ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถติดตั้งใช้งานอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ได้ในพื้นที่อาณาบริเวณกว้างขวางสำหรับตอบโจทย์ทั้งการใช้งานภายในองค์กรและทางด้านอุตสาหกรรม โดยโซลูชั่นเหล่านี้มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้:
“ประเด็นทางด้านการลงทุนที่สูงจนยากจะเข้าถึงและการขาดโซลูชั่นสำเร็จรูปแบบองค์รวมนั้นเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำอุปกรณ์ IoT มาปรับใช้งานในวงกว้างให้แพร่หลาย” Keerti Melkote รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปแห่งฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์กล่าว “ด้วยการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไปเสริมให้กับ IoT เพื่อขยายเฟรมเวิร์คที่มีความครอบคลุมของเราให้กว้างขวางยิ่งขึ้นภายใต้การทำงานบนโซลูชั่นระบบโครงข่ายที่ปลายทาง (edge infrastructure), แพลตฟอร์มของระบบซอฟต์แวร์ และความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์อื่น ๆ ในระบบนิเวศทางด้านเทคโนโลยีของเรา ทำให้เอชพีอีสามารถเอาชนะอุปสรรคทางด้านต้นทุน, ความซับซ้อน และความปลอดภัยอันเป็นข้อกังวลของเหล่าองค์กรที่กำลังมองหาบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งจะช่วยให้องค์กรเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานได้ในอนาคต”
ถึงแม้องค์กรจะได้ทำการผสาน IoT เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานหลักในธุรกิจแล้ว การ onboarding IoT และการบริหารจัดการอุปกรณ์เหล่านั้นก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายที่สูงและยังคงขาดประสิทธิภาพอยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในระบบที่มีขนาดใหญ่ และในขณะเดียวกัน ความหลากหลายของการเชื่อมต่อ, โปรโตคอล และความปลอดภัยในการใช้งาน IoT นั้นก็ทำให้องค์กรไม่สามารถผนวกรวมข้อมูลระหว่างโครงข่ายของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันด้วยวิธีการที่แตกต่างกันได้สำเร็จ
เพื่อทำให้การนำ IoT ไปใช้สร้างองค์ความรู้อันทรงคุณค่าจากข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันอยู่นับพันล้านชิ้นเป็นจริงขึ้นมาได้ เอชพีอีได้ช่วยให้เหล่าองค์กรปรับปรุงวงจรการใช้งานอุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ลงและการแปลงการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมดให้กลายเป็นภาษากลาง เอชพีอีมีเครื่องมือที่ทำให้เหล่าองค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และยังทำให้การนำระบบ IoT ไปใช้งานภายในระบบขนาดใหญ่ให้ดีขึ้นได้อย่างมหาศาล
เพื่อปรับปรุงให้การลงทุน IoT ในระบบระยะไกล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เอชพีอีจึงได้ประกาศเปิดตัว HPE Mobile Virtual Network Enabler (MVNE) และเสริมความสามารถใหม่ๆ ให้กับระบบ HPE Universal IoT (UIoT)
HPE Mobile Virtual Network Enabler – HPE Mobile Virtual Network Enabler ที่เปิดตัวใหม่นี้จะทำให้ลูกค้าสามารถควบคุมอุปกรณ์ IoT ที่ต้องมีการเชื่อมต่อโครงข่ายและบริการโทรศัพท์ไร้สายได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งระบบนี้จะรองรับการมาของเหล่า IoT Mobile Virtual Network Operators (MVNOs) ที่จะเกิดขึ้นในบทบาทผู้ให้บริการเฉพาะทางเพื่อขายการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ IoT แก่ลูกค้าโดยตรงด้วยราคาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระบบการเชื่อมต่อของเครื่องจักรสู่เครื่องจักร (machine-to-machine/M2M) และการใช้งาน IoT ในขนาดใหญ่ HPE MVNE บริการในการจัดเตรียม, ตั้งค่า, บริหารจัดการ และคิดค่าใช้จ่าย นั้นเมื่อถูกนำมาใช้ร่วมกับการให้บริการโครงข่ายในพื้นที่เป็นบริเวณกว้างแล้ว ก็จะช่วยเปลี่ยนแปลงการลงทุนของระบบ IoT ขนาดใหญ่ให้คุ้มค่าขึ้นได้ด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมลงไปได้สูงสุดถึง 80 เปอร์เซ็นต์
HPE Universal IoT Platform ด้วยการออกแบบระบบมาเพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบ IoT ในขนาดใหญ่, รองรับอุปกรณ์จากผู้ผลิตหลากหลายราย และมีระบบเครือข่ายจากผู้ผลิตหลากหลายรายได้ ด้วยการใช้มาตรฐานสื่อสารกลางอย่าง oneM2M ก็ทำให้ HPE Universal IoT Platform สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์ HPE MVNE ได้ และยังสามารถบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT ได้จากหลากหลายผู้ผลิต, ออกรายงานสรุปรวม และมีบริการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับอุปกรณ์เป็นจำนวนมากได้ ในระดับเดียวกันกับผู้ให้บริการโครงข่าย (Carrier-grade) แพลตฟอร์มนี้ยังสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระยะไกลแบบใช้พลังงานต่ำอย่างเช่น LoRa และ SIGFOX รวมไปถึงยังรองรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านระบบโครงข่ายสำหรับโทรศัพท์ไร้สาย, คลื่นวิทยุ, Wi-Fi และบลูทูธได้อีกด้วย
ความสามารถใหม่ๆ ที่ถูกเพิ่มเข้ามามีดังนี้
“เพื่อให้ประโยชน์อันสูงสุดของ IoT นั้นเป็นที่ประจักษ์ต่อทั้งภาคธุรกิจและเหล่าผู้บริโภค เครือข่ายเซ็นเซอร์ของ IoT นั้นสามารถถูกติดตั้งใช้งานได้ทุกที่ และเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ได้” Paul Gudonis ประธานกลุ่มธุรกิจองค์กรของ Inmarsat กล่าว “การรวมกันระหว่างระบบเครือข่ายดาวเทียมชั้นนำทั่วโลกของ Inmarsat และ Universal IoT Platform ที่ทำงานบนคลาวด์ของเอชพีอีนั้นก็ได้ทำให้เหล่าองค์กรสามารถตอบโจทย์เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ความร่วมมือแรกของพวกเราในโครงการ Precision Farming นั้นไม่เพียงแต่ได้สร้างแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการเกษตรเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการในการก้าวเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ในอุดมคติที่บริษัทของพวกเราสามารถนำวิธีการเดียวกันนี้ไปปรับใช้ได้ในอีกหลากหลายอุตสาหกรรมนอกเหนือไปจากการเกษตร พวกเราตื่นเต้นเป็นอย่างมากกับโอกาสที่อยู่ตรงหน้าเหล่านี้”
ความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ IoT ภายในระบบเครือข่ายภายในองค์กร
เพื่อให้การเชื่อมต่อของระบบ IoT ขนาดใหญ่สามารถควบคุมและรักษาความปลอดภัยได้ที่ระบบเครือข่ายปลายทางขององค์กร อรูบา หนึ่งในบริษัทของฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ ได้เคยประกาศเปิดตัว Aruba ClearPass Universal Profiler และ Aruba 2540 Series Switch ออกมาแล้ว โดยโซลูชั่นใหม่เหล่านี้จะทำการจำแนกและจัดเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ IoT ทั้งหมดทันทีที่อุปกรณ์เหล่านั้นทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อพอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ IoT ผ่านสายสัญญาณได้อีกด้วย
ClearPass Universal Profiler ที่ออกมาใหม่นี้จะทำการจำแนกคุณลักษณะของอุปกรณ์ IoT โดยอัตโนมัติทันทีที่อุปกรณ์เหล่านั้นเชื่อมต่อเข้ามายังระบบเครือข่าย ซึ่งความสามารถนี้จะทำให้เหล่าผู้จัดการฝ่าย IT สามารถระบุได้ว่ามีอุปกรณ์ IoT อะไรบ้างอยู่บนระบบเครือข่ายมีสายและระบบเครือข่ายไร้สาย แล้วยังสามารถทำการกำหนดนโยบายรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับแต่ละอุปกรณ์ได้ Universal Profiler นี้ยังช่วยให้สามารถตรวจสอบและรับรู้ข้อมูลแวดล้อมเช่นความเสี่ยงหรือประเด็นปัญหาทางด้านประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ IoT ได้อีกด้วย
Aruba 2540 Series Switch สามารถช่วยปกป้องอุปกรณ์ IoT ให้มากขึ้นได้ด้วยการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเครือข่ายอย่างครบวงจร โดยความสามารถนี้จะทำการระบุและกำหนดสิทธิ์ให้กับอุปกรณ์ IoT ทันทีที่มีการเชื่อมต่อเข้ามาในระบบเครือข่าย, ทำการกำหนดระดับความสำคัญให้แก่แอพพลิเคชั่นที่ส่งผลต่อธุรกิจ และควบคุมว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถเข้าถึงส่วนใดของระบบเครือข่ายได้บ้าง Aruba 2540 Series Switch นี้เหมาะต่อการใช้งานสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ด้วยความหนาแน่นน้อยถึงปานกลางที่ปลายขอบของระบบเครือข่ายองค์กร
HPE Aruba Media Advisory: http://news.arubanetworks.com/press-release/hpe-aruba-drives-iot-adoption-innovations-connectivity-and-device-visibility
นำเสนอนวัตกรรมที่ปลายทางของระบบเครือข่ายโดยเฉพาะสำหรับการใช้งาน IoT ในระดับอุตสาหกรรม
ความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ทางด้านเทคโนโลยีแบบครบวงจรนั้นถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับ IoT โดยพาร์ตเนอร์ทางด้านเทคโนโลยีของระบบแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ นั้นก็ได้ช่วยส่งเสริมให้ HPE Edgeline Converged Edge Systems สามารถแก้ไขปัญหา ให้กับลูกค้า และเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆได้อีกด้วย วันนี้ เอชพีอีได้ประกาศถึงโซลูชั่นใหม่ๆ จำนวนมากและกรณีการใช้งานร่วมกับพาร์ตเนอร์ที่จะทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับ IoT ได้แก่:
คำกล่าวสนับสนุน
“เราได้เลือกให้เอชพีอีเป็นพาร์ทเนอร์หลักในแผนการสร้างเมืองอัจฉริยะของรัฐบาลอินเดีย” Dr.Anand Agarwal ซีอีโอแห่ง Sterlite Technologies กล่าว “ในฐานะของพาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์สำหรับ IoT เอชพีอีจะเข้ามาร่วมพัฒนาส่วนต่างๆ ของเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ ระบบมาตรวัดอัจฉริยะ, ระบบจัดการน้ำและของเสียอัจฉริยะ และระบบลานจอดรถและไฟส่องสว่างอัจฉริยะ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ด้วย ทั้งหมดนี้จะเป็นแม่แบบสำหรับเมืองและชนบทของอินเดีย ความร่วมมือของเรากับเอชพีอีนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการประสานงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันจะสามารถสร้างคุณค่าได้มากยิ่งกว่าเดิมสำหรับทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องกับโครงการเมืองอัจฉริยะ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนผู้อยู่อาศัยได้จริง ด้วยการผนวกรวมจุดแข็งทางด้านเทคโนโลยีและบริการของเราเข้าด้วยกัน เราก็จะสามารถสร้างโซลูชั่นเมืองอัจฉริยะชั้นนำระดับโลกให้กับอินเดียได้อย่างแน่นอน”
“กลุ่มมาตรฐาน oneM2M นั้นมุ่งเน้นไปที่การทำให้วิสัยทัศน์ของการสร้างสังคมที่เชื่อมต่อถึงกันให้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ด้วยการพัฒนาข้อกำหนดทางด้านเทคนิคที่ระบุให้ต้องมีชั้นของบริการ M2M กลางซึ่งสามารถสื่อสารร่วมกันได้” Fran O’Brien ผู้ดำรงตำแหน่ง Steering Committee Chair แห่ง oneM2M กล่าว “oneM2M ได้รับทราบถึงการทำงานของบริษัทอย่างฮิวเล็ตต์ แพ็คการ์ด เอ็นเทอร์ไพรส์ (เอชพีอี) ที่ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวบริการแพลตฟอร์มสำหรับ IoT ที่ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐาน oneM2M หนึ่งได้ และทำให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น เมืองอัจฉริยะ, ระบบขนส่งอัจฉริยะ และรถยนต์อัจฉริยะ”
“การผนวกรวมโซลูชั่นจากหลากหลายผู้ผลิตให้อุปกรณ์และระบบของ IoT ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารระหว่างกันและบริหารจัดการร่วมกันได้นั้นถือเป็นความท้าทายอย่างมาก” Zeus Kerravala หัวหน้านักวิเคราะห์จาก ZK Research กล่าว “การฝืนให้โซลูชั่นเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้จะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านโครงสร้างและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานเป็นอย่างสูงตามมา และทำให้องค์กรเริ่มต้นใช้งานโซลูชั่น IoT ได้ช้าลง โซลูชั่นใหม่ของเอชพีอีที่ถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อแก้ไขอุปสรรคในการนำ IoT ไปใช้งานได้นี้จะช่วยลดเวลาในการติดตั้งใช้งานระบบ IoT ลงเป็นอย่างมาก และยังจะช่วยให้สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่ายมีความซับซ้อนน้อยลง อันจะส่งผลให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นไปด้วย”
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
HPE and Nokia collaborate to expand IoT initiatives: https://www.hpe.com/us/en/newsroom/news-archive/press-release/2016/11/1288009-hewlett-packard-enterprise-and-nokia-expand-collaboration-on-internet-of-things.html