Atmosphere 2018 APAC เป็นงานประจำปีของอรูบ้า (Aruba), a Hewlett Packard Enterprise Company ที่จัดขึ้นเพื่ออัพเดตความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอรูบ้า (Aruba) เป็นประจำทุกปี ในปีนี้จัดที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน ณ คอนเวนชั่นฮอลล์ โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,200 คนจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
วันแรก เริ่มเปิดประตูให้ผู้เข้าร่วมงานประมาณ 9:00 น. โดยมีเวทียกพื้นเหมือนเวทีเดินแบบ ส่วนที่เป็นฟลอร์ตั้งอยู่ตรงกลางให้ผู้เข้าร่วมงานนั่งอยู่ 2 ข้าง มีจอภาพยาวเต็มผนังให้ผู้เข้าชมเห็นภาพ
เปิดงาน 9:30 น. อย่างครึกครื้นด้วยการเต้นประกอบดนตรีโมเดิร์นแดนซ์ของสาว ๆ หนุ่ม ๆ บนเวทีกลางงาน และมีภาพผู้บริหารของอรูบ้าร่วมเต้นประกอบในจอภาพ
Janice Le, Chief Marketing และ Steve Wood, APAC Sales ได้ขึ้นมาเปิดงานด้วยสโลแกนใหม่ของชาวอรูบ้าคือ "Customer First Customer Last" หมายถึงอรูบ้ามีลูกค้าเป็นหัวใจ จะรับฟังลูกค้าก่อนและมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยแก้ปัญหาความท้าทายทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาที่เกี่ยวข้องกับความปั่นป่วน (Disruption ) ที่เกิดจาก Mobile, IoT และ Cloud โดยมุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อลูกค้าเป็นเป้าหมาย
พร้อมทั้งอัพเดตว่า ณ วันนี้ สมาชิกประชาคมของอรูบ้าที่มีชื่อว่า Airheads บรรลุถึง 80,000 กว่าคนแล้ว โดยผู้เข้าร่วมในห้องประชุมในวันนี้มีสมาชิก Airheads 1,200 คน คู่ค้า 500 คน ผู้บริหารด้านไอทีอีก 50 คน และผู้สนใจอื่น ๆ ด้วย
ปัจจุบันอรูบ้ามียอดขายถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตเร็วกว่าตลาดถึง 3-4 เท่า มีการเติบโตในตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 16% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
อนาคตจะเป็นยุคของการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ชาญฉลาดของบริการต่าง ๆ อย่างเช่น Smart Digital Schools, Smart Digital Hotels, Smart Digital Stadiums, Smart Digital Stores, Smart Digital Workplace, Smart Digital Hospitals และ Smart Digital อื่น ๆ ที่ล้อมรอบตัวเรา และอรูบ้าจะร่วมกับทุก ๆ ท่านสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
Opening Keynote คือคุณ Keerti Melkote ผู้ก่อตั้งและประธานของ Aruba ได้ขึ้นเวทีมากล่าวถึงความปั่นป่วนจากดิจิทัล (Digital Disruption) ที่ทุกธุรกิจกำลังเผชิญทั้งจาก Cloud APPs, และ Mobile Users เข้าสู่ยุค The Mobile-First, Cloud-First Network ธุรกิจที่มีรูปร่างทางกายภาพล้วนถูกดิจิทัลทำให้ปั่นป่วน (Digital Disruption, Getting Physical) อย่างเช่น ร้านค้าปลีก โรงแรม สำนักงาน โรงเรียนและโรงงาน ทำให้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานประสบการณ์ (Experience Economy)
เขาได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพของธุรกิจกาแฟ เริ่มจากเกษตรกรปลูกกาแฟ ขายเมล็ดกาแฟได้แค่เพียง 0.02 USD โรงงานนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ติดแบรนด์ขาย 0.10 USD ร้านกาแฟทั่วไปเอามาบริการชงเป็นแก้วขายได้ 1.50 USD แต่สตาร์บัคเพิ่มประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์เข้าไปในการดื่มกาแฟ ทำให้สามารถขายได้ถึงแก้วละ 2.75 USD โดยลูกค้ายอมจ่ายด้วยความยินดี
ในการที่จะทำให้เกิด Experience Economy ต้องมี The Experience Platform ที่ผนวกความฉลาดเข้ากับข้อมูล (Smart + Digital) โดยมี AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยเพื่อรองรับข้อมูลมหาศาลที่เกิดจากอุปกรณ์ IoT กว่า 2.8 พันล้านตัวในปี 2020 โดยจะต้องมีความฉลาดตื่นตัว (Smart Aware) รับรู้ถึงผู้ใช้ แอพพลิเคชั่น บริการ และสถานที่ ทำให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างชาญฉลาด (Smart Action) เกิดเป็น Smart Digital Experience ให้กับบริการต่าง ๆ ดังนั้นในปัจจุบันอรูบ้าจึงได้ขยายความร่วมมือกับคู่ค้าในวงการอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เพื่อสร้างสรรค์บริการ
คุณ Keerti ได้เชิญคุณ Veerasak Kritsanapraphan ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ ของโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่ม 1 ขึ้นมาเล่าถึงการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลของโรงพยาบาลกรุงเทพเพื่อเป็น Smart Digital Hospital โดยได้นำ Wi-Fi และ Location-based Services ของอรูบ้ามาใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั้งหลาย ทำให้สามารถหาได้ง่ายและเอามาใช้ได้ทันเวลาตามต้องการ ใช้ Wi-Fi ในการปรับปรุงบริการต่าง ๆ แก่คนไข้ที่เข้ามาจะได้แท็บเล็ต ทำให้รู้ว่าคนไข้อยู่ที่ไหน สามารถติดต่อกับหมอและพยาบาลซึ่งจะมีแท็บเล็ตเข้าถึงข้อมูลคนไข้ผ่าน Wi-Fi ส่วนในห้องมีบริการที่กำลังปรับให้เป็นเฉพาะบุคคล (Personalized) มากขึ้น ทำให้เหมือนอยู่บ้านหรือโรงแรม เป็น Hospitels หรือโรงพยาบาลที่บริการแก่คนไข้จนรู้สึกสะดวกสบายเหมือนอยู่โรงแรม
ต่อมาได้เชิญคุณ Budhaditya Mukherjee, SE Leader Rajasthan และคุณ Nitin Verma, Deputy Director ในการสร้าง Smart Digital State ให้แก่รัฐ Rajasthan ของประเทศอินเดีย ซึ่งมีประชาชนที่ยากจนเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีจำนวนมาก โดยได้ทำให้ชาวบ้านในทุกหมู่บ้านสามารถเข้าถึงบริการ Wi-Fi ได้ที่สำนักงานของผู้ใหญ่บ้านเพื่อออนไลน์เข้าถึงข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคาร ข้อมูลบัญชีประกันสังคมของตน บริการของรัฐและข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น
คุณ Keerti ได้พูดถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของอรูบ้าทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ อย่างเช่น 8400 Switch Series, Aruba Central, Aruba ClearPass, Access Point, Aruba NetInsight และ Aruba Meridian ซึ่งทั้งหมดจะรวมกันเป็น Experience First Platform หรือ Single SW Platform-Cloud Architecture
อรูบ้ามีระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่ดีที่สุด โดยมีความร่วมมืออย่างกว้างขวางกับ Technology Partner, GTM Partner, พันธมิตรต่าง ๆ รวมทั้งมีประชาคม Airheads ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
อรูบ้ายังมุ่งมั่นสร้างระบบการทำงานอัตโนมัติโดยใช้ AI ในการทำ Policy, Provisioning, Management, Monitoring และ Troubleshooting
คุณ Keerti ปิดท้ายว่าอรูบ้าเน้น Secure, Smarty, Simple เพื่อสร้าง Amazing Eexperience with Amazing Simplicity เพื่อ Bridging the Physical to Digital เพื่อ Bridge the Edge to Cloud ทำการ Develop the Future และ Develop the Experience
Keynote คนต่อไปคือ Tanmay Bakshi เป็นเด็กอัจฉริยะอายุ 14 ปี โปรแกรมเมอร์อายุน้อยที่สุดในโลกเพียง 5 ขวบ ขณะที่เพื่อนเล่นต่อเลโก้กัน แต่แทนเมย์หัดเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ และต่อมาได้เรียนเขียนโค้ดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ด้วยตัวเอง และมีส่วนร่วมกับ IBM Watson ในหลาย ๆ โครงการ เขาได้พัฒนาแอพหลายตัว เขียนหนังสือ และพูดบนเวที TED Talk เขากล่าวว่าคนทั่วไปเข้าใจผิดเรื่อง AI กับ Machine Learning ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน อันที่จริง AI คือจักรกลที่คิดได้รู้สึกได้เหมือนมนุษย์ยังไม่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องไปกลัว AI ที่เราพูดถึงกันในปัจจุบันเป็นแค่ Role-based Systems เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Machine Learning ซึ่งกำลังพัฒนาไปสู่ Deep Learning เช่น Alpha Go ที่สามารถเอาชนะแชมป์หมากล้อมโลกที่เป็นมนุษย์ได้ ในท้ายที่สุดแม้ AI เกิดขึ้นก็ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์ แต่มาช่วยเหลือให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีขึ้น
ในช่วงบ่ายแยกเป็นห้องสัมมนาเล็ก ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีของอรูบ้านับสิบห้องรวมทั้งมีการสอบเพื่อรับใบรับรอง (Certification) ในเรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ อรูบ้าอีกด้วย แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือห้องแสดงใหญ่ที่เรียกว่า Tech Playground ซึ่งเป็นห้องที่จำลอง Smart Digital Workplace ของบริษัท Alpine Orange Superfood โดยมีสำนักงานส่วนหน้าที่ให้แขกสามารถเข้ามาเพื่อขอพบพนักงานด้วยการทำรายการกับเครื่องที่เคาน์เตอร์โดยไม่ต้องมีพนักงานต้อนรับ มีห้องทำการ Smart Digital Workplace, Smart Meeting Room, ห้องทำงาน CTO, ห้อง IT Operation, Smart Factories และ Smart Shop Retails ให้ผู้เข้าชมได้ตื่นตาตื่นใจ มองเห็นภาพของสำนักงานอัจฉริยะยุคดิจิทัลในอนาคต แถมยังมี Smart Hotels และ Smart Rooms มาโชว์อีกด้วย ต่อด้วยส่วนแสดงเทคโนโลยีต่าง ๆ ของอรูบ้าและปิดท้ายด้วย ห้องทดลองสีส้ม (Orange Lab) ให้ลองนั่งเขียนโปรแกรมดึงข้อมูลจากอุปกรณ์ของอรูบ้าว่ามันง่ายแสนง่ายและมีความปลอดภัยสูง
พอหกโมงเย็นได้มีการจัดปาร์ตี้ให้บริการอาหารเครื่องดื่มและเสียงดนตรีเร้าใจอย่างสนุกสนานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้สังสรรค์พูดคุยทำความรู้จักกัน สร้างประชาคม Airheads ให้สนิทสนมกลมเกลียวมากยิ่งขึ้น สนุกสนานจนคุณ Steve Wood เพลินจนเกือบมาไม่ทันเป็นพิธีกรเปิดงานในวันที่สอง
วันที่สอง Keynote คือคุณ Partha Narasimhan, CTO ของอรูบ้า ขึ้นเวทีมาในฐานะ CTO ของบริษัทจำลอง Alpine Orange Superfood โดยเป็นตัวหลักบนเวทีเล่าถึงการนำ Experience First Platform มาใช้ เขากล่าวว่าผู้ใช้คาดหวัง Mobility, Choice และ Simplicity รวมทั้งการทำให้ Tools, แอพและสถานที่ทำงานมีความเป็นส่วนตัว (Personalized) ส่วนผู้บริหารคาดหวัง Trust, Efficiency และ Productivity
คุณ Patha กล่าวว่าความท้าทายทาง IT ที่กำลังเกิดขึ้นคือในปี 2020 ทั่วโลกจะมีอุปกรณ์ แอพ และบริการกว่า 7.6 พันล้านตัวเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยจำนวนข้อมูลมหาศาล แต่บุคลากรและเงินลงทุนกลับเติบโตขึ้นเพียงปีละ 0-2% เท่านั้น แถมยังมีเครื่องมือในระบบเก่าอีกมากมายที่จะต้องปรับเปลี่ยนมัน นอกจากนั้นยังต้องการระบบวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ว่าทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นอัตโนมัติเพื่อสร้างประสบการณ์ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้ใช้ ระบบเครือข่ายจึงจะต้องทำหน้าที่เหมือนระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ของสำนักงาน โดยการออกแบบ Smart Digital Workplace ที่ดีจะต้องเน้น Secure, Smart และ Simple และได้เชิญบุคคลสำคัญที่ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีให้ Alpine (Aruba) ขึ้นมาแสดงให้เห็นการใช้ประโยชน์จริง ๆ ของเทคโนโลยีของอรูบ้าเป็นอย่างไร สนุกและตื่นตาตื่นใจมาก
จบลงด้วยการโชว์ตัวของวิศวกรที่มีส่วนร่วมสร้าง Smart Digital Workspace บนเวที สร้างความประทับใจและเสียงตบมือกึกก้อง ทำให้ผู้ฟังหลาย ๆ ท่านอยากจะมี Smart Digital Workspace ในที่ทำงานของตนบ้าง
ช่วงบ่ายยังคงมีห้องสัมมนาเล็ก ๆ หลายห้องให้ผู้สนใจแยกเข้าฟังเทคโนโลยีของอรูบ้าได้อย่างเต็มอิ่มและเต็มที่ไม่จำกัดต่อจากวันแรก รวมทั้งการเข้าชม Tech Playground
ปิดภาคเย็น 18:00 น. เช่นเดียวกับเย็นวันแรก มีปาร์ตี้อาหาร เครื่องดื่มและเสียงดนตรีเร้าใจอย่างสนุกสนานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้สังสรรค์พูดคุยทำความรู้จักกันมากขึ้นต่อจากวันแรก ร่วมสร้างประชาคม Airheads ให้สนิทสนมกลมเกลียวมากยิ่งขึ้น และตั้งหน้าตั้งตารอที่จะมาพบกันอีกในปีหน้าที่งาน Atmosphere 2019 APAC เพื่ออัพเดตความก้าวหน้าของอรูบ้า