เนื้อหาวันที่ : 2017-12-25 17:39:50 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1917 views

เอ็นฟอร์ซ เผยทิศทางธุรกิจปี 2561 ตั้งเป้ารายได้โต 15 เปอร์เซ็นต์ มุ่งขยายตลาด พร้อมเพิ่มช่องทางซัพพอร์ทลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง

เอ็นฟอร์ซ  ซีเคียว เผยทิศทางธุรกิจปี 2561 ยังคงมุ่งขยายตลาดให้ครอบคลุมฐานลูกค้าทุกภาคส่วน โดยปีนี้ตั้งเป้าโต 15% พร้อมเพิ่มช่องทางซัพพอร์ทให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า 24 ชั่วโมง ตอบรับแนวโน้มภัยคุกคามที่เติบโตสูง

นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท  เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจรในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมานั้น บริษัทฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีอัตราการเติบโต 12 เปอร์เซ็นต์  เนื่องจากปัจจุบัน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นมีจำนวนมาก และซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงได้มากกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นหลายองค์กรจึงต้องมุ่งเน้นสร้างระบบความปลอดภัยด้านไอที ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และครอบคลุมทุกจุด ซึ่งในปีนี้ทางบริษัทฯ ได้มีมีการเสริมทัพโดยได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ชั้นนำน้องใหม่ถึง 3 ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนทีมงานของบริษัทฯที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค และได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองในระดับเอเชีย-แปซิฟิก จนได้รับความไว้วางใจจากพาร์ทเนอร์และลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ  

สำหรับนโยบาย และกลยุทธ์การทำตลาดในปี 2561  บริษัทฯ ได้วางแผนขยายตลาดและเพิ่มช่องทางการซัพพอร์ทผ่านออนไลน์ และโซเชียล มีเดีย ด้วยทีมซัพพอร์ทที่มีความเชียวชาญ และสามารถเข้าช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยบริษัทฯ ได้ตั้งเป้าการเติบโตในปี 2561ที่ 15%

“โดยในปีนี้ มีการเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์ที่เป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่มีผู้ใช้ทั่วโลกถึง 3 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์แรกคือ AIC ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ด้าน Next Gen Data Center  ที่มีความชำนาญในการทำ Hyper Converged, Storage และ Smart Rack ผลิตภัณฑ์ที่ 2 คือ Ruijie ที่มีเทคโนโลยี เอ็กซ์- เซนส์  (X-Sense) ที่ได้ทำการคิดค้น และออกแบบ โซลูชั่นสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของแต่ละองค์กร โดยได้รับการรับรองจากบริษัทชั้นนำ* ว่าสามารถช่วยให้อุปกรณ์ รองรับปริมาณข้อมูล (Throughput) ได้สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการทดสอบมา และผลิตภัณฑ์ที่ 3 คือ Colasoft ผลิตภัณฑ์ชั้นนำด้านการจัดการประสิทธิภาพและวิเคราะห์การทำงานของระบบเน็ทเวิร์ค (Network Performance Analysis & Management) นอกจากทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์น้องใหม่แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ชั้นนำอย่าง Fireglass ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน Threat Isolation เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอย่างมาก โดย Fireglass ปัจจุบันถูก Symantec ซื้อกิจการมา”

สำหรับแนวโน้มไอที ซีเคียวริตี้ที่มาแรงในปี 2561  นั้น บริษัทฯ มองว่า ระบบด้านการรักษาความปลอดภัยจะเน้นเป็นเชิงรุกมากขึ้น คือ การตรวจจับ หรือ Detection มากกว่าการตั้งรับป้องกันเพียงอย่างเดียว โดยจะเน้นการตรวจจับแบบเรียลไทม์ และการสร้างปลอดภัยให้ระบบคลาวด์ที่กำลังเติบโต ที่หลายองค์กรต่างย้ายไปสู่ PaaS/SaaS แพลทฟอร์ม ดังนั้นระบบความปลอดภัยบนคลาวด์จึงถูกโฟกัสและความความสำคัญมากขึ้น และจากปีที่แล้วที่หลายองค์กรต่างพยายามพัฒนาหรือการนำ DevOps เพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในปีหน้านี้องค์กรจะมุ่งเน้นสร้างความปลอดภัยให้ระบบ DevOps เรียกว่า DevSecOps ที่จะคอยตรวจสอบ Code ต่างๆเพื่อความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น

ส่วนในด้านผลิตภัณฑ์ไอที ซีเคียวริตี้ ที่น่าจับตามอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เทรนด์ไอทีที่เกิดขึ้น อย่างการรักษาความปลอดภัยในศูนย์ข้อมูล หรือดาต้า เซ็นเตอร์  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านทราฟิกวิซิบิลิตี้ (Traffic visibility) ในการนำข้อมูลในดาต้า เซ็นเตอร์มาใช้วิเคราะห์และวัดประสิทธิภาพการทำงานของระบบ  ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ดาต้า เซ็นเตอร์  หรือองค์กรธุรกิจที่มีการใช้งานและ/หรือการให้บริการระบบคลาวด์ ทั้งคลาวด์ส่วนตัว และคลาวด์สาธารณะ ที่ต่างก็มียอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันมัลแวร์ซึ่งหลายคนอาจรู้จักมาบ้างแล้วอย่าง เทรด ไอโซเลชั่น (Threat Isolation) ที่ช่วยแยกแยะมัลแวร์ออกจากไฟล์ต่างๆทั้งไฟล์ภาพหรือวิดีโอและไฟล์เอกสารได้อย่างเด็ดขาด ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานไฟล์เหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย เทรด ไอโซเลชั่น (Threat Isolation) ถือว่าน่าจับตามองที่สุดเพราะมีการเติบโตทุกปี โดยจะเติบโต 50% ของทุกปีหรือสองเท่าตัวนับจากปี 2017 นี้ โดยเป็น 1 ใน 10 เทคโนโลยีสำคัญที่สุดตามที่ Gartner ได้จัดอันดับไว้ และคาดว่าภายในปี 2021 บริษัทหรือองค์กรประมาณ 50% จะต้องใช้เทคโนโลยีนี้

นอกจากนี้นายนักรบยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อปีที่แล้วนโยบาย 4.0 กระตุ้นทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อน  จนเป็นระบบดิจิตอล แต่การใช้เทคโนโลยียิ่งมากเท่าไหร่ ต้องเสริมระบบความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องวางแผนระบบความปลอดภัยทางด้านไอทีที่รัดกุม ครอบคลุม ทั้งการป้องกันและการตรวจจับ เพื่อตั้งรับทั้งเชิงรุกและเชิงรับกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนและยากตรวจจับมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้การดำเนินงานหรือธุรกิจในยุค 4.0 เป็นไปอย่างราบลื่น”