เนื้อหาวันที่ : 2018-01-23 11:45:40 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1388 views

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย นำเข้าปั้นจั่นยกขนตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมให้บริการที่ท่าเรือแหลมฉบัง รองรับการเติบโตของอีอีซี

มร.สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ (ขวา) กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อม ร้อยตำรวจเอก ธนาบดี ธูปเทียนรัตน์ (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ท่าเรือแหลมฉบัง ร่วมให้เกียรติในการรับมอบปั้นจั่นยกตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 3 คัน พร้อมกับปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวน 8 คัน ที่ท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชุด D ที่สอดคล้องกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย นำเข้าปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (Super Post-Panamax Quay Crane) จำนวน 3 คัน พร้อมให้บริการที่ท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง มาพร้อมกับปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (Remote Control Electric Rubber Tyred Gantry Crane หรือ RCeRTGC) อีกจำนวน 8 คัน โดยเครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ ติดตั้งระบบควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล ทำให้ท่าเทียบเรือชุด D ของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกของประเทศไทยที่มีเครื่องมือยกขนตู้สินค้าด้วยระบบควบคุมระยะไกลเครื่องมือทั้งสองชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกหรืออีอีซี เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้ขยายขีดความสามารถในการให้บริการยกขนตู้สินค้า โดยการพัฒนาท่าเทียบเรือชุด D ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมกับนำเข้าปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 3 คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (Remote Control Electric Rubber Tyred Gantry Crane หรือ RCeRTGC) จำนวน 8 คัน จากบริษัท ZPMC หรือ Shanghai Zhenhua Heavy Industry Co., Ltd. เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ ติดตั้งระบบควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control) ที่ล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยให้ท่าเทียบเรือชุด D ปฏิบัติงานได้ด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรองรับเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการได้ดีขึ้นกว่าเดิม

ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าขนาดใหญ่ ทั้ง 3 คัน สามารถปฏิบัติงานยกขนตู้สินค้าให้กับเรือบรรทุกตู้สินค้าบนระวางได้กว้างถึง 24 แถว ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้บริการในปัจจุบัน เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ ควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control) ทำให้ท่าเทียบเรือชุด D เป็นท่าเทียบเรือแห่งแรกของโลกที่ติดตั้งเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้การบริการของท่าเรือรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

เมื่อการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด D เสร็จสมบูรณ์ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้ขนส่งสินค้าได้อีก 3.5 ล้าน ทีอียู ส่งผลให้ท่าเรือทั้งหมดของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย สามารถรองรับตู้สินค้าได้มากกว่า 6 ล้านทีอียู และเป็นผู้ให้บริการท่าเทียบเรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้เครื่องมือใหม่ทั้งหมดที่นำมาติดตั้งนี้จะช่วยรองรับการเจริญเติบโตของปริมาณตู้สินค้าของประเทศไทยและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกหรืออีอีซี สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0