เนื้อหาวันที่ : 2018-11-30 13:09:06 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1472 views

ไต้หวันผนึกกำลังกระตุ้นนโยบายอุตสาหกรรม Thailand 4.0 และ Connect the World จัดงานสัมมนา“Taiwan Products & International Press Conference at Metalex 2018, Bangkok”

ภาคการผลิตอุปกรณ์จักรกลเพื่ออุตสาหกรรมอัจฉริยะชั้นนำของไต้หวันต่างมุ่งมั่นถ่ายทอดแนวทางการผลิตอัจฉริยะเพื่อการใช้งานที่แตกต่างต่างกันไปในนิทรรศการ METALEX 2018 ระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ภาคการผลิตอัจฉริยะเหล่านี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์สำคัญในด้านการพัฒนากระบวนการผลิตอัจฉริยะ เพื่อกระตุ้นนวัตกรรมเครื่องจักรกล ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวนำไปสู่ยุค 4.0

โดยในปีนี้ TAITRA และผู้ผลิตอัจฉริยะ 20 แห่งจากเวที Taiwan Excellence ได้นำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นส์ล้ำยุคที่พาวิลเลียน Taiwan Excellence ในนิทรรศการ METALEX 2018 ซึ่งบริษัทที่เข้าร่วมงานนี้ยังรวมถึงผู้ผลิตชั้นนำ ที่นำเสนออุปกรณ์อุตสาหกรรมในหลากหลายภาคส่วน ตั้งแต่ส่วนควบคุมเครื่องจักรแบบ CNC ที่ล้ำสมัย เครื่องเจียระไนและลับคมตัด และเครื่องปั๊มชิ้นงาน ไปจนถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่ประกอบอยู่ในรางสไลด์ลิเนียร์ไกด์ เครื่องตัด และเครื่องจับเครื่องมือกัดกลึง   

เจสัน สวี่  (กลางซ้าย) ร่วมกับ จอย ลิ่ว (กลางขวา)

งานนี้ยังเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการและโรงงานผลิตได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญๆ ในด้านการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการให้คำปรึกษาเรื่องเครื่องจักรกลคุณภาพสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตของไต้หวันมักเป็นที่ต้องการและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างมากในบรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพราะมีคุณภาพดีและนวัตกรรมล้ำสมัย 

“ไต้หวันพร้อมสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 โดยเราพร้อมแนะนำโซลูชั่นด้านการผลิตอัจฉริยะล่าสุดของภาคการผลิตชั้นนำจากไต้หวัน เราเชื่อว่า การที่พลังอำนาจการซื้อของประเทศไทยในไต้หวันมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นสัญญาณที่ดี ไต้หวันเป็นหุ้นส่วนที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดของไทย และทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันเพื่อทำให้นโยบาย Thailand 4.0 สมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้นี้” นายเจสัน สวี่  ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจของสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย กล่าว

“และเนื่องจากการที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศ และจากโครงการ EEC ทำให้อุปสรรคนั้นน้อยลงเพราะเป็นปกติที่โรงงานต่างๆต้องการที่จะ Min Cost & Max Out Put ทำให้เทคโนโลยีของไต้หวันเรา อาทิเช่น IOT, Ai, Bid Data Management เป็นสิ่งที่ต้องการของเหล่าผู้ผลิตอยู่แล้ว มีการยกเว้นภาษีบางรายการทำให้ Payment น้อยลง มี Barrier ทางการค้าน้อย ค่อนข้างเปิดเสรีจึงไม่เป็นอุปสรรคใดๆในการเข้ามาลงทุน ส่วนด้านคนมีอุปสรรคเรื่องแรงงานไทย ที่มี Technical และ Engineer ค่อนข้างน้อย แต่ก็ได้มีการ training เพื่อให้ความรู้กับลูกค้าอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีการร่วมมือกับสถานบันการศึกษาเพื่อเข้าไปให้ความรู้อีกด้วย ส่วนทางด้านวัฒนธรรมไม่มีปัญหา เพราะคนไทยค่อนข้าง Friendly และเปิดรับคนต่างวัฒนธรรม ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี” นายเจสัน กล่าวเสริม

                 TOYO Desktop Robot                หุ่นยนต์ TM-5 Robot จาก บจก. Techman Robot 

ในงานแถลงข่าวที่ผ่านมา มีบริษัทผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรอัจฉริยะชั้นนำที่มานำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นส์ตัวท็อปล่าสุดเพื่อสนับสนุนผู้ผลิตของไทยในการก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 โดยบริษัทที่นำเสนอโซลูชั่นส์และเทคโนโลยีของตน ได้แก่ บจก. Advantech บจก. TBI Motion Technology บจก. Tongtai Machine & Tool และ บจก. Toto Automation

ไฮไลท์เด่นๆ จากพาวิลเลียน Taiwan Excellence ในปีนี้ยังรวมถึง:

ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีไฮเทค จาก เครือ Hiwin Mikrosystem

  • โซลูชั่นอุตสาหกรรมอัตโนมัติ 0 จาก บจก. Avantech Co. Ltd.
  • เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ จาก Tongtai
  • TOYO Desktop Robot จาก บจก. Automation
  • โซลูชั่นส์การซ่อมบำรุงอุตสาหกรรม จาก Axiomtek
  • ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีไฮเทค จาก เครือ Hiwin Mikrosystem
  • หัวจับประเภท Angle Head Holder รุ่น SAG-DE สำหรับเครื่องจักรสองด้าน จาก บจก. Shin-Yain Industrial
  • หุ่นยนต์ TM-5 Robot จาก บจก. Techman Robot โดยจะมีการจัดแสดงเจ้าหุ่นยนต์ซึ่งคิดและทำงานได้เหมือนมนุษย์ตัวนี้ที่งานเช่นกัน

