เนื้อหาวันที่ : 2021-10-14 18:20:51 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1399 views

มุ่งสู่ Pharma 4.0 – การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและคุมต้นทุนได้

โรงงานผลิตยาแห่งอนาคตจะหันมาใช้อุปกรณ์เฉพาะทางดิจิทัลมากกว่าเครื่องจักร

เขียนโดย คุณ Perry Zalevsky ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายอุตสาหกรรม แห่ง Aveva

สุขภาพของประชากรทั่วโลกต้องพึ่งพาวงการยามาโดยตลอด และก็ไม่เคยมีครั้งใดที่ต้องการมากเท่ากับการระบาดของไวรัสโคโรนาเช่นครั้งนี้มาก่อน ทุกประเทศทั่วโลกต่างต้องการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรจำนวนมหาศาลโดยด่วนที่สุด ปกติแล้วไม่มีคำขอร้องเช่นนี้แม้ว่าเรากำลังเผชิญกับช่วงเวลาอันบีบคั้นและมีความสุ่มเสี่ยงมาก ณ ขณะนี้ มากกว่านั้นความต้องการวัคซีนปริมาณมหาศาลขนาดนี้อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชั่วอายุคนคนหนึ่ง ผู้ผลิตวัคซีนจึงได้เริ่มตระหนักมากขึ้นว่า พวกเขาอาจต้องลองกลับคิดดูใหม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน รวมถึงต้องเปิดใจรับความก้าวหน้าล่าสุดในด้านการเปลี่ยนกระบวนการให้เป็นระบบดิจิทัล แน่อน พวกเราก็รู้แล้วว่ากระบวนการนั้นได้ทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร เพราะผลที่เกิดขึ้นกับผู้คนส่วนใหญ่ต่างเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จ ไม่แน่ว่าขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้ คุณอาจจะได้รับวัคซีนไปแล้วหรือกำลังจะได้รับในช่วงเร็ว ๆ นี้ เพราะการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ช่วยชีวิตพวกเราไว้อย่างรวดเร็วจนน่าทึ่ง

ตอนนี้การพัฒนากระบวนการ (PD) ในวงการยาจะใช้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการประเมินความเสี่ยงมากกว่าที่เคยมีมา ด้วยการใช้แบบจำลอง PD ใหม่ บริษัทสามารถใช้ข้อมูล ระบบอัตโนมัติ และการสร้างแบบจำลองได้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างกลยุทธ์ด้านการควบคุมแบบองค์รวมที่สามารถถ่ายโอนได้

ช่วงเวลาการเข้าสู่ตลาดในอุตสาหกรรมนั้นสั้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และรอบเวลาของการพัฒนาก็กำลังสั้นลงเรื่อย ๆ  หากจะว่าไปแล้ว การปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถตอบสนองความต้องการใด ๆ ก็ตามที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน นั่นก็หมายถึง ทุกคนจะปลอดภัยและมีสุขภาพดีขึ้นในอนาคต

โรงงานแห่งอนาคต

สำหรับโรงงานแห่งอนาคตนั้น ข้อมูลจะขับเคลื่อนการปฏิบัติ ในขณะที่กระบวนการอันซับซ้อนกำลังดำเนินการอยู่ เซนเซอร์และอุปกรณ์จะช่วยสร้างกระแสของข้อมูลอันคงที่ ซึ่งส่งผลให้เกิดสแนปซ็อตแบบเรียลไทม์รวมถึงประวัติของกระบวนการแบบดิจิทัลด้วย ด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์ข้อมูลและผู้จัดการกระบวนการจะสามารถใช้ประวัติดิจิทัลนี้เพื่อสร้างแนวทางการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (Machine Learning) เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เครื่องจักร

ทั้งหมดนี้คือแนวคิด “Plug and Produce” ซึ่งเป็นโลกแห่งอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่ไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูลไว้ในไซโลเท่านั้น แต่ยังสื่อสารไปยังหลายบริษัท กลุ่มพันธมิตร คู่ค้า แพลตฟอร์ม ไซต์ และกระบวนการอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา International Society for Pharmaceutical Engineering ได้จัดตั้งคณะทำงานแบบ Plug and Produce ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เพื่อนำแนวคิดการผลิตแบบ Pharma 4.0 ไปใช้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม  โดยในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงด้านการทำงานร่วมกันกำลังค่อย ๆ เกิดขึ้นทั่วทั้งระบบนิเวศทางเภสัชกรรม รวมไปถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการโซลูชันซอฟต์แวร์ และหน่วยงานกำกับดูแล

เมื่อมีเครื่องมือและโซลูชันจำนวนมากสร้างขึ้นเพื่อรองรับการผลิตแบบ Plug and Produce ธุรกิจที่มีแนวทางในการจัดการข้อมูลดิจิทัลทั่วทั้งองค์กรจะสามารถผสานรวมอุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ ได้อย่างง่ายดายและสามารถเปลี่ยนวิธีการตัดสินใจที่ใช้การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนได้ด้วย

การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัล

แม้ว่าการวางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลจะไม่ใช่งานง่ายสักเท่าไหร่ แต่ผลตอบแทนที่จะได้รับนั้นมากมายมหาศาล และโรงงานซึ่งดำเนินงานได้ด้วยแหล่งข้อมูลเดียวสามารถวิเคราะห์เชิงลึกในแบบเรียลไทม์ โดยจะทำให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ระยะเวลาออกสู่ตลาดสั้นลง
  • ใช้ต้นทุนในการพัฒนาตัวยาน้อยลงผู้บริโภคและผู้คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะหาซื้อตัวยานั้นได้ถูกลง
  • ผู้ผลิตนวัตกรรมและผู้รับเหมาผลิตสามารถทำงานและแบ่งปันข้อมูลร่วมกันได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • เปลี่ยนจากการซ่อมบำรุงตามตารางมาเป็นการซ่อมบำรุงตามอาการได้มากขึ้นหรืออาจสามารถเปลี่ยนเป็นการซ่อมบำรุงตามการพยากรณ์ได้เลยในภายหลัง
  • มีความสามารถในการระบุเฟสหรือการเปลี่ยนถ่ายในกระบวนการต่อเนื่องต่างๆได้มากขึ้นรวมถึงการกำหนดค่าKPI ได้ดีขึ้น
  • มีวิสัยทัศน์หรือมุมมองด้านคุณภาพสินค้าในกระบวนการผลิตทั้งหมดที่ดียิ่งขึ้นไม่ใช่มองแค่จุดสิ้นสุดของวัฏจักรเท่านั้น

เส้นทางสู่ Pharma 4.0

ตั้งแต่ระบบวิเคราะห์ขั้นสูงจนถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีมากมายมีอำนาจในการเปลี่ยนโฉมวิธีการดำเนินงานของโรงงานผลิตยา ผู้ผลิตสามารถใช้เทคนิคใหม่เหล่านี้เพื่อให้ได้มาตรฐานตาม Pharma 4.0 รวมถึงช่วยเพิ่มปริมาณงานและลดรอบเวลาโดยยังสามารถรักษาความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ด้วยเพียงแค่ค่อย ๆ เปลี่ยนระบบไปเรื่อย ๆ 

ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

โรงงานแห่งอนาคตจะถูกกำหนดโดยเป้าหมายทางธุรกิจและลำดับความสำคัญ โรงงานต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ไม่ว่าจะเป็น OEE หรือ KPI อื่น ๆ ก็ตาม บริษัทยาจึงต้องพร้อมเสมอที่จะก้าวไปให้ถึงเป้าหมายด้วยความมาดมั่นโดยการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีรุ่นใหม่ โดยจะสามารถขยายขีดจำกัดของสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นจากการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวไว้ทั้งสองแบบและมุ่งมั่นขยายขอบเขตของเป้าหมาย

ผสานรวมวัฒนธรรมและเทคโนโลยี

ทีมงานต้องใช้ความพยายามเพื่อให้ปฏิบัติได้ตามมาตรฐานใหม่ของ Pharma 4.0 ด้านการจัดการคุณภาพ โรงงานแห่งอนาคตต้องอาศัยความร่วมมือจากแรงงานทุกคนตั้งแต่ระดับซีอีโอจนถึงพนักงานในโรงงาน และเพื่อให้เกิดการร่วมมืออย่างเต็มรูปแบบ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรจะสามารถเข้าถึงการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยการเข้าถึงข้อมูลจะช่วยให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินงานอันสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาแก้ปัญหาใหญ่ได้ นอกจากนี้ในหลายบริษัท แม้การที่มีจำนวนผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์เพิ่มมากขึ้นจะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม แต่ด้วยการให้ผู้ใช้ทุกคนมีอิสระในการตัดสินใจ ผู้ผลิตจะสามารถให้อำนาจแก่พนักงานของตนได้มากขึ้นเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

โฟกัสที่บุคลากรและความสามารถ

การเปลี่ยนโฉมโรงงานด้วยบุคลากรและเทคโนโลยีจำเป็นต้องมีทีมงานที่มีความสามารถด้านเทคนิคอันเหมาะสม  ไม่ว่าจะเป็นทีมเทคนิคในการวางแผนและการปรับใช้ระบบใหม่หรือผู้ใช้ปลายทางที่นำระบบไปใช้ท้ายสุด สิ่งสำคัญคือต้องสร้างกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมให้มีหลายหลากกลุ่มซึ่งจะสามารถทดลองกลยุทธ์ใหม่ ๆ ได้

ปิดวัฎจักรสายการผลิต

การทำงานให้บรรลุเป้าหมายโรงงานแห่งอนาคตได้นั้น สิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจกับผู้คนในพื้นที่การผลิต ซึ่งเป็นมากกว่าแค่การให้ผู้ปฎิบัติงานประยุกต์ใช้สิ่งเหล่านั้นเป็น แต่พนักงานทั่วทั้งองค์กรยังต้องเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและกระบวนการจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาอย่างไร จะเอื้อให้ทำงานง่ายขึ้นหรือไม่? หรือจะทำให้พวกเขามองเห็นในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนได้หรือไม่?

หากพูดถึงกระบวนการทั้งหมดแล้ว คนในสายการผลิตจะเป็นผู้ที่เข้าใจกระบวนการดีที่สุด และเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลชุดใหม่นี้ รวมทั้งข้อมูลเชิงลึกชุดใหม่ที่จะได้รับด้วย บริษัทยาจึงต้องการความคิดเห็นและความเชี่ยวชาญจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงกันซึ่งจะช่วยให้บริษัทสร้างผลกำไรได้

คิดการใหญ่ ทำแต่พอดี  

โดยปกติแล้วโรงงานผลิตมีข้อจำกัด และสามารถปรับขนาดได้อย่างรวดเร็วเท่านั้น แม้ว่าผู้ผลิตจะสนใจหันไปใช้กระบวนการ ขั้นตอน และเครื่องมือใหม่ทั้งหมดในทันที แต่การเปลี่ยนแปลงให้เกิดประสิทธิภาพนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในชั่วข้ามคืน การวางแผนขั้นตอนแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปทีละเล็กทีละน้อยจะช่วยให้ผู้ผลิตการวัดความสำเร็จและปรับเปลี่ยนไปพร้อมกันได้ตลอดเวลา

การเริ่มต้นแบบทีละเล็กทีละน้อยไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถคิดการใหญ่ได้ การไปให้ถึงโรงงานแห่งอนาคตจะต้องใช้แนวทางในภาพรวมซึ่งต้องให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมองค์กร โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และความสามารถในการปรับขนาด ดังนั้นแผนระยะยาวไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นแผนงานสำหรับอนาคตเท่านั้น แต่ยังช่วยให้บริษัทต่างๆ วางรากฐานที่เหมาะสมไม่ว่าจะสร้างสิ่งใดก็ตาม

เป็นครั้งแรกที่บริษัทยากำลังทำให้ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเพื่อปรับกระบวนการให้กระชับ เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างวิธีการรักษาโรคขั้นสูงในระยะเวลาที่สั้นลง และเมื่อมีการนำเครื่องมืออันเหมาะสมและกลยุทธ์การจัดการการเปลี่ยนแปลงเข้ามาปรับใช้ แนวคิด 4.0 ก็จะสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนโฉมในองค์กรได้อย่างแท้จริง เขียนโดยคุณ Perry Zalevsky ผู้อำนวยการอาวุโสแห่ง AVEVA