เนื้อหาวันที่ : 2018-03-22 09:12:31 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1682 views

ArchiCAD Thai BIM ซอฟต์แวร์ที่จะพลิกโฉม ผู้รับเหมาไทย เพิ่มกำไรเป็นกอบกำ ในยุค 4.0

บริษัท แอพพลิแคด จำกัด ร่วมกับ Graphisoft ผู้นำทางด้านเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) และพัฒนาซอฟต์แวร์ออกแบบสถาปัตยกรรม 3D เปิดตัว ArchiCAD Thai BIM ซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุดสำหรับผู้รับเหมาไทยโดยเฉพาะ  เพื่อพลิกโฉมผู้รับเหมาไทยให้ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ในงาน AchiCAD Thai BIM for Contractor ณ ไบเทค บางนา เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีผู้ที่อยู่ในแวดวงก่อสร้าง และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ภายในงาน AchiCAD Thai BIM for Contractor มีการบรรยาย และพูดคุยในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย อัพเดทเทรนด์ธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง เทคโนโลยีที่จะเข้ามาพลิกวงการผู้รับเหมาไทย

เปิดงานโดย คุณประภาส ตั้งอดุลย์รัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอพพลิแคด จำกัด ซึ่งได้กล่าวถึง ที่มาที่ไปของเทคโนโลยีที่จะพลิกวงการผู้รับเหมาไทย ลดต้นทุน พร้อมทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ในหัวข้อ Thai BIM Introduction for Contractor ด้วยเทคโนโลยี BIM หรือ Building Information Modeling ซึ่งเป็นการนำ 3D Model + Information เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานที่ช้า และมีความผิดพลาดมากมายให้กับผู้รับเหมา โดยที่ซอฟต์แวร์อย่าง ArchiCAD BIM  จะช่วยให้ผู้รับเหมาขึ้นโมเดล 3 มิติในคอมพิวเตอร์จาก PDF หรือพิมพ์เขียวที่ได้มาได้อย่างง่ายดาย และทำการประเมินมูลค่างาน เพื่อทำใบเสนอราคาด้วยความถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็ว จากนั้น Model 3 มิติ ที่ทำไว้ ก็ยังสามารถทำแบบละเอียด หรือ Shop Drawing ได้ทันทีแบบอัตโนมัติ งานฐานราก งานดิน งานระบบ งานเหล็ก ก็สามารถดีไซน์เป็น 3 มิติ เคลียร์แบบได้ตั้งแต่ต้นจากบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเทคโนโลยีแบบเก่า การเขียนแบบ 2 มิติ มีความยุ่งยากและความผิดพลาดสูง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระในการแก้ไขหน้างานทำให้การทำงานล่าช้า และยังเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุ การทำงานในระบบ 3 มิติ ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจน ช่างหน้างานหรือโฟร์แมน หรือแม้กระทั่งเจ้าของงานก็สามารถทำความเข้าใจในสิ่งที่กำลังจะทำอยู่ได้ตรงกัน ข้อสำคัญที่สุดของระบบ BIM นี้คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบหรือปรับเปลี่ยนไม่ว่าจากเจ้าของ สถาปนิก หรือผู้รับเหมาช่วง เราจะทำการแก้ไขเพียงครั้งเดียวบนโมเดล 3 มิติ หรือที่เราเรียกว่า BIM Model แล้วทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะ Material Take Off (MTO) คือ รายการแสดงจำนวนอุปกรณ์ชนิดต่างๆ ที่ใช้ใน Drawing นั้น แบบละเอียด แบบสถาปัตย์ แบบโครงสร้าง และแบบงานระบบจะถูกแก้ไขโดยอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ลดข้อผิดพลาด และทำงานได้รวดเร็วเป็นอย่างมาก

จากนั้นเป็นช่วงสาธิต ArchiCAD Thai BIM Demo โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคซอฟต์แวร์ ArchiCAD BIM บรรยายพร้อมสาธิตการใช้งานจริงซอฟต์แวร์ ArchiCAD Thai BIM ในการถอดปริมาณงานแบบ พร้อมต้นทุนอ้างอิงราคากลางอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการใส่เหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างมืออาชีพ ด้วยคำสั่งที่สร้างจาก เสา คาน พื้น และตอหม้อ โดยอ้างอิงมาตรฐานจาก มยผ.(มาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง) ตลอดจนการเสริมเหล็กคานตามหลักวิศวกรรม ซึ่งสามารถเสริมตามโมเมนต์บวก ตรงกลางของคาน และโมเมนต์ลบตรงบริเวณเสาได้ ทั้งนี้ยังประมาณราคาได้อย่างแม่นยำโดยอ้างอิงจากกรมบัญชีกลาง ที่พิเศษสุดคือมี GDL Objects อุปกรณ์ประตู หน้าต่าง ที่เป็นแบบไทยๆ กว่า 300 แบบ ให้สามารถเลือกใช้ได้อีกด้วย

ด้าน คุณสมศักดิ์ วรรักษา ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ A/E/C บริษัท แอพพลิแคด จำกัด กล่าวในหัวข้อ “Construction Simulation & Management” วางแผนดี มีชัยไปกว่าครึ่ง พบเครื่องมือวางแผนพร้อมการบริหารโครงการแบบ 4 มิติ เพราะการที่จะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในแต่ละโครงการได้นั้น นอกจากจะมีเรื่องของงบประมาณ สถานที่ กำลังคน ระบบสาธารณูปโภคที่ใช้ในการก่อสร้างแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ เรื่องของแบบก่อสร้าง และแผนงานก่อสร้าง ซึ่งในอดีตแบบก่อสร้างส่วนใหญ่เป็น 2 มิติ จนปัจจุบันมาเป็นการออกแบบที่ใช้ระบบ 3 มิติ ตลอดจนมีการพัฒนามาเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า “BIM” (Building Information Modeling) ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า “BIM” แต่การก่อสร้างยังคงแยกเรื่องของ BIM ออกจากการบริหารงานก่อสร้าง ทำให้การบริหารงานก่อสร้างยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆ คนที่จะทำความเข้าใจ เพราะจะต้องไปจินตนาการว่า งานไหนที่ต้องเร่งทำก่อนงานอื่นบ้าง หรือแต่ละวันจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยาก และยังไม่รวมไปถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่มีสาเหตุจากการเข้าใจแผนงานที่ไม่ตรงกัน หรือการจัดลำดับงานผิด เนื่องจากมองภาพรวมของงานก่อสร้างไม่ครบถ้วน หรือเกิดจากความเข้าใจแบบก่อสร้างที่ไม่ตรงกัน สำหรับปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการนำกระบวนการที่เรียกว่า  “4D Construction”  ซึ่งเป็น กระบวนการทำงานที่มีการนำโมเดล 3 มิติ จาก BIM เข้ามา Link กับแผนงาน เพื่อที่จะแสดงแผนงานก่อสร้างออกมาในรูปแบบของโมเดล 3 มิติ ตลอดจนแสดงผลออกมาเป็นวิดีโอจำลองกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายที่ทำงานร่วมกันมีความเข้าใจแผนงานได้ชัดเจน และตรงกันมากกว่าที่จะต้องไปจินตนาการลำดับของแผนงานเอาเอง

ช่วงต่อมาเป็น การแชร์ประสบการณ์การใช้ BIM ประมาณราคา เพื่อการประมูลงาน จากผู้ใช้จริง โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการก่อสร้าง 2 ท่าน เริ่มจาก ดร.นิพนธ์ วงศ์จินดา Senior Deputy Managing Director บริษัท สยาม มัลติ คอน จำกัด หรือ SMC บริษัทมืออาชีพทางด้านวิศวกรรม ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง อาคารสูงและห้างสรรพสินค้า  ได้กล่าวว่า ส่วนงานที่ดูแลมีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนการประมูลงาน (Bidding) และส่วนการควบคุมงบประมาณ (Cost Control) ปัญหาที่มักเจอคือ ใช้เวลาในการประมาณราคา (Cost Estimate) ค่อนข้างนาน และยังไม่สามารถควบคุมเรื่องความถูกต้องแม่นยำของปริมาณที่ได้รับมาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงานของ Cost Engineer ภายในบริษัทเอง หรือแม้กระทั้งจากฝ่ายสำรวจปริมาณ (Q.S. : Quantity Survey) ที่เป็น Outsource ก็ตาม แต่พอเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ ArchiCAD ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน จากการประมาณราคาและปริมาณ โดยใช้    “คน” เสียเวลาประมาณ 20 วัน และยังมีโอกาสผิดพลาดค่อนข้างสูง แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำงานด้วย “ArchiCAD” ใช้เวลาเพียงแค่ประมาณ 7 วัน เท่านั้น ทำให้มีเวลาในการกรอกทำราคาได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า ArchiCAD เข้ามาแก้ปัญหาในการทำ Q.S. ได้อย่างมาก ทำงานที่มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดข้อผิดพลาด ทำให้ได้ปริมาณที่ถูกต้องแม่นยำ ทั้งนี้ยังสามารถช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ได้มากอีกด้วย

ช่วงสุดท้าย คุณชนินทร์ อัยรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีซีเอส แอสโซซิเอทส์ จำกัด บริษัทออกแบบ และให้คำปรึกษาทางด้านวิศวกรรม ได้มาบอกเล่าถึงประสบการณ์ และประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ ArchiCAD ไม่ว่าจะเป็น การได้ราคาค่าก่อสร้างที่ถูกต้องตามความเป็นจริงจากแบบจำลอง โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลเป็นผู้ถอดแบบซึ่งมีความคลาดเคลื่อนสูง มีความเสี่ยง ไม่แน่นอน ด้านการทำงาน ArchiCAD สามารถจัดการงานลดเพิ่มได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุด ช่วยลดเวลาในการทำงาน ส่งงานทันตามเวลากำหนด ทำให้เพิ่มโอกาสที่จะได้งานเพิ่มขึ้น ตลอดจนการประสานงานกับผู้รับเหมาย่อยและการวางแผนงาน เมื่อมี BIM Model แล้ว เราสามารถบริหารจัดการรายละเอียดต่างๆ ล่วงหน้าได้ และยังสามารถส่งให้ผู้รับเหมาย่อยดูรายละเอียดแบบ 3 มิติ ทำให้เห็นแบบสมจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งหมดนี้จึงทำให้สามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากหน้างานได้ด้วย ทำให้เห็นรูปแบบอาคาร รายละเอียดต่างๆ ก่อนก่อสร้างจริง ตลอดจนคาดถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า และสามารถวางแผนแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งถือได้ว่า ArchiCAD เป็นเครื่องมือเจาะเวลาไปสู่อนาคต

 

งานนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมงานคับคั่งจากหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง, เจ้าของโครง, ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และสถาปนิก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจก่อสร้างที่ต้องการยกระดับการทำงานของทั้ง 3  สิ่งนี้ ซึ่งมีอยู่ใน ArchiCAD Thai BIM ไม่ว่าจะเป็น

  1. การประเมินราคาค่าก่อสร้าง และวัสดุ
  2. การเคลียร์แบบระหว่าง แบบงานโครงสร้าง งานระบบ และงานสถาปัตย์
  3. การทำ Shop Drawing หรือ Detail Drawing

ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองสิ่งที่ผู้รับเหมาต้องการร่วมกัน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ลดต้นทุน และเพิ่มกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ตลอดจนยังเป็นการเตรียมพร้อม ปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งผู้ประกอบก่อสร้างไทยต้องมีการปรับตัว ไม่ต่างไปจากภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเติบโตก้าวไกลได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ซึ่งสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่จะมาพลิกวงการผู้รับเหมาไทยได้ง่ายๆ แบบมีลิขสิทธิ์ซื้อขาด ไม่ต้องเช่าใช้ เพียง!!! 89,000 บาท

ขอใบเสนอราคา : https://www.applicadthai.com/archicad-thai-bim/quotation/?ref=PR_Content