กลุ่มอุตสาหกรรมไต้หวันประกาศยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนากระบวนการผลิตอัจฉริยะ เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมให้อุปกรณ์เครื่องจักรซึ่งจะร่วมผนึกกำลังให้แก่ประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่ยุค 4.0 ทัพผู้ประกอบการจากไต้หวันล้วนนำนวัตกรรมและโซลูชั่นเข้าร่วมแสดงในงาน METALEX 2017 เพื่อเดินหน้าขานรับพันธกิจอุตสาหกรรม 4.0
นายฟิลลิป หวง ผู้อำนวยการสภาส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวัน ประจำประเทศไทย
นายฟิลลิป หวง ผู้อำนวยการสภาส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวัน ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า “นับเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มผู้ประกอบการด้านเครื่องจักรกลจากไต้หวันได้เข้าร่วมงานแสดง METALEX 2017 ครั้งนี้ เพราะจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภัยพิบัติน้ำท่วม โดยสภาการส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวัน (Taiwan External Trade Development Council: TAITRA) และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งไต้หวัน (Taiwan Association of Machinery Industry: TAMI) ได้เชิญผู้ประกอบการชั้นนำด้านเครื่องจักรกลจากไต้หวันเข้าร่วมงานแสดง พร้อมนำเครื่องมือและเครื่องจักรกลมาตรฐานระดับโลก และคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตทั่วโลกครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม มาจัดแสดง โดยเน้นเรื่องคุณภาพและนวัตกรรมด้วยราคาที่สมเหตุสมผล”
ในปีนี้ สภาส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวันพร้อมผู้ประกอบการจากไต้หวัน 65 ราย เปิดพาวิลเลี่ยนขนาดใหญ่บนพื้นที 1,758 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพาวิลเลี่ยนประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงาน METALEX 2017 บริษัทที่เข้าร่วมในงานนี้ล้วนเป็นผู้ประกอบการชั้นนำ เช่น Tongtai Machine & Tool Company Ltd, Hiwin Technologies, Palmary machinery, Zitai Precision Machinery, Shieh Yih Machinery, Everising Machine ฯลฯ บริษัทได้จัดแสดงอุปกรณ์อุตสาหกรรมที่หลากหลายต่างกันไป ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ศูนย์เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่ทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CNC Machine) ที่มีความล้ำสมัย เครื่องเจียระไนและเครื่องปั๊มโลหะ ไปจนถึงอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ชุดรางสไลด์ เครื่องมือตัด และด้ามมีด
งานนิทรรศการนี้เป็นเวทีให้ผู้ประกอบการและโรงงานผลิตได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญด้านการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับคำแนะนำที่เกี่ยวกับเครื่องจักรคุณภาพสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการจากไต้หวันเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านคุณภาพและนวัตกรรมที่ล้ำหน้า
นายสวี่ จื้อ หมิง ผู้อำนวยการแผนกเศรษฐกิจ ประจำสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแห่งไทเปในประเทศไทย
“ไต้หวันมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เราอยากแนะนำโซลูชั่นทางการผลิตอัจฉริยะแบบล่าสุดจากผู้ประกอบการชั้นนำด้านอุปกรณ์เครื่องจักรจากไต้หวัน เราเชื่อว่า อุปกรณ์เครื่องจักรจากไต้หวันจะส่งเสริมอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ทำงานด้วยระบบบริหารจัดการที่เป็นมิตร ลดค่าใช้จ่ายด้านการผลิต รวมถึงทำนุบำรุงการเติบโตและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ไต้หวันเป็นคู่ธุรกิจที่ประเทศไทยเชื่อใจมากที่สุด และทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันในการสร้างความสำเร็จแก่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคตอันใกล้นี้” นายสวี่ จื้อ หมิง ผู้อำนวยการแผนกเศรษฐกิจ ประจำสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแห่งไทเปในประเทศไทย กล่าวเสริม
ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงกันยายนของปีนี้ การส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักรของโรงงานของผู้ผลิตจากไต้หวันคิดเป็นมูลค่า 2.41 พันล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากปีก่อนหน้า และยังมีการคาดการณ์เศรษฐกิจแง่บวกในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อปี 2016 ไต้หวันเป็นประเทศที่ไทยนำเข้าสินค้ามากเป็นลำดับที่ 6 และเป็นคู่ค้าที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 11 ของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรคิดเป็นมูลค่าโดยรวมที่ 1.021 พันล้านเหรียญเมื่อปี 2016 โดยมีไต้หวันเป็นผู้ผลิตถึงร้อยละ 13 หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 130 ล้านเหรียญ จากมูลค่าดังกล่าว ไต้หวันเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก และยังเป็นผู้ส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใหญ่เป็นอันดับห้า โดยมีมูลค่าส่งออกทั้งหมดอยู่ที่ 2.9 พันล้านเหรียญ ตามรายงานเมื่อปีที่แล้ว ไต้หวันสามารถรั้งตำแหน่งหนึ่งในผู้เล่นตัวท็อปของภาคอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้ได้
