รายงานข่าวจากงาน SIGGRAPH Asia ครั้งที่ 10 งานการประชุมและนิทรรศการด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและเทคนิคอินเตอร์แอคทีฟที่ใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคเอเชีย จัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ช่วงวันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2560 ภายใต้แนวความคิดการจัดงาน “The Celebration of Life and Technology” เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ประสบการณ์ความชำนาญของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดการคิดนอกกรอบในด้านดิจิทัลอิมเมจจิ้ง (Digital Imaging) งานวิจัย วิทยาศาสตร์ ศิลปะ แอนิเมชั่น เกมส์ การสื่อสาร การศึกษา และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยการแสดงผลงานจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและนักสร้างสรรค์ชั้นนำระดับแนวหน้าชาวไทยและชาวต่างชาติจากทั่วโลก รวมถึงการบรรยายจากทีมโปรดักชั่นของ Pixar, Industrial Light & Magic, Disney, Marvel Studios และ Framestore ภายในงานคาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 7,000 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลก
“กว่าสิบปีมาแล้ว งาน SIGGRAPH Asia ได้เริ่มต้นจากการเป็นนิทรรศการเฉพาะกลุ่ม จนกระทั่งกลายมาเป็นการประชุมและนิทรรศการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและเทคนิคอินเตอร์แอคทีฟที่ใหญ่ที่สุดในแถบเอเชีย ปีนี้พวกเราภูมิใจในการจัดงาน SIGGRAPH Asia ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองที่มีการเติบโตในธุรกิจคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและแอนิเมชั่นที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาคนี้ มันเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมากที่ได้อยู่ในธุรกิจที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และที่ๆ เรากำลังใช้เทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงวิธีที่จะรับรู้สิ่งใหม่ ๆ” กล่าวโดย ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ประธานการจัดงานและผู้อำนวยการ SIGGRAPH Asia 2017 และศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย
SIGGRAPH Asia 2017 เป็นงานที่คับคั่งไปด้วยผู้บรรยายมากกว่า 600 คน อาทิ แอลเบิร์ท ยู มี ลิน (Alber Yu Min Lin) นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการค้นคว้า สถาบันแคลิฟอร์เนียเพื่อการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก และ National Geographic Society, ไมเคิล โคเฮน (Michael Cohen) ผู้อำนวยการ Computational Photography Group ของ Facebook, ศิลปินระดับท๊อปของ Pixar บรรยายการทำ Pixar’s ‘Coco’, พบกับขั้นตอนการสร้าง ‘Thor: Ragnarok,’ การพัฒนาการของ Google Spotlight Story โดย มาร์ค โอฟเดล (Mark Oftedal) ผู้กำกับร่วมของ “Piggy” และความท้าทายใหม่เกี่ยวกับการเล่าเรื่องแบบมีปฏิสัมพันธ์ใน VR และโทรศัพท์มือถือแบบ 360 องศา การท้าทายจากการผลิตและบทเรียนจากการสร้างภาพยนตร์ VR: เจมส์ ฝอง (James Fong), ประธานบริหารของ Jaunt China, Ido Banai, ประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง Plenoptic Cognition และ Jake Kahana, ผู้ก่อตั้งร่วมของ Caveday จะพาคุณเข้าไปถึงขั้นตอนการผลิต, เทคนิคการทดลองต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นของการสร้างเรื่องราวขับเคลื่อนภาพยนตร์ VR และชีวิตที่เปลี่ยนไปด้วยประสบการณ์จาก VR, การนำเสนอของ ILM : เบื้องหลังของเวทมนต์, Visual Effects ของ Rogue One: A Star Wars Story อเล็กซ์ พริชาร์ด (Alex Prichard), Associate Visual Effects Supervisor ของ Industrial Light & Magic ที่ได้รับการเสนอชื่อร่วมชิงรางวัล Academy Award
นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอของ Unity ในเรื่อง ขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ใน Real Time Engine, การสร้าง ADAM. รอบปฐมทัศน์โลกของ ADAM ตอนที่ 3 คริส ฮาร์เวย์ (Chris Harvey) VFX Supervisor ของ Oats Studios, Oats Studio และ Mathieu Muller, Film Engineer ที่ Unity ซึ่งจะอธิบายในเรื่องการสร้างแอนิเมชั่น ภาพเสมือนจริงโดยการใช้ Photogrammetry, Custom Shaders และ Timeline Feature และ โชว์เคสของสตูดิโอแอนิเมชั่นที่มีชื่อเสียงจากประเทศไทย รวมถึงคนไทยที่มีชื่อเสียงในวงการแอนิเมชั่นทั่วโลกด้วยแนวทางแบบไทยที่ไม่เหมือนใคร
นิทรรศการฉลองหนึ่งทศวรรษของชีวิตกับเทคโนโลยี
ผู้จัดแสดงงาน SIGGRAPH Asia 2017 จาก 15 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศจีน, ฝรั่งเศส, อินเดีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นงานนิทรรศการที่รวมโชว์เคสของการพัฒนาล่าสุดด้านฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นของคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และเทคนิคการสื่อสารผ่านเทคโนโลยี จากกลุ่มที่มาจัดแสดงงานเป็นครั้งแรกรวมถึงบริษัท ArtFX, Epic Games, IKEA Communications, Luxion Inc, NewOlderVFX Co. Ltd, Ringling College of Art and Design, SOFA Framework, Unity Technologies และ Yannix (Thailand) Co. Ltd. โดยมี รายการของวีอาร์โชว์เคส (VR Showcase) ที่นำพาผู้ชมเข้าไปสู่โลกเสมือนจริงเพื่อสื่อให้เห็นว่า VR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการดูแลสุขภาพหรือด้านความบันเทิงได้อย่างไร และยังทำให้เกิดการโต้ตอบและการมีส่วนร่วมของมนุษย์ เป็นครั้งแรกของ SIGGRAPH Asia ส่วนรายการของ Art Gallery จะแสดงโปรเจคพิเศษในหัวข้อ Mind-Body Dualism ที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับงาน SIGGRAPH Asia โดยโครงการนี้เป็นการร่วมมือระหว่างศิลปินจากประเทศไทย, เวียดนาม, สิงคโปร์ และ Digital Museum of Digital Art (Dimoda) และศิลปินเหล่านี้ได้รับมอบหมายให้สร้างสภาพแวดล้อมแบบที่ศิลปินจากโซนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งสามารถสำรวจ ความเสมือนจริงเหมือนเป็นการสะท้อนโลกทางกายภาพของพวกเขา
สำหรับสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจเป็นการแสดง ผลงานเอกสารวิชาการ (Thechnical Papers Program) ประกอบด้วยผลงานของการค้นคว้าด้านศาสตร์แห่งศิลปะในหัวข้อการปั้นและออกแบบสู่การประดิษฐ์, จากภาพ HDR สู่การแสดงผลแบบใหม่ และจากการเคลื่อนไหวของร่างกายสู่การจับภาพเฉพาะของส่วนใบหน้า, ร่างกาย, และมือท่ามกลางส่วนอื่นๆ สำหรับ รายการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshops Program) ผู้ร่วมงานจะทำการพูดคุยค้นหาไอเดียใหม่ ๆ ใน 3 รายการ: แอนิเมชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล, ปัญญาประดิษฐ์เมื่อพบกับ VR และ AR และ มรดกทางดิจิตอล (Digital Heritage)กับการทำงานร่วมกันเป็นนวัตกรรมใหม่