28:02 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1413 views

ปฏิวัติอนาคตวงการไอทีด้วยเครื่องสำรองไฟลิเธียม-ไอออน

เตรียมตัวให้พร้อมกับแหล่งพลังงานสำรองจากลิเธียม-ไอออนพลังแรง

ด้วยความที่หลายองค์กรพึ่งพาระบบไอทีและข้อมูลในการดำเนินธุรกิจของตนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ความต่อเนื่องทางธุรกิจจึงต้องพึงพาการจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก นอกเหนือจากวงการอุตสาหกรรมแล้ว แทบปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบริษัททั้งหลายยังจำเป็นต้องใช้แหล่งพลังงานเป็นหลักในการดำเนินงาน รวมถึงการแข่งขันทางธุรกิจ แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากวันหนึ่งไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมาให้ระบบ

ดังนั้นกลุ่มธุรกิจควรมีเครื่องสำรองไฟ (UPS) ไว้เพื่อสำรองกระแสไฟที่พร้อมใช้งานให้แก่อุปกรณ์ IT และระบบที่สำคัญอื่น ๆ เพราะนั่นอาจหมายถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อข้อมูลสูญหายและชั่วโมงของประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดลงในกรณีเกิดไฟดับ ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับการที่สามารถทำงานได้ตามปกติ แบตเตอรี่จำนวนหลายตัวที่ชาร์จไว้อย่างต่อเนื่องเมื่อไม่ได้ใช้งานนั้นจะจ่ายไฟให้กับเครื่องสำรองไฟในช่วงเวลาที่ต้องจ่ายไฟสำรอง (ride-through time) โดยดาต้า เซ็นเตอร์จะสลับไปใช้แหล่งพลังงานเสริม เช่น แหล่งจ่ายพลังงานสำรอง (second utility feed)  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น เซลล์เชื้อเพลิงหรือพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น

การเพิ่มขึ้นของปัญหาอุปกรณ์ขัดข้องแบบไม่ได้วางแผนไว้

แม้ว่าในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีค่าใช้จ่ายในการหยุดทำงานจะแตกต่างกันไป แต่รายงานปี 2564 ของสถาบัน Ponemon ระบุว่าช่วงเวลาการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเจ็ดปีที่ผ่านมา โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 86 นาทีในปี 2556 เป็น 101 นาทีในปี 2563 และอธิบายถึงสาเหตุหลักในการหยุดทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ อุปกรณ์เอดจ์ (Edge) และคอร์ (Core)  ว่าเกิดขึ้นจากแบตเตอรี่ใน UPS ล้มเหลว  เครื่อง UPS ล้มเหลว การโจมตีทางไซเบอร์ อุปกรณ์ไอทีล้มเหลว และข้อผิดพลาดจากมนุษย์ นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนคือ การลงทุนในอุปกรณ์ที่มีศักยภาพสูงขึ้น การยกระดับมาตรการความปลอดภัย และเตรียมอุปกรณ์ทางโครงสร้างพื้นฐานสำรองเอาไว้

เทคโนโลยีลิเธียม-ไอออน

หลายบริษัทพึ่งพาดาต้า เซ็นเตอร์ทั้งแบบระยะไกลและแบบเอดจ์ ห้องเซิร์ฟเวอร์ และตู้เครือข่ายเพื่อทำการโฮสต์ข้อมูล โดยปกติแล้วอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเหล่านี้มักจะอาศัยระบบ UPS สำหรับการจ่ายพลังงานสำรองในช่วงเวลาวิกฤตที่เกิดจากไฟฟ้าดับ ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบ UPS ของตนใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะต้องมั่นใจว่าแบตเตอรีดังกล่าวสามารถจ่ายไฟชดเชยได้อย่างต่อเนื่องในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่น่าเชื่อถือมากที่สุดแหล่งหนึ่งสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นก่อน ๆ โดยได้นำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องสำรองไฟเมื่อไม่นานมานี้และได้เปลี่ยนโฉมธุรกิจ เทคโนโลยีลิเธียม-ไอออนที่กำลังปฏิวัติวงการเครื่องสำรองไฟ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าลิเธียม-ไอออนสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่แล็ปท็อปและอุปกรณ์เคลื่อนที่ชนิดอื่น ๆ และมีข้อดีมากกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด ซึ่งเคยเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการใช้งานเครื่องสำรองไฟเมื่อก่อน

