เจาะประเด็นข้อได้เปรียบของเอไอเพื่อจัดการกับธุรกิจที่มีโครงสร้างซับซ้อนกับ จิม แชปเปลล์ หัวหน้าฝ่าย
เอไอและการวิเคราะห์ชั้นสูงระดับนานาชาติของบริษัท AVEVA
กว่าสี่สิบปีที่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทั่วโลกมีการบริหารจัดการในระบบที่พวกเรารู้จักกันดีในนาม ห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chains หรือ GVCs) แต่โรคระบาดโควิด-19 ก็ได้เข้าโจมตีศูนย์กลางของหลายภูมิภาคของห่วงโซ่มูลค่า นั่นคือ จีน ยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ณ ปัจจุบัน เมื่อการผลิตได้กลับมาเดินหน้าเพิ่มขึ้น บริษัทต่าง ๆ กำลังฝ่าวิกฤตนี้โดยใช้วิธีตรวจการไหลของการผลิตขาเข้า เพื่อหาทางออกว่าพวกเขาจะสามารถรับ เก็บ และขนส่งผลิตภัณฑ์อย่างไรในแต่ละครั้งเพื่อให้พอดีกับความต้องการของทุกคน ในขณะที่สินค้าตัวที่สำคัญที่สุดนั้นกลับมีจำนวนลดลง และนี่ทำให้ธุรกิจหลายแห่งต้องรีบหันกลับมาคิดทบทวนใหม่เกี่ยวกับกระบวนการห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบัน และยังต้องประเมินว่า พวกเขาจะกลับมาฟื้นตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน (Disruption) ในภายภาคหน้าอย่างไร
การเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญต่ออุตสาหกรรมในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้ โดยจะช่วยเพิ่มมาร์จินและสมรรถภาพทางการปฏิบัติการในช่วงเวลาปกติและช่วยปรับตัวในยามวิกฤตได้ AI จึงได้พัฒนามาถึงขั้นสำคัญซึ่งเราสามารถเห็นข้อดีต่าง ๆ แบบจับต้องได้ในทันที
AI จะช่วยส่งเสริมกระบวนการที่มีอยู่ได้อย่างไร
ด้านภาคอุตสาหกรรม การนำอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับ Internet of Things (IoT) ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นนั้นเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้ AI มากขึ้น เครื่องจักรการผลิต พาหนะ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ควบคุมโดยแรงงานมนุษย์ทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาล และ AI สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นในงานที่มีมูลค่าสูง ๆ ได้ เช่น การซ่อมบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือการทำเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในระดับความแม่นยำที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นการผสานรวม IoT และ AI จะเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่นลูกถัดไปในการพัฒนาศักยภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม และเมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาระบบอัตโนมัติ (Automation) AI จะใช้ข้อมูล IoT ที่บันทึกไว้เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มซึ่งจะช่วยพัฒนาและลดความยุ่งยากของกระบวนการห่วงโซ่อุปทานผ่านโซลูชั่นต่าง ๆ อันล้ำสมัย เช่น การจัดตารางงานด้วย AI เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้คำแนะนำแก่มนุษย์เพื่อให้มีการจัดลำดับขั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยจะสามารถลดความผิดพลาดและความไร้ประสิทธิภาพลงได้อย่างชัดเจน มากกว่านั้น AI จะเรียนรู้ว่ามันจะดำเนินการและปรับแปลงคำแนะนำให้เข้ากับสถานการณ์เฉพาะทางได้อย่างไร ซึ่งหากมันทำงานมากขึ้น ก็จะยิ่งทวีความชาญฉลาดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยระบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์ที่ใช้ระบบ AI จะลบองค์ประกอบที่เกี่ยวกับมนุษย์ออกไปจากภาระงานซ้ำ ๆ ในระดับความซับซ้อนที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งทำให้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย กระบวนการห่วงโซ่อุปทานจะสามารถปฏิบัติงานแบบอัตโนมัติอย่างชาญฉลาดโดยผ่านผังระบบงานที่มีการบูรณาการแล้ว ระดับความสามารถที่ใช้ระบบ AI รูปแบบต่าง ๆ นั้นมีศักยภาพในการให้คำจำกัดความใหม่แก่กระบวนการห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ ในธุรกิจเฉพาะทาง เช่น น้ำมันและก๊าซ เป็นกลุ่มโอเปอเรชันนัล เกนส์ (Operational Gains) ได้ทวีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคยมีในสภาวการณ์ปัจจุบัน
ผู้ที่นำระบบเอไอมาปรับใช้ในช่วงแรกได้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในระบบออน–เพรมิส (On-premise) ระบบคลาวด์ (Cloud) ระบบเอดจ์ (Edge) และโดยผ่านระบบลูกผสมไฮบริด (Hybrid Architecture) หลาย ๆ รูปแบบ AI เองไม่ได้ทำงานเพียงลำพังแต่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีนานาชนิด นั่นรวมถึงระบบโครงข่ายประสาท การเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) การเรียนรู้ของเครื่องจักรโดยไม่มีผู้สอน (Unsupervised Machine Learning) การเรียนรู้ของเครื่องจักรโดยมีผู้สอน (Supervised Machine Learning) การเรียนรู้ผ่านตัวแปร (Reinforcement Learning) การเรียนรู้แบบทรานสเฟอร์ (Transfer Learning) และอื่น ๆ เอไอกลุ่มนี้ได้นำมาประยุกต์ใช้แตกต่างกันออกไปในโลกอุตสาหกรรมเพื่อรังสรรโซลูชั่นต่าง ๆ ตามเป้าหมาย โดยใช้การวิเคราะห์แบบอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น (Descriptive) แบบคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น (Predictive) แบบตัดสินใจและสิ่งที่ควรทำ (Prescriptive) และ แบบวินิจฉัยถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น (Prognostic)
ก้าวข้ามความหวาดกลัวระบบอัตโนมัติ
มากกว่าการตัดสินใจว่าจะเอา AI มาใช้ที่ไหนและอย่างไรนั่นก็คือ วัฒนธรรมองค์กรนั้นเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความเชื่อมั่นจึงเป็นกรอบคิดสำคัญและทัศนคติของความสำเร็จในการร่วมมือกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร
และต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงขั้นตอนที่ปฏิบัติได้จริงเพื่อใช้พิจารณาว่าธุรกิจใดก็ตามที่กำลังอยากทดลองใช้ระบบ AI หรือใช้ระดับความสามารถของการเรียนรู้ของเครื่องจักรในกระบวนการทางธุรกิจของพวกเขา
1.ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากยิ่งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญจากซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว : ระบบ SCADA (ย่อมาจาก Supervisory Control and Data Acquisition โดยทั่วไปแล้วจะอ้างถึงระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม) และระบบควบคุมชนิดอื่น ๆ ได้กลายมาเป็นระบบปฏิบัติการมาตรฐานสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม ข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time Data) และแบบที่ถูกเก็บย้อนหลัง (Historical Data) มักจะใช้ในการคาดการณ์แนวโน้ม รายงาน และการแสดงภาพแบบ HMI โดย AI จะทำให้บริษัทต่าง ๆ สามารถเพิ่มมูลค่าได้หลายเท่า และได้ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลที่ถูกเก็บย้อนหลังจากเทคโนโลยีล้ำยุคต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ของเครื่องจักรแบบพหุตัวแปร (Multi-variate Machine Learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) อีกทั้งการใช้ซอฟต์แวร์แบบบูรณาการที่ผนวกรวมเอไอเข้าไว้กับโครงสร้างพื้นฐาน IT ทางอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว จะทำให้กลุ่มธุรกิจสามารถเพิ่มมูลค่าและอัตราส่วน ROI ได้อย่างมหาศาล โดยสามารถตรวจพบและแก้ปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุงและการปฏิบัติการได้ทันท่วงทีก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่โต อันเป็นผลมาจากการหยุดทำงานแบบไม่ได้คาดการณ์เอาไว้ และแค่เฉพาะเรื่องนี้ เราสามารถเพิ่มช่วงเวลาใช้งานได้ถึง 10% ในแต่ละปี ยังจะก่อให้เกิดต้นทุนที่หลีกเลี่ยงและการเพิ่มประสิทธิผลที่สำคัญยิ่ง
2.นำ AI ไปผนวกรวมกับแก่นของห่วงโซ่อุปทานเพื่อใช้ประโยชน์จากระดับความสามารถอันล้ำสมัย : การจัดตารางงานโดยใช้ AI และระบบประมวลผลการทำงานอัตโนมัตินั้นจะสามารถขจัดข้อผิดพลาดได้และทำให้บริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่พวกมีอยู่ได้อย่างเต็มที่ ความสำเร็จของห่วงโซ่อุปทานนับเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจในภาพรวม และการเพิ่มประสิทธิผลมักสามารถบอกถึงความแตกต่างได้ว่าจะได้กำไรหรือไม่ มากกว่านั้น AI ยังทำให้เกิดคุณค่าเหนือคำบรรยายในวงการนี้ และกลุ่มธุรกิจทั้งหลายจะต้องไม่กลัวการให้อำนาจแก่ AI เพื่อร่วมกระบวนการห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย
3.ใช้ระบบคลาวด์เพื่อให้การใช้ AI สะดวกขึ้นซึ่งบริษัทต่าง ๆ สามารถกำหนดเองได้ : เอไอจะกลายมาเป็นสมองให้แก่ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ บริษัทต่าง ๆ จะสามารถปล่อยและเข้าถึงระดับความสามารถของซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมหลากหลายได้อย่างว่องไว โดย AI ชนิดต่าง ๆ จะเป็นผู้ควบคุมระดับความสามารถเหล่านั้นเอาไว้เอง โดยระบบคลาวด์จะเป็นกลไกการขนส่ง ส่วนซอฟต์แวร์ Saas เป็นแบบจำลองเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม AI จะเป็นตัวทำให้เกิดมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ และตอนนี้ AI ก็ค่อย ๆ เข้าถึงง่ายและคุ้มค่าคุ้มราคามากขึ้นเพื่อใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่าดีกว่าที่เคยเป็นมา
4.เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง AI กับมนุษย์ : เพื่อให้ได้มูลค่าสูงสุดจาก AI บริษัทต่าง ๆ ต้องมั่นใจว่าพวกเขาได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง AI กับความเข้าใจของมนุษย์แล้ว แรงงานจำนวนหนึ่งที่มีนัยยะสำคัญ ณ ปัจจุบันนี้ยังรู้สึกไม่เชื่อมั่นและหวาดเกรงระบบ AI จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่า แรงงานกลุ่มดังกล่าวจะเข้าใจข้อได้เปรียบต่าง ๆ จากการที่นำ AI รวมเข้ากับซอฟต์แวร์ไปในทิศทางเดียวกัน ประโยชน์ที่ได้รับจาก AI จะต้องนำมาปรับให้เข้ากับบริบท เป็นประโยชน์และปฏิบัติใช้ได้จริง และถ้าไม่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ คุณค่าของ AI อันมากมายก็จะไร้ประโยชน์ไป
5.เปิดใจยอมรับนวัตกรรมที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง : ระดับความสามารถของ AI พัฒนาและมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ซอฟต์แวร์จะฉลาดมากขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างระดับความสามารถของเอไอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำให้การคิดและการให้เหตุผลที่มาจากเครื่องจักรอันมีความซับซ้อนมากขึ้นสัมฤทธิ์ผล และท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ บริษัทจะสามารถกอบโกยผลประโยชน์ได้มากขึ้นเท่าทวีจากความรู้เชิงลึกที่ลึกยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อใช้ตัดสินใจระหว่างต้นทุนหรือความเสี่ยง และเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจในด้านกระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจและประสิทธิผลที่เกี่ยวข้องกันมากขึ้น รวมถึงเพื่อใช้คาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น หากยิ่งกำลังจะวางแผนเรื่องการเปลี่ยนแปลงองค์กร บริษัทจะสามารถใช้ประโยชน์จากระดับความสามารถและความรู้ลึกซึ้งของ AI ที่มีมากขึ้นกว่าที่เคยมีมา
ถึงเวลาที่ต้องครุ่นคิดและพัฒนา
ณ เวลานี้ ธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องตื่นตัวอย่างสูงสุดเพื่อจัดการกับต้นทุนการผลิตที่กำลังเสื่อมถอย ตามด้วยข้อจำกัดของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างระดับการผลิตใหม่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว พวกเรากำลังพบกับช่วงเวลาแห่งความไม่เชื่อมั่นและการรับข้อมูลผิด ๆ ในขณะที่ห่วงโซ่อุปทานโลกกำลังถูกเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ข้อมูลจึงเป็นกุญแจสำคัญในการตรวจย้อนกลับและหาแหล่งที่มา ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจว่ายาและอาหารมาจากแหล่งต้นทางจริง ๆ อีกทั้งการมีวิสัยทัศน์ที่ดีขึ้นจะทำให้พวกเราเข้าใจว่าทรัพยากร เช่น อาหารและเวชภัณฑ์อยู่ที่ไหนและเราจะสามารถส่งพลังงานไปให้พวกเขาที่ต้องการมันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร
การเปลี่ยนโฉมของดิจิทัลอยู่ในสภาวะที่สามารถเอื้อให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอันดุเดือดและทันท่วงทีสำหรับผู้ที่รับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างรวดเร็ว และอยู่ในสภาวะที่แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของข้อมูล กลุ่มธุรกิจยังต้องการซอฟต์แวร์อันชาญฉลาดเพื่อมาแก้ปัญหาจุดอ่อนของธุรกิจต่าง ๆ ในเรื่องการสร้างมูลค่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การค้นหาความรู้ลึกซึ้ง การจัดการความเสี่ยง และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เอไอจึงเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างและเป็นพลังขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังพัฒนาการต่าง ๆ ในระบบห่วงโซ่อุปทาน
เขียนโดย Ravi Gopinath, Chief Cloud Officer
บริษัท AVEVA Group เป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมเพื่อเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น น้ำมันและก๊าซ ก่อสร้าง วิศวกรรม ทะเล และสาธารณูปโภค ซอฟต์แวร์โซลูชั่นและแพลตฟอร์มของอาวีวาก่อให้เกิดการออกแบบและการจัดการสินทรัพย์ในอุตสาหกรรมอันซับซ้อน เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมเคมี อุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย และโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งทั้งหมดจะใช้ IoT, Big Data และ AI เพื่อมาแปลงโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยใช้ระบบดิจิทัล