ในยุคปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้น พนักงานมีงานล้นมือมากขึ้น ในขณะที่ต้องทำงานให้มากขึ้น ด้วยงบประมาณที่ลดลง ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัญหาของผู้ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลที่ต้องพบเจอและต้องหาทางออกให้ได้เพื่อตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ พร้อมกับต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานภายในโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
ไมเคิล ซัลลิแวน ประธานฝ่ายอาคาร บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่าชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้นำเสนอโซลูชันสำหรับโรงพยาบาลผ่านแพลตฟอร์ม IoT ชื่อ EcoStruxure for Healthcare และซอฟต์แวร์ EcoStruxure Building Operation ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (ซึ่งชื่อก่อนหน้านี้คือ StruxureWare Building Operation) ด้วยโซลูชัน Clinical Environment Optimization ใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานห้องต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยนำมาใช้ได้เต็มศักยภาพ ด้วยเทคโนโลยีนี้ปัจจุบันโรงพยาบาลไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานไปกับระบบปรับอากาศหรือระบบแสงสว่างในห้องว่างเปล่าที่ไม่มีการใช้งานอีกต่อไป
โซลูชัน Clinical Environment Optimization จะนำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของห้องมาตั้งค่าปรับเงื่อนไขหรือสถานะการใช้ห้องได้โดยอัตโนมัติตามข้อมูลที่ลงไว้ในระบบ ADT ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับผู้ป่วย (Admission) จนกว่าผู้ป่วยจะออกจากโรงพยาบาล (Discharge) หรือการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น (Transfer) ระบบออโตเมชันสำหรับอาคารจะจัดการเรื่องการควบคุมแสงสว่าง การควบคุมอุณหภูมิ ระบบอากาศหมุนเวียน ข้อมูลนี้จะนำมาใช้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังสามารถยกเลิกคำสั่งได้ในเวลาที่ต้องการ ลดกระบวนการทำงานซ้ำซ้อน
โซลูชัน Clinical Environment Optimization ทำงานอย่างไร?
โซลูชัน Clinical Environment Optimization ผสานรวมการทำงานร่วมกับระบบเดิมที่ใช้งานอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหา ผ่านอินเตอร์เฟซ Health Level-7 (HL7) โดย HL7 คือองค์กรที่พัฒนามาตรฐานระบบเปิดที่สนับสนุนความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบงานด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่มีการติดตั้งใช้งานอย่างกว้างขวางมากที่สุดในสถานดูแลสุขภาพ มาตรฐานดังกล่าวคือตัวที่อนุญาตที่ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางคลินิก เชื่อมโยงระบบอำนวยความสะดวกและระบบงานในคลินิกเข้าด้วยกัน
โซลูชัน Clinical Environment Optimization ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ โดยใช้โปรโตคอล BACnet, LONworks หรือ Modbus ซึ่งนิยมใช้สำหรับระบบออโตเมชันสำหรับอาคารและแอพพลิเคชันเพื่อการควบคุม
เคล็ดลับ 3 ประการสำหรับการทำ Optimization ได้ง่าย
1. ผสานการทำงานของระบบบริหารจัดการอาคารและระบบ ADT ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกันเพื่อลดการใช้พลังงานในห้องผู้ป่วย รวมถึงห้องผ่าตัด และพื้นที่ในบริเวณคลินิกที่ไม่มีการใช้งาน
2. นำข้อมูลเกี่ยวกับห้องมาใช้ในการแจ้งเตือนฝ่ายดูแลความสะอาดเมื่อห้องว่างและพร้อมที่จะให้เข้ามาทำความสะอาดได้
3. นำข้อมูลเกี่ยวกับห้องมาใช้ในการแจ้งเตือนพนักงานดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในช่วงเวลาที่ห้องว่างและพร้อมที่จะให้เข้ามาดำเนินการเรื่องการซ่อมบำรุง
เหมาะสำหรับโรงพยาบาล - ศูนย์ดูแลสุขภาพทุกขนาด
สามารถใช้ร่วมกับสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล - ศูนย์ดูแลสุขภาพทุกขนาด โดยเป็นโซลูชันที่ให้ประโยชน์สูงสุดสำหรับสภาพแวดล้อมแบบคลินิก ด้วยความสามารถดังต่อไปนี้
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันได้ที่ http://www.schneider-electric.co.th/th/work/campaign/innovation/buildings.jsp เพื่อปฏิรูปประสิทธิภาพด้านพลังงานและการดำเนินงานที่คล่องตัวให้กับโรงพยาบาล อันจะเป็นการรองรับจุดเปลี่ยนแห่งยุคดิจิทัล