เนื้อหาวันที่ : 2007-09-13 08:27:57 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1743 views

ผู้เชี่ยวชาญเสนอ 5 ทางเลือกผลิตไฟฟ้าใช้ของอาเซียน

ผู้เชี่ยวชาญเสนอ 5 ทางเลือกเทคโนโลยีและนโยบายผลิตไฟฟ้าที่เป็นไปได้ อาทิ การประหยัดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การผลิตไฟฟ้าโดยนิวเคลียร์เทคโนโลยี ถ่านหินสะอาด พลังงานหมุนเวียน และพลังน้ำ

.

ผู้เชี่ยวชาญเสนอ 5 ทางเลือกเทคโนโลยีและนโยบายผลิตไฟฟ้าที่เป็นไปได้ อาทิการประหยัดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานการผลิตไฟฟ้าโดยนิวเคลียร์เทคโนโลยี ถ่านหินสะอาด พลังงานหมุนเวียนและพลังน้ำ ในงานสัมมนาการผลิตไฟฟ้าอาเซียน พร้อมเผยสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าแนวโน้มในอนาคตของกลุ่มประเทศอาเซียนและประสบการณ์การพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากประเทศฝรั่งเศสหวังเพื่อเพิ่มทางเลือกการผลิตไฟฟ้าและซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน

.

ในยุคที่กระแสไฟฟ้ากลายเป็นปัจจัย 5 ของการดำเนินชีวิตไฟฟ้าได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการรงชีวิตของมนุษย์ตลอดเวลาส่งผลให้ความต้องการไฟฟ้าของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นโดยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของไทยอยู่ที่เกือบ 22,000 เมกะวัตต์ในขณะที่กำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 27,500 เมกะวัตต์ซึ่งแม้ว่าจะยังเพียงพอต่อความต้องการใช้ในปัจจุบันแต่ด้วยแนวโน้มความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.5%

. 

ในทุกๆ ปีซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงกว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอาจทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการ และภายใน 15ปีข้างหน้า ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้องอาศัยความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

.

รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสารผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการ “Powering ASEAN: Technology and Policy Options”ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และสถานทูตฝรั่งเศสเมื่อเร็วๆนี้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาและมีประชากรจำนวนมากรวมกันประมาณ 500 ล้านคนในปัจจุบัน และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

. 

ทำให้ความต้องการด้านพลังงานมีมากขึ้นตามลำดับเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในระยะยาวจึงได้มีการจัดงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์และข้อคิดเห็นด้านทางเลือกเชิงเทคโนโลยีและนโยบายที่ปฏิบัติได้จริงหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ลาว เขมร และเวียดนามจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีกจำนวนมาก

.

ดังนั้นปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันและความต้องการใช้ในอนาคตจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่งแล้ว เช่น ประเทศไทยมาเลเซีย ยังมีประชากรเพิ่มขึ้น และมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจึงจำเป็นที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องเพิ่มฐานการผลิตไฟฟ้าโดยคำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้านแหล่งพลังงานต้นทุนการผลิตที่สมเหตุสมผลการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก"

 .

 .

ทั้งนี้ การนำเสนอด้านเทคโนโลยีและนโยบายเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากผู้เชี่ยวชาญหลายประเทศได้มีการกล่าวถึงทางเลือกด้านนโยบายและเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 แนวทางด้วยกัน ประกอบด้วย การประหยัดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เทคโนโลยี ถ่านหินสะอาด พลังงานหมุนเวียนและพลังน้ำ

. 

ซึ่งเป็นแนวทางที่เคยใช้จริงแล้วในหลายประเทศและอาจใช้ได้ผลในประเทศกลุ่มอาเซียน ตัวอย่างเช่นการประหยัดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานหากทำได้อย่างจริงจังจะช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงไปได้มากถึงขนาดลดขนาดหรือจำนวนโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่ได้ส่วนการใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า มีประสบการณ์จากประเทศฝรั่งเศสคือมีการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ถึง 70% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศอีกทั้งยังมีชื่อด้านความปลอดภัยที่น่าชื่นชมจนกลายเป็นกรณีศึกษาด้านระบบความปลอดภัยของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ .

 

รศ.ดร.บัณฑิต กล่าวอีกว่า การสร้างความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆจะช่วยเพิ่มมุมมองและทางเลือกในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย จากเดิมที่มีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลักอาจต้องหันมาพิจารณาทางเลือกอื่นบ้าง

 .

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะใช้ทางเลือกใดก็จะมีความเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งจึงจำเป็นต้องมีการประเมินผลได้ ผลเสียของแต่ละทางเลือกอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างการยอมรับ รวมทั้งสร้างกลไกเรื่องความปลอดภัยความมั่นคงและเป็นการกระจายความเสี่ยงที่จำเป็นทั้งนี้รวมถึงการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศด้วย ซึ่งต้องประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทั้งด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมเช่นกัน"

.

อย่างไรก็ดี การขยายฐานการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกด้วยเนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอาจเป็นการซ้ำเติมภาวะโลกร้อนให้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและยากที่จะเยียวยาให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมและไม่ว่าทางเลือกแหล่งพลังงานและเทคโนโลยีสำหรับผลิตไฟฟ้าของเราจะประกอบด้วยอะไรบ้างแต่ทางเลือกที่ขาดไม่ได้ คือการประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน อาคารและเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม"