โรงไฟฟ้าบางปะกงเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
|
. |
โรงไฟฟ้าบางปะกงเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันโรงไฟฟ้าบางปะกงมีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,675 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อน จำนวน 4 เครื่อง และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำนวน 4 ชุด ก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ ในปี 2535 ถือเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย |
. |
ที่มาของโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง |
โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 เป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547-2558 (PDP 2004) ซึ่งเป็นแผนที่ใช้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ 1. ความต้องการไฟฟ้าได้ใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าฉบับเดือนมกราคม 2547 2. กำหนดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าโดยกำหนดตัวชี้วัดโอกาสไฟฟ้าดับไม่เกิน 24 ชั่วโมงต่อปีและกำลังผลิตสำรองประมาณร้อยละ 15 3. กำหนดความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าโดยกำหนดชนิดของเชื้อเพลิงที่เหมาะสมตลอดจนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศ |
. |
ความจำเป็นที่ต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 |
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้ความต้องการการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 จึงเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพิ่มกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าบางปะกง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นตามความเจริญเติบ
2. เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ป้องกันไฟตก-ดับ 3. เป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ 4. สามารถลดภาระการลงทุนด้านระบบไฟฟ้า เนื่องจากโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า ทำให้ช่วยลดความสูญเสียในระบบส่ง ประหยัดต้นทุนการก่อสร้างสายส่ง และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนด้านงานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า |
. |
รายละเอียดโครงการ |
· สถานที่ตั้งโครงการ ที่ตั้งโครงการฯ อยู่ในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ประมาณ 40 ไร่ ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 4 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา · ลักษณะของโครงการ โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกงชุดที่ 5 มีขนาดกำลังผลิตประมาณ 725 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส (Gas Turbine) จำนวน 2 เครื่อง เครื่องผลิตไอน้ำแรงดันสูง (Heat Recovery Steam Generator, HRSG) จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ (Steam Turbine) จำนวน 1 เครื่อง |
. |
· เชื้อเพลิงการผลิต ใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงหลัก และน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง มีอัตราการใช้ก๊าซธรรมชาติสูงสุดประมาณ 118 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรณีใช้น้ำมันดีเซลจะใช้ในอัตราสูงสุดประมาณ 3.33 ล้านลิตรต่อวัน · การใช้น้ำ โรงไฟฟ้าจะใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกง สำหรับระบบระบายความร้อนแบบหอหล่อเย็น โดยใช้น้ำประมาณ 78,842 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และใช้น้ำในกระบวนการผลิตและน้ำอุปโภคบริโภคของโรงไฟฟ้า จากบริษัท East Water หรือการประปานครหลวง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ประมาณ 549 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สำหรับน้ำที่ปล่อยออกจากระบบระบายความร้อน (หอหล่อเย็น: Cooling Tower) มีปริมาณทั้งสิ้นประมาณ 65,898 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน อุณหภูมิของน้ำที่ ระบายจากหอหล่อเย็นจะลดลงมาใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำที่สูบจากแม่น้ำบางปะกงเข้าไป โดยจะแตกต่างกันไม่เกิน 3 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิน้ำขาออก– อุณหภูมิน้ำขาเข้า ไม่เกิน 3 องศาเซลเซียส) · แผนการดำเนินงาน ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือน กำหนดจ่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 31 มีนาคม 2552 |
. |
ประโยชน์ของโครงการ |
1. สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าระบบได้ประมาณ 5,000 ล้านหน่วยต่อปี 2. สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ตามการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรร 3. เพิ่มความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าของระบบ 4. ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าให้กับท้องถิ่น ตลอดจนสร้างแหล่งงานขนาดใหญ่ให้กับชุมชน 5. ช่วยประหยัดพลังงาน เนื่องจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า (
6. เป็นการพัฒนาใช้การก๊าซธรรมชาติให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า |
. |
การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม |
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มอบหมายให้ บริษัท ซีคอท จำกัด ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการโรงไฟฟ้าบาปะกง ชุดที่ 5 เป็นระยะเวลา 6 เดือน (7 เมษายน ถึง 21 ตุลาคม 2548)
|
. |
บริษัท ซีคอท จำกัด ได้จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วเสร็จ จากนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอรายงาน ฯ ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการผู้ชำนาญการของ สผ. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 และจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 จากนั้น วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 |
. |
มาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลการะทบสิ่งแวดล้อม |
1) ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง 2) ติดตั้งระบบ Dry Low Nox Burner ในห้องเผาไหม้ของเครื่องกังหันแก๊ส 3) ควบคุมค่าความเข้มข้นของก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนที่ปล่อยของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม 4) ควบคุมสารทุกประเภทให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ควบคุมอัตราการระบายจากปล่อง ไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน 5) ติดตั้งระบบตรวจวัดอากาศแบบต่อเนื่อง (AAQM) เพื่อตรวจวัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนและออกซิเจน พร้อมทั้งติดตั้งจอแสดงผลการตรวจวัดจากปล่องที่หน้าทางเข้าโรงไฟฟ้า 6) ติดตั้งอุปกรณ์ลดเสียงจากเครื่องจักร 7) ติดตั้งหอคอยหล่อเย็น (Cooling Tower) เพื่อลดอุณหภูมิของน้ำทิ้งให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ ก่อนระบายลงสู่แม่น้ำบางปะกง 8) น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสีย นำไปรดน้ำต้นไม้ภายในโรงไฟฟ้าไม่มีการระบายน้ำออกนอกโรงไฟฟ้า 9) จัดให้มีการตรวจสอบแนวท่อก๊าซธรรมชาติเป็นประจำ 10) จัดเตรียมแผนรองรับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ พร้อมให้มีการฝึกซ้อมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง |
. |
การมีส่วนร่วมกับชุมชน |
