ณ กรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยผู้บริหาร สวทช. หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เยี่ยมชมบริษัท Mobileye จำกัด และหารือ Israel Innovation Authority (IIA) องค์กรภาครัฐของประเทศอิสราเอลที่ให้การสนับสนุน SME และStartup พร้อมกับเข้าร่วมประชุม International Ministerial Level Scientific Conference “Thinking out of the Box”-Celebrating Seventy Years of Israel Scientific Innovation in the Service of Humanity เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและเสริมแกร่งการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ของประเทศ ขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ในการเยี่ยมชม บริษัท Mobileye จำกัด เป็นบริษัท Startup ที่เชี่ยวชาญด้าน Advanced Driver Assist Systems (ADAS) พัฒนาเซ็นเซอร์, Mapping รวมถึงซอฟต์แวร์หลายชนิดสำหรับรถไร้คนขับ เพื่อการใช้รถที่ปลอดภัย และลดอุบัติเหตุบนท้องถนน (บริษัทอินเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ซื้อกิจการไปดำเนินการไปเมื่อปีที่แล้ว) จากการประชุมร่วมกันฝ่ายไทยมีความสนใจจะศึกษาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับ Mobileye เพื่อส่งเสริมการสร้างและใช้งานนวัตกรรมด้าน Disruptive Technology (เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกได้แก่ เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า และสามารถเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ และเศรษฐกิจ) Dual-use Technology (เทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองประโยชน์การใช้งานทั้งด้านการทหารและพลเรือน) และการยกระดับเมืองในประเทศไทยให้เป็น Smart City ในสามจังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ และ ชลบุรี ตามแนวนโยบาย Regulatory Sandbox ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเร่งกระบวนการพัฒนานวัตกรรมในประเทศ และส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่ง Mobileye จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมหารือความสนใจและแนวทางความร่วมมือกับฝ่ายไทยตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในปีนี้
จากนั้น ได้เข้าหารือกับ Mr. Aharon Aharon, CEO, Israel Innovation Authority (IIA) องค์กรอิสระที่สำคัญของรัฐอิสราเอลที่รับผิดชอบตั้งแต่นโยบายด้านนวัตกรรมของประเทศ ไปจนถึงการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจของอิสราเอลโดยรวม ซึ่ง IIA มีพันธกิจในการติดตามและวิเคราะห์พลวัตรของนวัตกรรมอิสราเอลและต่างประเทศ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของอิสราเอล นอกจากนี้ IIA ยังให้การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมอิสราเอลในทุกระดับ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงด้านลงทุนของ Multinational Company เพื่อส่งเสริมให้เกิดการส่งออกเทคโนโลยีของอิสราเอลสู่ตลาดโลกอันนำมาซึ่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ
“ในด้านความร่วมมือระหว่าง IIA และประเทศไทย ทาง IIA อยู่ระหว่างการเตรียมลงนามความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อสนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ และธุรกิจนวัตกรรมของสองประเทศ ซึ่งตนมีความสนใจที่จะผลักดันความร่วมมือในสาขาเทคโนโลยี ดังนี้ เทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agri tech) เทคโนโลยีเพื่อการใช้งานเชิงการทหารและพลเรือน (Dual-use Technology) และเทคโนโลยีด้านสุขภาพและการแพทย์ (Health tech) โดย IIA ได้เชิญรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และคณะเดินทางไทยร่วมงานประชุมด้านไซเบอร์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอลด้วย”
ดร.สุวิทย์ ฯ กล่าวต่อว่า นอกจากเข้าร่วมประชุมงาน International Ministerial Level Conference “Thinking out of the Box”-Celebrating Seventy Years of Israel Sciencetific Innovation in the Service of Humanity ซึ่งการประชุมฉลองครบรอบ 70 ปีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอิสราเอล ที่ส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการให้บริการของมนุษยชาติ เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้แทนเข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า 21 ประเทศ โดยมี MK. Ofir AKumis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมรับฟังปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน นาทันยาฮู กล่าวให้นโยบายในอนาคตของประเทศอิสราเอลว่า จะดำเนินการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเน้นเรื่องวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Science) เช่น Quantum Computing, Data Science รวมถึงคณิตศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเทคโนโลยีเป็นแค่ครึ่งหนึ่งของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้งาน แต่วิทยาศาสตร์พื้นฐานมีความสำคัญมากต่ออนาคตและความมั่นคงของอิสราเอล” อีกทั้งยังได้ร่วมอภิปราย What is a Start-up Nations และกล่าวว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาเพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาน และความเหลื่อมล้ำ โดยรัฐบาลมีนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญที่ครอบคลุม 3 ส่วนคือ Innovative Economy, Distributive Economy และ Circular Economy มีเป้าหมายหลักในส่วนของไบโอเทคโนโลยีได้แก่ Food and Agriculture, Health, Bioeconomy รวมถึงส่งเสริม 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (10 S-cuvre) ซึ่งจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินการโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi), Startup, Regional Science Parks (ส่งเสริมด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีศักยภาพ รวมถึงทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน), Food Innopolis และการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovative Districts) ทั้งนี้ กระทรวงวิทยศาสตร์ฯ จะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการบริหารจัดการ และ funding agencies เพื่อสร้างความเข็มแข็งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งการเยี่ยมชมและเข้าร่วมประชุมนี้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา วทน., Startup และเกษตรกรของไทยเป็นอย่างมาก และจะนำกรณีตัวอย่างที่ดีไปพัฒนาต่อยอดยกระดับ วทน. ต่อไป