ในด้านส่วนปฏิบัติงานอัตโนมัติอัจฉริยะ เครื่องกลึง รวมถึงเครื่องจักรสำหรับขุด เจาะรู ย่อย บด ขึ้นรูปและเฉือน ไต้หวันเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่เป็นลำดับที่สองสำหรับประเทศไทย นอกเหนือจากที่กล่าวไปทั้งหมดแล้ว ไต้หวันยังเป็นประเทศที่ไทยนำเข้าเครื่องไสแนวราบเป็นลำดับที่สาม และเป็นลำดับที่สี่ในการนำเข้าเครื่องเลเซอร์ ยิ่งไปกว่านั้น การลงนามในกรอบการทำงานด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย ยังถือว่าเป็นปัจจัยด้านบวกอีกประการหนึ่งต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไต้หวัน นี่จึงเป็นปัจจัยที่ดีว่ากำลังซื้อของประเทศไทยที่มีต่อไต้หวันกำลังมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไป และยังแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงของไต้หวันไม่เพียงแต่ทำให้ไต้หวันสามารถยืนหยัดในตลาดโลกได้เท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการตอบโจทย์มาตรฐานในระดับสูงที่ผู้ซื้อและภาคอุตสาหกรรมด้านการพัฒนาที่ดำเนินงานโดยรัฐบาลคาดหวังไว้
นายเช็ง ลี ตัวแทนฝ่ายขาย HIWIN ให้สัมภาษณ์ว่า “เราผลิตเครื่องจักรและชิ้นส่วนในการควบคุมการเคลื่อนไหว และระบบสั่นสะเทือน ที่ผ่านมาเรามีลูกค้ามากมายทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งลูกค้าให้ความไว้วางใจเพราะสินค้าของเรามีคุณภาพ และสามารถผลิตตามสเป็คที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง เรามีการเข้าร่วมงาน METALEX THAILAND ทุกปีและได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก โดยในปีนี้เราคาดหวังที่จะสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายราว 10% ซึ่งจากวันแรกก็ได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากมีคนให้ความสนใจเข้ามาสอบถามข้อมูลจำนวนมาก “ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางในอุตสาหกรรมด้านนี้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องมืออัตโนมัติ ในอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์และรถนต์ Hi Win พร้อมที่จะนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่หยุดนิ่ง โดยทุกปีจะมีสินค้าใหม่ออกมา ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและได้รับความนิยมจากลูกค้าคือกลุ่ม Robot นอกจากนี้เรายังมีองค์ความรู้ที่สามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมของไทย Industry 4.0 โดยปรับเปลี่ยนนโยบายของบริษัทให้เป็นแบบครบวงจร” นายเช็ง ลี กล่าวเพิ่มเติม
นายแม็กซ์ ลู ผู้จัดการฝ่ายขาย PALMARY ให้สัมภาษณ์ว่า “บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและการผลิตของเครื่องบด และการส่งออกกว่า 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย แม้ปีที่แล้วจะมีสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี แต่ยอดขายของเราในประเทศไทยถือว่าทำได้น่าพอใจ ในปีนี้เรามีนวัตกรรมและความพร้อมที่จะสนับสนุนนโบบาย Industry 4.0 ทั้งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่นำมาจัดแสดงในงาน METALEX THAILAND ในปีนี้ และคาดว่ารายได้ของบริษัทจะเติบโตโดยเฉลี่ย 10 - 20% ในปีนี้”
นายอเล็กซ์ (เยียน หมิง) เฉิน กรรมการผู้จัดการ Tongtai Machinery ให้สัมภาษณ์ว่า “เราดำเนินธุรกิจอยู่ในตลาดการค้าของประเทศไทยมานานหลายปีแล้ว เรามีความพร้อมในการสนับสนุนลูกค้า ทั้งในการแก้ปัญหาเครื่องจักร การทดสอบ และการทดลองใช้เครื่องจักร ซึ่งในปีนี้เรามีการจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนบริการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้เดินหน้าตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังสามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่มีความต้องการใช้เทคโนโลยีมูลค่าสูงได้เพิ่มมากขึ้นต่อไป บริษัทตงไถเข้าร่วมมหกรรมงานแสดงสินค้า METALEX THAILAND 2017 เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดและเพิ่มยอดขายซึ่งตั้งเป้าว่าจะเพิ่มได้ราว 10-20%” “พื้นฐานอุตสาหกรรมของไทยดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะไทยมีศักยภาพ และมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ เรามีความพร้อมที่จะร่วมกับภาครัฐในการผลักดัน Industry 4.0 ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิต นักลงทุน ซัพพลายเออร์ และการพัฒนาต่าง ๆ” นายอเล็กซ์ กล่าวเพิ่มเติม
“ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนานโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในขณะที่ไต้หวันก็กำลังผลักดันนโยบาย New Southbound ซึ่งประเทศไทยกับไต้หวันสามารถร่วมมือกันในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมอวกาศ เรือดำน้ำ อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เศรษฐกิจดิจิทัล การแพทย์ และเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือและผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้” นายฟิลลิป หวง ผู้อำนวยการสภาส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวัน ประจำประเทศไทย กล่าวสรุป