เนื้อหาวันที่ : 2017-10-10 17:01:10 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2103 views

หลักสูตร BrandKU เน้นสร้างแบรนด์ยั่งยืน

ดร.ศิริรัตน์ โกศการิกา ผู้อำนวยการหลักสูตร BrandKU คณะบริหารธุรกิจ และรองผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดภูมิภาคเอเชีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์ ย้ำเสมอว่าแบรนด์ดีต้องบอกต่อ แต่จะบอกให้โดนใจ ถึงใจ ได้ใจลูกค้า เราเองก็ต้องมีกลยุทธที่เด็ดโดนไว้ใช้งาน  โดยเฉพาะผู้บริโภคยุดนี้โตมากับมือถือ ความคิดของเขาย่อมแตกต่างจากยุคก่อน เช่น ถ้าไม่พอใจสินค้าก็สามารถโพสต์ได้ทันที และรวดเร็วมาก เพียงแค่การสื่อสารผิดพลาดแบรนด์ของอาจพังได้ในชั่วข้ามคืน

หลักสูตร BrandKU ของมหาวทิยาลัยเกษตร์ศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจเป็น BRAMDING ACADEMY เปิดสอนเป็นปีที่ 2 รุ่นที่ 2ในปีนี้ ที่มาของการทำหลักสูตรนี้เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคดิจิทัล ซึ่งองค์กรไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชนดูแลชื่อเสียงแบรนด์ขององค์กรและตัวเองยากมากหลักสูตรนี้จะช่วยค้าหาตัวตน ยึดหลักของตัวเองให้เจอ ไม่โดนพูดถึงในแง่ที่ไม่ดีในโลกออนไลน์ หรือถ้าโดนแล้วต้องทำการปรับปรุงแก้ไขอย่างไรคือสอนตั้งแต่การสร้างพิมพ์เขียวของแบรนด์ การวางโครงสร้างของแบรนด์ การบริหารจัดการ การแก้ปัญหา รวมถึงถ้าจะรีแบรนด์ต้องทำยังไง การสร้างแบรนด์ก็เหมือนการสร้างบ้าน เพียงแต่ยุคนี้การสร้างบ้านไม่จำเป็นต้องเทปูนเหมือนเดิม แต่ใช้คอนกรีตสำเร็จ ใช้เครื่องมือนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการสื่อสารเพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน โดยเรียนรู้จากกูรูตัวจริงที่มากด้วยประสบการณ์มือหนึ่งของเมืองไทย ได้แก่ คุณวิทวัส ชัยปราณี, ดร.ศิริกุล เลากัยกุล, ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์, คุณดลชัย บุณยะรัตเวช เป็นต้น สอนเรื่องบุคลิก เสื้อผ้า หน้า ผม โดยมีกูรูมือหนึ่งในแต่ละด้านมาแนะนำ หลักจากจัดลุคดีแล้วหากต้องพูดในที่สาธารณะจะพูดยังไงให้คนสนใจ ก็จะมีโคชชิ่งระดับท็อปของเมืองไทยมาสอนโดยโปรเจกต์ที่สำคัญมากคือให้แต่ละกลุ่มไปสร้างแบรนด์จริงให้กับองกรการกุศลไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิ, โซเชี่ยลเอ็นเตอร์ไร้ซ์ หรือองค์กรการกุศลใดใดก็ตามที่ติดต่อมา หลังได้องค์กรการกุศลที่เลือกแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือต้องไปหาแบรนด์โมเดล หรือพิมพ์เขียวขององค์กรนั้นเพื่อสื่อสารให้คนรู้จัก ทำเป็นหนังสั้นแบบวิดีโอไวรัลคลิป ความยามประมาณ 3 นาที ปกติการสร้างแบรนด์จะต้องใช้เงินเป็นล้าน แต่เราทำให้ฟรี ให้องค์กรเหล่านี้เป็น ที่รู้จักมากขึ้น มีคนมาช่วยเหลือกิจกรรมขององค์กรมากขึ้น ผู้ทำก็ได้บุญตามไปด้วย

ดร.ศิริรัตน์ โกศการิกา ผู้อำนวยการหลักสูตร BrandKU คณะบริหารธุรกิจ และรองผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดภูมิภาคเอเชีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้อำนวยการหลักสูตร BrandKU กล่าวเพิ่มเติมว่า “ไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือ OTOP สินค้าต้องมีแบรนด์ ซึ่งไม่ใช่แค่โลโก้ แต่เป็นความมีประสบการณ์ร่วมกันระหว่างสินค้าผู้บริโภค ซึ่งเทรนด์ยุคดิจิทัล SMEs โพสต์เป็น ใช้เครื่องมือได้ แต่ใช้อย่างเหมาะสมแค่ไหน ใช้แล้วตอบโจทย์ หรือเปล่า ถ้าต้องการแค่ขายของ ขายได้คือจบ แต่ถ้าต้องการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรต้องสร้างแบรนด์ การแข่งขันในยุคออนไลน์ทกุกคนต่างงัดอาวุธทุกอย่างออกมาสู้กัน แต่ในความเป็นจริงเราไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธทุกอย่าง ใช้เฉพาะบางอย่างที่มีประสิทธิภาพจริง ๆ เช่น การสร้างแบรนด์ที่เป็นตัวตนชัดเจน ซึ่งจะเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว มากกว่าแค่การขายสินค้า จึงอยากฝากผู้ประกอบการให้เห็นคุณค่าของแบรนด์ หันมาดูแบรนด์และวิเคราะห์ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