แหล่งพลังงานสำหรับระบบสำรองไฟ เช่น แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนซึ่งมีความน่าเชื่อถือและทนทานกำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในวงกว้าง เพราะแบตเตอรีสามารถจ่ายไฟเพื่อการปฏิบัติงานในองค์กรได้ รวมถึงให้แก่แอปพลิเคชันที่มีการใช้งานปริมาณสูงอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานดียิ่งขึ้น ดังรายละเอียดที่กำลังจะกล่าวต่อไปนี้ซึ่งเป็นประโยชน์หลายประการที่ผู้ใช้งานจะได้รับจากระบบสำรองไฟแบบลิเธียม-ไอออน

  • ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และยืดหยุ่นมากขึ้น แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนมีน้ำหนักเบากว่า 40-60% และมีขนาดเล็กลง 40% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่แบบเดิม ซึ่งจะกลายเป็นแบตเตอรี่ที่มีระดับความหนาแน่นของพลังงานในระดับดีเลิศ โดยใช้พื้นที่น้อยลงเมื่อเทียบกับการจ่ายพลังงานในปริมาณเท่ากัน
  • ใช้งานได้นานขึ้น ด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรดถึงประมาณ 2 หรือ 3 เท่า แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนจึงถือว่ามีข้อดีเหนือกว่าในแง่ของอายุการใช้งาน โดยมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแปดถึงสิบปี และมักจะมีอายุยาวกว่าเครื่องสำรองไฟ ทำให้การบำรุงรักษา เครื่องสำรองไฟไม่ยุ่งยาก โดยเปลี่ยนแบตเตอรี่น้อยลงหรือแทบไม่ต้องเปลี่ยนเลยตลอดอายุการใช้งาน
  • วงจรชีวิตยาวนาน แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนต่างจากโซลูชัน VRLA ทั่วไป เพราะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเดิมมากซึ่งจะส่งผลให้คุณสมบัติการใช้งานดียิ่งขึ้น โดยเครื่องสำรองไฟที่มีระบบ Grid Support กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนแผนงาน Smart Grid การบริหารจัดการความถี่ การให้บริการจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วยระบบ Peak Shaving และสำหรับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้ แบตเตอรี่จะต้องเก็บและคายประจุบ่อยครั้งมากขึ้น ซึ่งแบตเตอรี่ลิเธียมสามารถทำได้
  • ลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนจะช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ประมาณ 50% ตลอดวงจรชีวิตของแบตเตอรี่ เพราะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ทนต่อสภาวะอุณหภูมิสูง และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการก่อสร้างที่ลดลง แม้ว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรดจะมีราคาหน้าร้านในตลาดที่ต่ำกว่า แต่แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนจะทำให้ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ต่ำลงอย่างมาก
  • มาพร้อมกับระบบจัดการแบตเตอรี่แบบผสานรวมขั้นสูง แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนสำหรับเครื่องสำรองไฟผสานรวมเข้ากับระบบจัดการแบตเตอรี่ขั้นสูง (BMS) ซึ่งจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ระยะเวลาการทำงาน (Runtime) และอื่น ๆ ได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันกระแสไฟ อุณหภูมิ และการชาร์จไฟเกินหรือน้อยเกินไป
  • ชาร์จเร็วขึ้น เครื่องสำรองไฟต้องการแบตเตอรี่ที่ชาร์จเร็วเพราะต้องพร้อมให้พลังงานสำรองเสมอ แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนใช้เวลาแค่เพียงสองถึงสี่ชั่วโมงในการชาร์จจนเต็ม ในขณะที่แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดต้องใช้เวลาเฉลี่ยถึง 12 ชั่วโมง

เครื่องสำรองไฟยังสามารถตรวจจับและจ่ายกระแสไฟชดเชยได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น เมื่อไฟตกหรือไฟกระชาก ซึ่งเป็นความผันผวนของพลังงานไฟฟ้าชั่วคราวที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่คอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงอยู่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ  ด้วยประโยชน์หลากหลายประการเช่นนี้ เครื่องสำรองไฟแบบลิเธียม-ไอออนจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้การดำเนินธุรกิจที่สำคัญยิ่งเกิดความมั่นคงและสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานลงได้  ด้วยประสิทธิภาพโดยรวมที่ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้งานจึงมั่นใจได้ว่า แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนจะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์ไอทีไม่หยุดชะงัก ข้อดีหลายประการที่ได้กล่าวมานั้นไม่ว่าจะเป็นในด้านประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความคุ้มค่านั้นจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีที่สำคัญที่ช่วยจัดการวิกฤตต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

 

บทความโดย Arunangshu Chattopadhyay,

Director – Power Product Marketing & Technical Support, Asia