นายแมทริค ชุง  กรรมการผู้จัดการ แอดวานซ์เทค คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ตัว Logic Control เป็นแผงที่คอยมอนิเตอร์ระบบการทำงานต่างๆภายในโรงผลิต ซึ่งเป็นตัวที่ค่อนข้างพิเศษเพราะสามารถดู PLC ได้หลายตัวพร้อมกัน (ไม่จำกัด) เหมือนว่าโรงงานมีเครื่องจักรที่ผลิตสินค้าหลายแบบมาก โดยตัวนี้ตัวเดียวสามารถดูได้ทั้งหมดพร้อมกัน สามารถดูได้ว่าเครื่องจักรตัวนี้กำลังทำงานปกติ ผลิตได้ช้ากว่าปกติ หรือมีปัญหา Brakedown/Maintainance อยู่ ซึ่งช่วยให้ตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้นบนการจัดการภายในการผลิต (Optimization) ทั้งนี้ยังเป็นอุปกรณ์ที่เป็นระบบปิด ทนน้ำ ฝุ่น ความร้อน ความชื้น น้ำมัน และสภาพอากาศอื่นๆที่อาจพบเจอในระบบการผลิตได้ มีทั้งระบบ Wired ที่มีความเสถียรมากกว่า และมีระบบ Wireless ที่สะดวกกว่าไม่ต้องโยงสาย ทำให้ราคาถูกกว่า  ระบบของบริษัทนี้จะใช้ระบบ Isolate ทำให้ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องไฟ overload หรือไฟกระชาก” “ทั้งนี้การใช้งานระบบนี้ จะมีการคุยกับลูกค้าก่อนว่าต้องการโซลูชั่นส์ แบบไหน จากนั้นบริษัทจะมาช่วยวางระบบให้ พร้อมกับเทรนการใช้งานให้ อีกทั้งยังสามารถแจ้งรายงานให้ทราบได้ทุกระยะตามความต้องการ เช่นรายวัน รายชั่วโมง ทำได้หมด” นายแมทริค กล่าวเสริม

นายสืบสันต์ เขียวแก้ว ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และการตลาด พรีเมียร์ ออโต้เมชั่น เซ็นเตอร์ กล่าวว่า “สำหรับตัว Co Bot ย่อมาจาก Collaborative Robot ที่มีการทำงานร่วมกันอยู่หลายระบบในแขนเดียว ใช้กล้องในการหาเป้าหมายที่จะใช้หยิบจับ และ ใช้ ai ในการวิเคราะห์สิ่งที่กล้องถ่าย ถ้าหากเห็นเลขอะไรจะสามารถหยิบไปใส่กล่องให้ตรงตามเลขหมายได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งตัวแขนมีระบบ safety อยู่ในทุกข้อต่อ ทำให้เมื่อแขนกลเคลื่อนไหวไปถูกสิ่งกีดขวางหรือมีสิ่งใดมากระทบ แขนกลจะหยุดการทำงานทันที และแจ้งเตือนด้วยเสียงและแสงไฟให้ผู้ควบคุมเข้ามาช่วยเหลือ และแขนกลจะไม่มีระบบ Continue เอง เพื่อป้องกันการกระแทกและการชนสิ่งกีดขวางซ้ำๆจนอาจทำให้เกิดการชำรุดหรือเป็นอันตรายต่อผู้ควบคุมได้” “โดยแขนกลนี้มีข้อจำกัดทางด้านการใช้แสง เนื่องจากใช้กล้องในการมองเห็น ทำให้ต้องการแสงที่คงที่และเพียงพอในการมองเห็น ซึ่งต้องมีการ Setting ตามแต่ละสถานที่ และควบคุมแสงให้นิ่งอยู่ตลอดเวลา” นายสืบสันต์ กล่าวเสริม

นายซิลเวอร์ เช วิศวกรอาวุโส ด้านวิจัยและพัฒนา ดีเจอี กล่าวว่า “สินค้าเด่นของบริษัทคือ Water Tank แบบที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งขายดีในไทยมาก ยี่ห้อ Diamond และยังขายดีในประเทศเยอรมัน และ ประเทศแถบยุโรปด้วย อย่างอื่นก็จะมีเรื่อง Autoparts ต่างๆด้วย ปัญหาใหญ่ของบริษัทคือ คู่แข่งจากจีน ซึ่งก็มีศักยภาพสูง พอกัน แต่บริษัทไม่มีอุปสรรคเรื่องวัฒนธรรม อาจเพราะผลิตแล้วส่งให้บริษัทลูกค้าในประเทศไทย จึงดีลแค่กับลูกค้า ซึ่งในอนาคตอาจจะมีแผนในการมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่แน่ชัด”

รัฐบาลไต้หวันมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องจักรอัจฉริยะ โดยมีจุดประสงค์ให้ไต้หวันเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกของเครื่องจักรอัจฉริยะ และได้รับประโยชน์จากอุตสาหกรรมยุค 4.0 อุตสาหกรรมยุค 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หมายถึงการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการผลิตอัจฉริยะและการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น ระบบอัตโนมัติในโรงงานระดับสูง และการใช้งาน Internet of Things  

ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังพัฒนานโยบาย Thailand 4.0 ในขณะที่ไต้หวันกำลังผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) ทั้งสองประเทศจึงสามารถร่วมมือกันในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อวกาศ เรือดำน้ำ อุปกรณ์การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ เศรษฐกิจดิจิตัล การแพทย์ และเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยและผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย