โฆสิต นำทัพบีโอไอ ถกนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น หวังขยายความร่วมมือด้านการลงทุนของทั้งสองประเทศในทศวรรษหน้า หลังJTEPA ด้านนักธุรกิจญี่ปุ่นขานรับเข้าร่วมสัมมนากว่า 500 ราย เลขาฯ บีโอไอ มั่นใจ ญี่ปุ่นจะขยายการลงทุนเพิ่มในไทย โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงและกลุ่มที่ยังไม่มีการผลิตในไทย
โฆสิต นำทัพบีโอไอ ถกนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น หวังขยายความร่วมมือด้านการลงทุนของทั้งสองประเทศในทศวรรษหน้า หลังJTEPA ด้านนักธุรกิจญี่ปุ่นขานรับเข้าร่วมสัมมนากว่า 500 ราย เลขาฯ บีโอไอ มั่นใจ ญี่ปุ่นจะขยายการลงทุนเพิ่มในไทย โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงและกลุ่มที่ยังไม่มีการผลิตในไทย |
. |
นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 14 – 17 พฤศจิกายน 2550 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) นำโดย นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้าคณะพร้อมด้วย นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารบีโอไอ จะเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างญี่ปุ่นและไทยในทศวรรษหน้านี้ (2551 – 2560) |
. |
"การชักจูงการลงทุนในครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นโอกาสครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น เพิ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งบีโอไอพร้อมที่จะให้การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในไทย และมั่นใจว่า |
. |
ในอนาคตอันใกล้นี้ ญี่ปุ่นจะขยายการลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น โดยบีโอไอมีเป้าหมายที่จะให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และกลุ่มที่ยังไม่มีการลงทุนในประเทศไทย อาทิ การผลิตเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง เกียร์รถยนต์ การขยายฐานการวิจัยและพัฒนา ศูนย์การออกแบบของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ |
. |
ในไทย รวมทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ เช่น ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ภายในรถยนต์ (ECU) นอกจากนี้ ยังต้องการให้มีการลงทุนในการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย" นายสาธิตกล่าว |
. |
การเดินทางไปชักจูงการลงทุน ณ กรุงโตเกียว จะมีการจัดสัมมนาใหญ่ เรื่อง หุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรม ญี่ปุ่น-ไทย ในทศวรรษหน้า” (Japan-Thailand Industrial Partnership in the next Decade) โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะกล่าวปาฐกถาเปิดงาน ร่วมกับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry) |
. |
และมีการเสวนาเชิงอภิปราย โดย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการบีโอไอ พร้อมด้วยประธานหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Japanese Chamber of Commerce, |
. |
นอกจากนี้ คณะชักจูงการลงทุน จะได้พบปะหารือกับบริษัทชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น เพื่อพูดคุยถึงโอกาสและลู่ทางการลงทุนในประเทศไทย ตลอดจนความพร้อมและการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยด้วย |
. |
ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในไทยมากที่สุด หรือประมาณร้อยละ 45 ของการลงทุนจากต่างประเทศ โดยโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ปี 2513 จนถึงปี 2549 มีจำนวนกว่า 4,000 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.4 ล้านล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานคนไทยประมาณ 846,000 คน โดยอุตสาหกรรมที่นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตเครื่องจักร และโลหะ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป |