ผู้บริหารระดับสูงกว่า 50 คน เข้าร่วมงานสัมมนาประจำปีครั้งแรกของซุปเปอร์แนป ประเทศไทย ที่จัดขึ้นในหัวข้อ “โลกที่เชื่อมต่อแบบดิจิทัล–นวัตกรรม เทคโนโลยี และความมั่นคงปลอดภัยที่จำเป็น (Digitally Connected World-Innovative, Technology and Security Imperatives)” โดยการสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจกับธุรกิจในส่วนไอทีได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ซุปเปอร์แนป ประเทศไทย จัดงานสัมมนาครั้งแรกเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจดิจิทัลที่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรชั้นนำ อาทิ มุนเตอร์ส, ชไนเดอร์ อิเล็คทริค, ไมโครซอฟต์, เดลล์ อีเอ็มซี และดีลอยท์ คอนซัลติ้ง ในการเข้าร่วมเป็นวิทยากรและผู้ร่วมอภิปราย “จากปริมาณการเคลื่อนย้ายข้อมูลข้ามพรมแดนที่เติบโตขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการในด้านบิ๊กดาต้า และการให้บริการคลาวด์ ผู้นำทางด้านไอทีในปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายในการส่งมอบข้อมูลมหาศาลและสำคัญของลูกค้า โดยมีความเสี่ยงที่จะดูแลปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลให้อยู่ระดับที่เหมาะสม” นางสุนิตา บ็อตเซ่ กรรมการผู้จัดการ บริษัทซุปเปอร์แนป ประเทศไทย จำกัด กล่าว
แรงผลักดันจากหลายด้านได้กระตุ้นทั้งหน่วยงานรัฐบาลและภาคองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกให้หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความทันสมัย (Data Center Modernization) มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จากมุมมองในด้านเทคโนโลยี ดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบันต้องสามารถรองรับและสำรองความต้องการ มีขีดความสามารถในการปรับขยาย มีเทคโนโลยีสำหรับการจำลองสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลไลเซชัน ยืดหยุ่นในการทำงาน และที่สำคัญคือมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงการปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
"ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่วิสัยทัศน์ “ไทยแลนด์ 4.0” และทุกภาคส่วนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นดิจิทัล เราต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการปกป้องข้อมูลที่จัดเก็บไว้ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ อีกทั้งข่าวด้านการรั่วไหลของข้อมูลสู่สาธารณะ งานสัมมนาวันนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริหารในการตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้ไว้ในอันดับต้น ๆ ว่าทั้งโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการการจัดการข้อมูล ระบบไอที และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ควรจะได้รับการจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ” ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในการช่วงการกล่าวเปิดงาน
ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตของอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก โดยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้ใหม่เกือบ 4 ล้านคนที่ออนไลน์เข้าสู่ระบบในทุก ๆ เดือนในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ และนี่หมายถึงภูมิภาคนี้จะมีผู้ใช้งานมากถึง 480 ล้านคนภายในปี 2020 โดยมีการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 700 ล้านเลขหมายในภูมิภาค เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเติบโตแบบทวีคูณนี้แล้ว ประเด็นเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง “มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ควรเป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนทางธุรกิจ โดยเมื่อพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ทางด้านธุรกิจ ภัยคุกคาม และขีดความสามารถต่าง ๆ องค์กรธุรกิจจะสามารถประเมินการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ว่าควรมีการลงทุนด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ในส่วนใดเพื่อสร้างความแข็งแกร่งสูงสุดให้กับความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง การทนทานต่อการบุกรุก การโจมตี รวมถึงความสามารถในการคืนสภาพของระบบ (Cyber Resilience)” นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการการให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยง บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว
ทั้งนี้ ไอทีและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีต่างมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมยุค 4.0 (Industry 4.0) ด้วยการช่วยทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถนำมาใช้งานและเกิดคุณค่า อย่างไรก็ตามประโยชน์จากสรรพสิ่งของอินเทอร์เน็ตหรือ ไอโอที (IoT) ที่เกิดขึ้นจะต้องมีความสมดุลกับความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยของระบบไอทีที่เกิดภายใต้สภาพแวดล้อมโดยรวม ดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ จึงจำเป็นต้องทุ่มเทให้กับการทำงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อคุ้มครองระบบจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๆ ในฐานะของผู้นำด้านการออกแบบ การพัฒนา และการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีเสถียรภาพสูง ซุปเปอร์แนปมุ่งมั่นในการสร้างกรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม "เราเพิ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001: 2013 จาก British Standards Institution (BSI) ซึ่งถือเป็นหนึ่งสถาบันในการการให้คำรับรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และความสำเร็จนี้ถือเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเรา ในการให้ความรับรองด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ลูกค้าเริ่มตั้งแต่ระเบียบวิธีปฏิบัติ การควบคุมตรวจสอบ จนถึงการปฏิบัติงานในด้านความมั่นคงปลอดภัย " นางสุนิตา กล่าวปิดท้าย