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการทุกขั้นตอน นับตั้งแต่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยระลึกอยู่เสมอว่าข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้ เป็นข้อมูลที่มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการกำหนดมาตรการในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้เป็นมาตรฐานในการวางแผนป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจัดให้มีการจัดตังคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าในระหว่างการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า |
. |
โครงการ ฯ บางปะกง เป็นโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยซี่งอยู่ในกำกับของรัฐบาลและเป็นโรงไฟฟ้าของมวลชนอย่างแท้จริง การดำเนินงานทุกขั้นตอนได้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง |
. |
ทุกคำถามมีคำตอบกับโรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 |
. |
ถาม เรื่องความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากการสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ. มีมาตรการแก้ไขอย่างไรบ้าง ตอบ โรงไฟฟ้าจะต้องมีการระบายความร้อนที่ปลายปล่องฉะนั้นบริเวณปลายปล่องอาจจะมีอุณหภูมิสูงแต่เมื่อถูกอากาศภายนอกซึ่งมีจำนวนมากกว่าทำให้อุณหภูมิกลับสู่ปกติโดยเร็วสำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะมีการนำความร้อนที่ได้ไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่งทำให้ความร้อนที่ออกมาน้อยลงมาก |
. |
ถาม เรื่องเขม่า ควันพิษ ตอบ โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 ได้ถูกออกแบบให้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักและใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเรื่องเขม่าและควันพิษ รวมทั้งโรงไฟฟ้าใหม่นี้ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงจากประเทศเยอรมันที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด และโรงไฟฟ้าประเภทเดียวกันนี้ก็ใช้กันอยู่ทั่วโลกเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
. |
ถาม ปริมาณการใช้น้ำสำหรับโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนรวมบางปะกง ชุดที่ 5 จะส่งผลกระทบไข่/สัตว์น้ำวัยอ่อนหรือไม่ รวมทั้งมีการกำหนดมาตรการในการป้องกัน หรือลดผลกระทบนี้อย่างไร ตอบ ปริมาณน้ำใช้ใน โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังคามร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 จะมีการใช้น้ำใน 2 ส่วน คือ - น้ำใช้สำหรบกระบวนการผลิต - น้ำใช้เพื่อการหล่อเย็น โดยน้ำใช้สำหรับกระบวนการผลิต โครงการฯ จะใช้น้ำจากบริษัท East Maker จำกัด (มหาชน) หรือ การปะปานครหลวง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ น้ำใช้เพื่อการหล่อเย็นจะใช้จากแม่น้ำบางปะกงเหมือนกระบวนการผลิตในปัจจุบัน แต่ปริมาณการใช้น้ำสำหรับหล่อเย็นที่ประมาณ 80,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน นั้นมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำในฤดูที่มีน้ำนอยที่สุด ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบกับระบบนิเวศน์ |
. |
ถาม อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่ปล่อยออกจากโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 นั้น มีอุณหภูมิเท่าไหร่ และการระบายน้ำร้อนลงแม่น้ำบางปะกงจะส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเรื่องน้ำร้อน หรือไม่ ตอบ โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 ได้มีการติดตั้งหอหล่อเย็น น้ำหล่อเย็นจะต้องผ่านระบบหอหล่อเย็นก่อน เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำ ก่อนระบายลงสู่แม่น้ำบางปะกง จากการออกแบบระบบหอหล่อเย็น อุณหภูมิสูงสุดของน้ำที่ปล่อย อุณหภูมิน้ำต้องไม่เกิน |
. |
ถาม การสูบน้ำอาจทำให้ ปลา กุ้ง หอย ติดมาด้วย มีการแก้ไขอย่างไร ตอบ จัดให้มีตะแกรง 2 ชั้นเพื่อดักสัตว์น้ำขนาดใหญ่ไม่ให้ติดเข้าไปและมีตะแกรงขนาดเล็กเพื่อดักสัตว์น้ำขนาดเล็กไม่ให้เข้าไป และกำหนดให้มีนโยบายการปล่อยสัตว์น้ำลงชดเชยด้วยเช่นกัน |
. |
ถาม มีการใช้น้ำยาคลอรีนกำจัดเพรียงที่ทางระบายน้ำ อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำได้ ตอบ มีการใช้คลอรีนเพื่อป้องกันการเกาะของเพรียงในช่วงน้ำเค็มเท่านั้นและมีการควบคุมปริมาณการใช้ไม่ให้กระทบต่อสัตว์น้ำ |
. |
ถาม ถ้าเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นชาวบ้านควรทำอย่างไร และมีรัศมีวงกว้างเท่าไร ตอบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนฉุกเฉิน กรณีที่เกิดเหตุการณ์ในพื้นที่จะมีเจ้าหน้าที่ดูแล สำหรับกรณีเหตุการณ์เกิดขึ้นในระดับที่รุนแรงต้องมีการติดต่อหน่วยงานภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือ โดยมีมาตรการฝึกซ้อมปีละครั้งร่วมกับชุมชน จากการประเมินด้านอุบัติเหตุจากโครงการฯ ลักษณะที่เกิดเหตุสุดวิสัย หรืออุบัติเหตุขึ้นภายในบริเวณโรงไฟฟ้า รวมถึงผลกระทบต่อเส้นท่อทั้งหมด พบว่า รัศมีของผลกระทบโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเฉพาะพื้นที่ของโรงไฟฟ้าฯ เท่านั้น จะไม่ส่งผลกระทบออกมาภายนอกพื้นที่โรงไฟฟ้า ซึ่งทางโรงไฟฟ้าได้จัดให้มีมาตรการป้องกันการรั่วไหลในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ ต้องได้รับการออกแบบตามมาตรฐานและมีกาตรวจสอบแนวท่อส่งเป็นประจำ นอกจากนี้โครงการฯ ยังกำหนดแผนป้องกันด้านอุบัติเหตุเหล่านี้ เช่น แผนการป้องกันไม่ให้มีการติดไฟเกิดขึ้น ในกรณีท่อก๊าซรั่วไหล ขั้นตอนการแก้ไขหากเกิดเพลิงไหม้ และจัดให้มีการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อการเตรียมความพร้อม โดยพนักงานของโรงไฟฟ้าบางปะกงทุกคน จะต้องมีความพร้อม เพื่อจะได้ระงับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดไม่ให้เกิดเหตุลุกลามอย่างทันท่วงที |
. |
ถาม ตอนโรงไฟฟ้าเก่า บอกว่า บริษัท ปตท. ให้ก๊าซไม่พอใช้ ต้องใช้น้ำมันเตาแล้วโรงไฟฟ้าจะเอาก๊าซมาจากไหน ใช้น้ำมันเตาอีกหรือไม่ ตอบ ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป บริษัท ปตท. พบแหล่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากอ่าวไทยและทำข้อตกลงที่จะส่งก๊าซให้ กฟผ. ดังนั้นขอให้มั่นใจได้ว่ามีปริมาณก๊าซธรรมชาติเพียงพอกับการผลิตตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าอย่างแน่นอน |
. |
ถาม ประชาชนจะทราบค่าวัดต่าง ๆ ได้หรือไม่ถ้าเกินมาตรฐานจะแจ้งได้ที่ไหน ตอบ โรงไฟฟ้าจะแจ้งผลการตรวจวัดไปที่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยส่งรายงานทุก ๆ 6 เดือน เพื่อเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่ ถ้ามีข้อผิดพลาดกระทรวงก็จะลงมากำกับขอให้มั่นใจว่าจะสร้างตรงไหนก็จะต้องมีรายงานให้รับทราบ |
. |
ถาม เป็นห่วงเรื่องความไม่ปลอดภัยของชาวบ้าน อยากให้มีกระประสานงานตั้งตัวแทนโดยให้ผู้นำชุมชนเข้าร่วมกับโรงไฟฟ้าด้วย ตอบ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีระบบดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว แต่ถ้าประชาชนอยากเข้ามีส่วนร่วมก็สามารถตั้งตัวแทนคณะกรรมการในลักษณะไตรภาคีเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการเฝ้าระวัง |
. |
ถาม อยากทราบว่าโรงไฟฟ้าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างไร และส่งเสริมความก้าวหน้าท้องถิ่นหมายถึงอะไร คนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์อย่างไร ตอบ รัฐบาลได้กำหนดให้นำรายได้ที่เกิดจากการขายพลังงานไฟฟ้า ไปพัฒนาท้องถิ่น 1 สตางค์ต่อหน่วยการผลิตพลังงานไฟฟ้า สำหรับโครงการที่มีกำลังผลิตประมาณ 700 เมกะวัตต์ จะมีเงินนำไปพัฒนาท้องถิ่นประมาณ 35-50 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ในท้องถิ่นที่มีโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ ยังได้รับภาษีบำรุงท้องถิ่นสำหรับนำไปพัฒนาท้องถิ่นอีกด้วยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังมีแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้า เช่น การสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพอนามัย เป็นต้น |
. |
ถาม อยากทราบข้อดีข้อเสียของโรงไฟฟ้า ตอบ การสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการการใช้ไฟฟ้า และมีความมั่นคงในระบบไฟฟ้ามากขึ้น เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน และพัฒนาคุณภาพชีวิต ข้อเสียอาจรู้สึกว่ากระทบมีการเปลี่ยนแปลง แต่ กฟผ. มีมาตรการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และพร้อมที่จะแก้ไขหากมีผลกระทบ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน |
. |
ถาม โรงไฟฟ้าสามารถทำบ่อพักน้ำภายในพื้นที่โรงไฟฟ้าได้หรือไม่ ไม่ต้องสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกงไประบายความร้อนทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น การเลี้ยงกุ้งในแม่น้ำจับกุ้งได้น้อยลง ปลาอีกงสูญพันธุ์ ตอบ ได้เสนอมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลผลกระทบนี้ เช่น การปล่อยพันธุ์ปลา พันธุ์กุ้งเสริมลงไปในธรรมชาติ และขณะนี้มีการเพาะเลี้ยงปลาอีกงที่สถานีประมงที่เพชรบุรี ซึ่งได้เสนอไว้ในร่างผลการศึกษา แล้วว่าควรมีการนำพันธุ์ปลาอีกงมาปล่อยในแม่น้ำด้วย |
.. |
ถาม กฟผ. มีมาตรการอย่างไรหากเขื่อนบางปะกงปิด มีมาตรการรองรับผลกระทบต่อแม่น้ำบางปะกงหรือไม่ ตอบ กระบวนการหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าบางปะกงไม่ได้ใช้น้ำจากทางเหนือ แต่ใช้น้ำทะเลที่ขึ้นลง ซึ่งการประเมินผลกระทบ ได้คิดจากปริมาณน้ำท่าเท่ากับศูนย์ เมื่อโรงไฟฟ้าลดการใช้น้ำก็ถือเป็นการแก้ปัญหาแล้วส่วนหนึ่ง ด้านการปิดเขื่อนแม่น้ำบางปะกงจะไม่ปิดตลอด แต่จะมีการระบายออกมาด้านท้ายเขื่อนโดยควบคุมระดับน้ำท้ายเขื่อนให้มีสภาพใกล้เคียงกับปัจจุบันสภาพตามธรรมชาติ |
. |
ถาม ในเวลาที่น้ำทะเลขึ้น น้ำร้อนจะไหลกลับไปที่หน้าโรงไฟฟ้า หากไม่มีน้ำเหนือช่วยหน้าโรงไฟฟ้าจะมีอุณหภูมิสูง เหมือนปี 2531-2532 กฟผ. มีมาตรการดูแลเรื่องอุณหภูมิหรือไม่ ตอบ ขณะนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับแม่น้ำบางปะกงอยู่ สำหรับเขื่อนบางปะกงต้องมีประตูผันน้ำเหนือเขื่อนให้มีอัตราใกล้เคียงกับปัจจุบัน หากมีการปิดเขื่อนโดยไม่มีการระบายน้ำเลย มีการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มที่ และไม่ลดปริมาณน้ำใช้จะทำให้อุณหภูมิน้ำเพิ่มขึ้น ประมาณ |
. |
ถาม โรงไฟฟ้าเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นจะใช้ทรัพยากรมากขึ้นหรือเปล่า เช่นน้ำจากแม่น้ำบางปะกงมากขึ้น ปล่อยฝุ่นควันมากขึ้นหรือเปล่า ฯลฯ ตอบ ในส่วนของโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 มีการเพิ่มกำลังการผลิต 725 เมกะวัตต์ โดยกระบวนการผลิต มีการใช้น้ำน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าปัจจุบันเนื่องจากใช้เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าใหม่และจากมาตรการลดการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าปัจจุบันลงบางส่วนทำให้ปริมาณน้ำหล่อเย็นที่ใช้ลดลงจากปัจจุบัน |
. |
ถาม อยากถามถึงเรื่องสถานีตรวจวัดเวลาติดตั้งดูในเรื่องของทิศทางลมว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างหรือไม่ ตอบ เราจะเน้นที่โรงเรียน โรงพยาบาล ซึ่งไวต่อผลกระทบ ตามลักษณะของชุมชนที่แตกต่างกันซึ่ง กฟผ. มีอยู่แล้ว 3 สถานี เราจะดูชุมชนที่อ่อนไหวในเรื่องของทิศทางลม |
. |
ถาม กฟผ. จะมีการจ้างแรงงานในท้องถิ่นหรือไม่ ตอบ การจ้างงานของ กฟผ. มี 2 ส่วน ส่วนของ กฟผ. เองได้แก่การจ้างงานทำงานด้านธุรการทำงานในสำนักงาน โดยผ่านนิติบุคคล และในส่วนของบริษัทผู้รับเหมาซึ่ง กฟผ. ได้กำหนดให้รับคนในท้องถิ่นเข้าทำงานด้วย |
. |
เอกสารอ้างอิง |
|