เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกล โดยมีการแบ่งขั้ววิสัยทัศน์สอดคล้องตาม ผลการวิจัยทั่วโลกจากเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่ว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำองค์กรธุรกิจจำนวน 3,800 รายทั่วโลกจากภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการสำรวจต่างคาดการณ์ว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยให้มีเวลาว่างมากขึ้น ในขณะที่อีก 42 เปอร์เซ็นต์มีความเชื่อที่แตกต่างไป เช่นเดียวกับที่ 48 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าตนน่าจะรู้สึกพึงพอใจกับงานมากขึ้นในอนาคตจากการที่เครื่องจักรกลเข้ามาช่วยลดภาระงาน ในขณะที่อีก 52 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ บรรดาผู้นำในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นต่างคาดการณ์กันมากยิ่งขึ้นว่าเรื่องนี้จะสร้างผลกระทบทั้งในประเด็นของการทำงานและในมุมธุรกิจเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นในทั่วโลกที่มีลักษณะคล้ายกัน นอกจากนี้ผลวิจัยยังบอกเป็นนัยว่าองค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีการเตรียมพร้อมน้อยกว่าและมีความกังวลมากกว่าในเรื่องที่ว่าจะแข่งขันได้อย่างไร
การวิจัยเชิงปริมาณจัดทำขึ้นโดย Vanson Bourne โดยเป็นการตามรอยจากการศึกษาของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ในหัวข้อ “Realizing 2030 : The Next Era of Human-Machine Partnerships” การตระหนักถึงปี 2030 ยุคถัดไปของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นการศึกษาที่คาดการณ์ว่าในปี 2030 เทคโนโลยีเกิดใหม่จะผลักดันความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกลให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ร่วมมือกันอย่างลึกซึ้งมากกว่าที่เคยมีมา ซึ่งช่วยให้เราก้าวข้ามขีดจำกัดต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ บรรดาผู้นำธุรกิจในภูมิภาคต่างเห็นร่วมในเรื่องนี้ ทั้งนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจคาดหวังว่าทั้งมนุษย์และเครื่องจักรกลจะทำงานร่วมกันในองค์กรเหมือนเป็นทีมเดียวกันภายในระยะเวลา 5 ปี
แต่ผู้นำเหล่านี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันถึงเรื่องที่ว่าอนาคตจะนำโอกาสหรือภัยคุกคามมาให้กันแน่ และมีความเห็นแตกแยกในเรื่องของความจำเป็นในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น
o 52 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่ายิ่งเราพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเท่าไร เราก็จะยิ่งสูญเสียมากขึ้นเท่านั้นเวลาที่เกิดเหตุโจมตีบนไซเบอร์ ในขณะที่อีก 48 เปอร์เซ็นต์ไม่รู้สึกกังวลเรื่องนี้
o 53 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจกำลังเรียกร้องข้อตกลงเกี่ยวกับการสื่อสารที่ชัดเจนในกรณีที่เครื่องจักรกลที่ทำงานได้ด้วยตัวเองเกิดล้มเหลว ในขณะที่เกือบครึ่งไม่ออกเสียงในเรื่องนี้
o 49 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องทำการแปลรหัสเพื่อแยกแยะระหว่างคำสั่งที่ดีและคำสั่งที่ไม่ดี ซึ่ง 51 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นความจำเป็นเรื่องดังกล่าว
เจเรมี เบอร์ตัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า “คุณจะเข้าใจว่าทำไมชุมชนธุรกิจถึงแบ่งขั้วกันขนาดนั้น มุมมองเกี่ยวกับอนาคตดูเหมือนจะแตกไปคนละทาง ทั้งความวิตกกังวลจากความล้าหลังของมนุษย์ หรือการมองบวกว่าเทคโนโลยีจะช่วยแก้ปัญหาสังคมที่ใหญ่ที่สุดได้ มุมมองที่แตกต่างเหล่านี้อาจทำให้องค์กรเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้ยาก อาจเป็นอุปสรรคกีดความความมุ่งมั่นของผู้นำในการผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น”
เดวิด เว็บสเตอร์ ประธาน APJ Enterprise เดลล์ อีเอ็มซี ให้ความเห็นว่า “การตระหนักถึงความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกลจะนำโอกาสในอนาคตมาให้กับผู้คนได้มากพอกับเรื่องของเทคโนโลยี แม้ว่าหลายองค์กรทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นกำลังปฏิรูประบบไอทีเพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมในอนาคต สร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ผู้นำธุรกิจก็จะต้องรับมือกับอุปสรรคในเรื่องของวัฒนธรรมเช่นกัน องค์กรจะต้องสร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมในการประสานความร่วมมือ น้อมรับการเปลี่ยนแปลง ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมให้ดีที่สุดและบรรลุผลสำเร็จ”
อมิต มิธา ประธาน APJ Commercial เดลล์ อีเอ็มซี กล่าวเสริม “เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นเป็นจุดศูนย์กลางของนวัตกรรมด้าน AI และ IoT ผลจากเรื่องนี้ก็คือความคาดหวังที่ว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่จะนำผลกระทบเชิงบวกมาให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาค แม้ว่าบรรดาผู้นำในภูมิภาคต่างรับรู้กันดีถึงความไม่พร้อม แต่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ก้าวข้ามความท้าทายในการปฏิรูปที่รออยู่ข้างหน้าได้ โดยความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรกลจะเข้ามาปฏิวัติวิถีการดำเนินชีวิต การทำงาน และกิจกรรมส่วนตัวในสังคมเมือง”
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ดูจะเป็นเรื่องจริงจัง เพราะถูกขับเคลื่อนด้วยปริมาณข้อมูลและแอปพลิเคชันที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล รวมถึงพลังประมวลผลและความสามารถในการเชื่อมต่อที่ควบคุมทั้งหมด ทั้งนี้ 61 เปอร์เซ็นต์มองว่าบรรดาโรงเรียนควรจะสอนวิธีการเรียนรู้มากกว่าเน้นเรื่องที่จะสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนสำหรับงานที่อาจจะยังไม่มีตำแหน่งเกิดขึ้นจริง ความคิดเรื่องนี้นับเป็นการยืนยันถึงการคาดการณ์ของ IFTF ที่ว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 ยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้
อุปสรรคที่อยู่รายล้อม
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือธุรกิจมากมายยังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ไม่เร็วพอ และลงลึกไม่มากพอที่จะก้าวข้ามอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเป็นธุรกิจดิจิทัล มีเพียง 24 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจที่เชื่อว่ากำลังไปได้ดี พร้อมกับใส่ดิจิทัลไว้ในทุกสิ่งที่ทำ อีก 44 เปอร์เซ็นต์ไม่รู้ว่าจะยังสามารถแข่งขันต่อในทศวรรษถัดไปได้หรือไม่ องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ (63 เปอร์เซ็นต์) กำลังพยายามอย่างมากที่จะก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางต่อการเปลี่ยนองค์กรในภูมิภาคเป็นธุรกิจดิจิทัลได้สำเร็จภายในปี 2030 และต่อ ๆ ไป ได้แก่
1. การขาดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านดิจิทัล 66 เปอร์เซ็นต์
2. การขาดความพร้อมเรื่องคนทำงาน 63 เปอร์เซ็นต์
3. ข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยี 50 เปอร์เซ็นต์
4. ข้อจำกัดเรื่องเงินและเวลา 37 เปอร์เซ็นต์
5. กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ 20 เปอร์เซ็นต์
จุดร่วมคือต้องการปฏิรูปเหมือนกัน
ผู้นำอาจมีมุมมองต่างขั้วเกี่ยวกับอนาคตและต้องเผชิญกับอุปสรรคที่กีดขวางการเปลี่ยนแปลงต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือต่างต้องการปฏิรูป ในความเป็นจริงองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อว่ากำลังไปได้ดีในการดำเนินการปฏิรูปให้ได้ภายใน 5 ปีแม้ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่ก็ตาม สิ่งที่น่าจะช่วยให้ปฏิรูปได้สำเร็จภายใน 5 ปีก็คือ
“เรากำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ แม้ว่าผู้นำธุรกิจจะมีความคิดที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับมุมมองของอนาคต แต่บรรดาผู้นำเหล่านี้ต่างมีจุดร่วมเหมือนกัน นั่นคือ ความต้องการที่จะปฏิรูป จากบทสนทนามากมายที่เราได้พูดคุยกับลูกค้า เชื่อว่าเรากำลังก้าวสู่บทบาทที่สำคัญได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถยึดช่วงเวลาที่สำคัญนี้ไว้ให้มั่น ปฏิรูประบบไอที รวมถึงคนทำงานและระบบรักษาความปลอดภัย พร้อมโลดแล่นไปสู่บทบาทที่กำหนดอนาคตได้ หรือไม่ก็ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง” เบอร์ตันกล่าวเสริม