สมาคมเครื่องหนังไทยปฏิวัติงานสัปดาห์เครื่องหนัง ปีนี้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม จับมือสมาคมรองเท้าไทย เปลี่ยนชื่อเป็น "สัปดาห์เครื่องหนังและรองเท้าไทย 2550" ระดมผู้ประกอบการทั้งสินค้าเครื่องหนังและรองเท้าเปิดตัวคอลเล็คชันใหม่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการไทย สร้างแบรนด์ใหม่ ๆ ในตลาด
|
. |
สมาคมเครื่องหนังไทยปฏิวัติงานสัปดาห์เครื่องหนัง ปีนี้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม จับมือสมาคมรองเท้าไทย เปลี่ยนชื่อเป็น "สัปดาห์เครื่องหนังและรองเท้าไทย 2550" ระดมผู้ประกอบการทั้งสินค้าเครื่องหนังและรองเท้าเปิดตัวคอลเล็คชันใหม่ ขนสินค้าราคาพิเศษลดราคาสูงสุดถึง 80 เปอร์เซ็นต์ พร้อมเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการตลาดกระตุ้นยอดขาย งานจัดระหว่างวันที่ 2-11 พฤศจิกายน 2550 ณ อาคารแสดงสินค้า กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก |
. |
นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย เลขาธิการ สมาคมเครื่องหนังไทย เปิดเผยว่า ทุกปีสมาคมเครื่องหนังไทยจะมีการจัดงานใหญ่ประจำปี คือ งาน “สัปดาห์เครื่องหนังไทย” ซึ่งเป็นงานที่สมาชิกสมาคมและผู้ประกอบการสินค้าเครื่องหนังร่วมใจกันนำสินค้ามาจัดจำหน่ายและลดราคาอย่างคึกคักที่กรมส่งเสริมการส่งออกในช่วงปลายปี โดยสมาคมฯ จัดติดต่อกันมาเกือบทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนกลายเป็นงานสำคัญประจำปี ที่คนรักเครื่องหนังรอคอย |
. |
งานสัปดาห์เครื่องหนังไทยนอกจากจะเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการได้แสดงสินค้า กระตุ้นยอดขายปลายปี ยังเป็นงานที่ทำให้ผู้ประกอบการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้าตรง (End consumer) เพราะสัปดาห์เครื่องหนังไทยเป็นงานที่เน้นจำหน่ายปลีก (Retail) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเก็บข้อมูลไปพัฒนาสินค้าและวางแผนการตลาด |
. |
ในงานสัปดาห์เครื่องหนังไทย 2549 สมาคมเครื่องหนังมีการทำแบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการวางแผนการสื่อสารและการจัดกิจกรรมในปีต่อๆ ไป จากแบบสอบถามจำนวน 18,642 ใบ พบว่าผู้มาเดินงานสัปดาห์เครื่องหนังไทย 76.48 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้หญิง 50 เปอร์เซ็นต์ อายุ 41-60 ปี รองรองมา 30 เปอร์เซ็นต์ อายุ 20-40 ปี 60.05 เปอร์เซ็นต์ อาศัยอยู่บริเวณจัดงาน 11.89 เปอร์เซ็นต์ อยู่ใกล้ที่ทำงาน และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำ โดยมีผู้ที่เคยมางานสัปดาห์เครื่องหนังมากกว่า 1 ปี ถึง 71.42 เปอร์เซ็นต์ โดยสาเหตุที่ลูกค้ามางานสัปดาห์เครื่องหนังไทย 90 เปอร์เซ็นต์ เพราะสินค้าคุณภาพดี ราคาถูก และชอบใช้สินค้าเครื่องหนังอยู่แล้ว |
. |
ส่วนข้อเสนอแนะอื่น ๆ ได้แก่ ควรจัดงานสัปดาห์เครื่องหนังมากกว่าปีละ 1 ครั้ง เพราะทำให้เครื่องหนังที่ผลิตในประเทศไทยได้โชว์สินค้าให้ลูกค้าได้เห็นมากขึ้น ในด้านความหลากหลายของสินค้า อยากให้มีสินค้าประเภทรองเท้ามากกว่านี้ ควรเพิ่มสัดส่วนสินค้าใหม่มากกว่านี้ และมีโปรโมชันแนะนำสินค้า |
. |
จากผลการสำรวจทำให้เราทราบว่าคนที่มาชมงานส่วนใหญ่ยังเป็นคนในพื้นที่ ทั้งๆ ที่ย่านรัชดาภิเษกมีอาคารสำนักงานและสถานศึกษาหลายแห่ง ดังนั้นในปีนี้ทางสมาคมฯ จึงเพิ่มกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบ Below the line จัดโรดโชว์เชิญชวนร่วมงานตามอาคารสำนักงาน สถานศึกษา และศูนย์การค้าตลอดแนวถนนรัชดาจนถึงรัชโยธิน และเพิ่มสื่อโฆษณาวงกว้างทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้า |
. |
. |
อีกกลยุทธ์ที่เราเลือกใช้ในปีนี้ คือการเพิ่มความน่าสนใจของสินค้า โดยดึงแบรนด์เครื่องหนังชั้นนำมาเปิดบูธและเปิดตัวคอลเล็คชั่นใหม่ในงาน พร้อมกับจัดโปรโมชั่นพิเศษ เช่น แบรนด์อัลเบโด้ (Albedo) นำกระเป๋ารุ่นหใหม่ล่าสุด รุ่นพาสเซจ (Passage) ซึ่งกันน้ำมันและน้ำมาแสดง และลดราคาสินค้าภายในบูธถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แบรนด์ไมเคิลแองเจโล (Michel Angelo) เตรียมโชว์คอลเล็คชั่นการ์เด้น ออฟ อีเดน (Garden of Eden) เนรมิตกระเป๋าหนังให้เป็นสวนสวรรค์ |
. |
โดยใช้เทคนิคหนังตัด ย้อมสีตกแต่ง และมีโปรโมชันพิเศษสำหรับกระเป๋าลิมิเตดอิดิชั่น หนังจระเข้ฉาบทอง รุ่น BLM 0561 ซึ่งผลิตเพียง 150 ใบ จำหน่ายทั่วโลก นำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์เครื่องหนังและรองเท้าไทย 2007 ด้วย โดยผู้ซื้อ 5 ใบแรกภายในงาน จะได้ส่วนลด 50 เปอร์เซ็นต์ทันที จากราคาเต็ม 12,400 บาท ด้านแบรนด์กระเป๋าหนังจระเข้แท้คาริสซา (Karissa) เปิดตัวคอลเล็คชั่นผู้ชาย เมโทร (Metro) ทำจากหนังจระเข้เกรดเอ ราคาสูงสุดถึง 150,000 บาท และคอลเล็คชั่นผู้หญิง 3 รุ่น คือ นิวยอร์ก ลอนดอน และ ซานฟรานซิสโก พร้อมโปรโมชั่นแถมของสมนาคุณพิเศษ สำหรับผู้ซื้อสินค้าครบ 10,000 บาท เป็นต้น” นางเนาวรัตน์กล่าว |
. |
นอกจากนี้ ในปีนี้สมาคมเครื่องหนังไทยยังได้เลือกจับมือกับนายกสมาคมรองเท้าไทย ซึ่งมีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรม เพื่อดึง แบรนด์รองเท้าไทยมาร่วมออกร้าน เพื่อสร้างความหลากหลายของสินค้า และเปลี่ยนชื่อจากสัปดาห์เครื่องหนังไทย เป็น “สัปดาห์เครื่องหนังและรองเท้าไทย 2550” นางเนาวรัตน์กล่าวเพิ่มเติม |
. |
นายบุญเลิศ เป้าวิสุทธิ์ อุปนายกฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมรองเท้าไทย กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า สมาคมรองเท้าไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาคมเครื่องหนังไทยมาอย่างยาวนาน โดยทั้งสมาคมเครื่องหนังไทยและสมาคมรองเท้าไทยได้ร่วมมือกันขอความร่วมมือจากภาครัฐ ในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการไทย ในด้านการฝึกสอน อบรม การตลาด แก่ผู้ประกอบการ โดยสมาคมเครื่องหนังไทยจะดูแลผู้ประกอบการกระเป๋า และสมาคมรองเท้าไทย ดูแลผู้ประกอบการรองเท้า นอกจากนี้ยังมีการร่วมประชุมหารือกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง |
.. |
"ที่ผ่านมาสมาคมรองเท้าไทยเคยออกงานร่วมกับสมาคมเครื่องหนังไทยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแต่ละครั้งก็ได้รับการตอบรับที่ดี เพราะทำให้งานแสดงสินค้านั้นมีสินค้าครบทุกประเภท ในครั้งนี้เมื่อสมาคมเครื่องหนังไทยเชิญให้สมาคมรองเท้าไทยมาร่วมงานประจำปี เราจึงตอบตกลงทันที เพราะมั่นใจในศักยภาพของสมาคมเครื่องหนังไทย และเห็นว่าการร่วมมือครั้งนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย ทั้งด้านประชาชนและผู้ประกอบการทั้งสองสมาคม" |
. |
"ในงานสัปดาห์เครื่องหนังและรองเท้าไทย 2550 มีผู้ประกอบการรองเท้าชั้นนำสนใจร่วมงานอยู่หลายแบรนด์ เช่น พัฒนศิลป์ ST.James Ginz Pierre Cardin GEOX Carlo Tomeo Manwood และ STRONG+ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี หากงานสัปดาห์เครื่องหนังและรองเท้าไทย 2550 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คาดว่าปีหน้าจะเห็นความร่วมมือระหว่างสมาคมเครื่องหนังไทยและสมาคมรองเท้าไทยอีกอย่างแน่นอน" นายบุญเลิศ กล่าว |
. |
งานสัปดาห์เครื่องหนังและรองเท้าไทย 2550 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-11 พฤศจิกายน 2550 ณ อาคารแสดงสินค้า กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมเครื่องหนังไทย โทรศัพท์ 02 645 3505 |