บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง เปิดตัวสายการผลิต "กระป๋องทัลก์" สายการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณน้ำเสียที่ใช้ล้างผิวอะลูมิเนียม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการอบสี และแผ่น PET ที่เคลือบอยู่บนกระป๋อง สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน
. |
บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง เปิดตัวสายการผลิต "กระป๋องทัลก์" สายการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณน้ำเสียที่ใช้ล้างผิวอะลูมิเนียม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการอบสี และแผ่น PET ที่เคลือบอยู่บนกระป๋อง สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน |
. |
บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องเครื่องดื่มและอาหารชั้นนำของไทยด้วยมาตรฐานเทคโนโลยีระดับโลก ประกาศเปิดตัวสายการผลิตกระป๋องทัลค์ (TULC :Toyo Ultimate Lighweigth Can) ซึ่งเป็นสายการผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องเครื่องดื่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานรายแรกของโลก นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน |
. |
เปิดสายการผลิตอย่างเป็นทางการ โดยมี ฯพณฯ พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคคมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายเมฆินทร์ เมธาวิกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และมร.ชุนจิ คาเนโกะ รองประธานบริษัท โตโย ไซกัน ไกซา จำกัด บริษัท ผู้คิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตกระป๋องทัลค์ การเปิดสายการผลิตดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกของโลกที่ผลิตกระป๋องเครื่องดื่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการบริโภคในชีวิตประจำวัน |
. |
มร.ซาโตชิ นิชิโนะ ประธานบริษัท บางกองแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กล่าวว่า "บางกอกแคน และกลุ่มโตโย ไซกัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมกันสร้างสรรค์กระป๋องคุณภาพที่สามารถตอบโจทย์เรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกปัจจุบัน" พร้อมเสริมว่า "เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่นำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ผลิตกระป๋อง เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงมอบความสะดวกในการบริโภคเครื่องดื่มที่โปรดปรานของผู้บริโภคไว้ได้ ดังนั้น กระป๋องทัลค์ จึงเป็นกระป๋องคุณภาพที่ไม่เพียงแต่จะปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย" |
. |
ทัลค์เป็นเทคโนโลยีผลิตกระป๋อง 2 ชิ้น น้ำหนักเบา สามารถผลิตได้ทั้งจากเหล็กทินฟรีสตีล (TFS : Tin Free Steel) หรืออลูมิเนียม พร้อมประหยัดการใช้น้ำเนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตขณะที่การผลิตกระป๋องแบบเดิมจำเป็นต้องใช้น้ำจำนวนมากในการทำความสะอาดกระป๋องในระหว่างกระบวนการผลิต |
. |
นอกจากนี้ กระป๋องทัลค์ยังเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มพีอีที (PET : PolyEthylene Terephthalate) ทั้งด้านนอกและด้านใน ทำให้ไม่ต้องผ่านกระบวนการเคลือบหรืออบสีเหมือนกระป๋องธรรมดา จึงส่งผลให้ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นหนึ่งสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน นอกจากนั้น แผ่นพีอีที ที่เคลือบอยู่บนกระป๋อง มีส่วนประกอบของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเท่านั้น จึงทำให้ไม่ปล่อยก๊าซพิษเมื่อนำไปหลอมละลายเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ |
. |
ด้วยกระบวนการผลิตกระป๋องทัลค์ที่สั้นกว่ากกระบวนการผลิตกระป๋องโดยทั่วไป ยังช่วยลดขยะอุตสาหกรรมและลดการใช้พลังงาน ขณะเดียวกันด้วยคุณลักษณะเด่นของกระป๋องทัลค์ ยังสามารถช่วยลดการใช้ทรัพยากรและง่ายต่อการนำกลับไปใช้ใหม่ด้วย |
. |
บริษัทฯ ได้ลงทุนกว่า 800 ล้านบาทเพื่อนำเทคโนโลยีอันล้ำสมัยมาใช้ในการผลิต ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 500 ล้านกระป๋องต่อปี จากเดิมที่ผลิตได้ 1,000 ล้านกระป๋องต่อปี ทั้งนี้ กระป๋องทัลค์จะได้รับการผลิตเพื่อป้อนให้กับผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำของไทย ทั้งน้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” นายไพโรจน์ มีทวี รองประธานบริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง กล่าว |
. |
ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทบางกอกแคนฯ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่ม 50% อาทิ ไทยน้ำทิพย์, โคคา-โคลา, เป๊ปซี่, กรีนสปอต เป็นต้น กับ กลุ่มผู้ผลิตเบียร์อีก 50% เช่น บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ ซึ่งในส่วนของการผลิตกระป๋องทัลก์ประมาณเดือนละ 45-50 ล้านกระป๋อง ขณะนี้ได้เจรจากับลูกค้าผู้ผลิตเครื่องดื่มให้เปลี่ยนมาใช้กระป๋องทัลก์ได้แล้ว 15 ล้านกระป๋อง โดยราคาจำหน่ายยังเท่าเดิม ราคากระป๋องแบบเดิมที่เคยจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน คาดว่าภายในปี 2552 ความต้องการน่าจะเต็มกำลังการผลิตพอดี |
. |
ด้านคู่แข่งในอุตสาหกรรมกระป๋องเครื่องดื่มในปัจจุบันมี 2 ราย คือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (TBC) กำลังการผลิตปีละประมาณ 800 ล้านกระป๋อง กับบริษัท ซีซีเอส จำกัด การผลิตปีละประมาณ 350 ล้านกระป๋อง ซึ่งในประเทศไทยนอกเหนือจากบริษัทบางกอกแคนฯที่บริษัทโตโยฯเข้ามาถือหุ้นใหญ่แล้ว ยังมีโรงงานในเครืออีก 2 โรง เป็นโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก PET 1 โรง และโรงงานผลิตขวดแชมพู 1 โรง ที่พระนครศรีอยุธยา |
. |
นอกจากนั้นยังมีโรงงานผลิตกระป๋องอยู่ในประเทศจีน-เวียดนาม-มาเลเซีย ซึ่งเร็วๆ นี้บริษัท "อาจจะ" ขยายธุรกิจผลิตกระป๋องทัลก์ไปยังประเทศอินเดียและประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง โดยการเข้าลงทุนนั้นก็จะไปในนามของบริษัทโตโย ไซกัน ไกซา เริ่มจากลงทุนประมาณ 800 ล้านบาท กำลังการผลิตเดือนละ 45 ล้านกระป๋อง |