ลิงค์ซิสเผยผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในบ้าน จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ 500 คนในประเทศไทย พบว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้เวลาวันละ 5 ชัวโมงในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่บ้าน โดยกว่าครึ่งหนึ่งใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับงานทั่วไป เช่น เช็คอีเมล แชร์และอัพโหลดภาพถ่าย รวมถึงการแชร์แชร์วิดีโอคลิปบนแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ เช่น Facebook, LINE และ Instagram นอกจากนี้ ผู้ใช้ราว 40 เปอร์เซ็นต์ชื่นชอบการรับชมวิดีโอ YouTube และคอนเทนต์สตรีมมิ่งแบบถ่ายทอดสดผ่านเครือข่าย Wi-Fi ภายในบ้าน ขณะที่มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านสำหรับอี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) ผลการสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับผลการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประจำปี 2559 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ซึ่งระบุถึงกิจกรรม 3 อย่างที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้แก่ การสนทนาผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก การรับชมวิดีโอ YouTube และการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
ตัวเลขข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเราเตอร์ Wi-Fi ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและเสถียรภาพสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่หลากหลายภายในบ้าน ขณะที่ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดังกล่าวได้รับผลจากความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดย 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่บ้านของพวกเขาอยู่ในช่วงระหว่าง 10 - 15 Mbps และ 35 เปอร์เซ็นต์มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เร็วกว่า 20 Mbps ขณะที่ 20 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่บ้านอยู่ในช่วง 15 - 20 Mbps
ในส่วนของจำนวนของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ มีถึง 35 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมีอุปกรณ์มากกว่า 10 เครื่องที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในบ้าน โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้รวมถึงสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ สมาร์ทวอทช์ สมาร์ททีวี พริ้นเตอร์ Wi-Fi เกมคอนโซล กล้องไอพี และสมาร์ทล็อค (กลอนล็อคประตูอัจฉริยะ) นอกจากนี้จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต อย่างไรก็ดี มีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ระบุว่ามีอุปกรณ์เพียง 1 หรือ 2 เครื่องที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่บ้าน
5 ปัจจัยสำคัญที่สุด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเปลี่ยนเราเตอร์ได้แก่:
นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังได้ระบุถึงปัจจัยสำคัญ 3 ข้อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเราเตอร์ โดยปัจจัยสำคัญที่สุดคือ ราคาและการรับประกัน (25 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วยความสะดวกและง่ายในการติดตั้ง (23 เปอร์เซ็นต์) ขณะที่ 22 เปอร์เซ็นต์ต้องการความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามราว 20 เปอร์เซ็นต์ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์ที่พวกเขาต้องการ ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าตนเองสนใจเรื่องดีไซน์ของเราเตอร์มากกว่าเรื่องอื่นๆ
ในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถาม 79 เปอร์เซ็นต์มองหาเราเตอร์เครื่องใหม่ที่มีราคา 3,500 - 5,000 บาท และ 85 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าตนเองจะซื้ออุปกรณ์ขยายสัญญาณเชื่อมต่อ (Range Extender) เพื่อให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่ภายในบ้านเพิ่มมากขึ้น และลดปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่หลุดบ่อย
นายกวิน อิสระชัยพิสิฐ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทยของลิงค์ซิส กล่าวว่า “ผลการสำรวจนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และตอกย้ำถึงความสำคัญของอินเทอร์เน็ตภายในบ้าน แม้ว่าผู้ใช้จะใช้เวลา 8-10 ชั่วโมงอยู่นอกบ้าน และใช้เวลากว่า 6-8 ชั่วโมงในการใช้งานอินเทอร์เน็ต แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองใช้เวลาในแต่ละวันโดยเฉลี่ย 5 ชั่วโมงในการเชื่อมต่อออนไลน์ที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้เวลาเชื่อมต่อออนไลน์นานเท่าไร ผู้ใช้งานยังคงต้องการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ราบรื่นและเปี่ยมประสิทธิภาพ เป็นที่ชัดเจนว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยต้องการผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งง่าย โดยที่ส่วนใหญ่เลือกใช้แบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้งานไม่ได้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกที่สุดในตลาด แต่ยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่าสำหรับแบรนด์ที่มอบคุณภาพ คุณประโยชน์ และความปลอดภัยที่เหนือกว่าเพื่อความสบายใจของพวกเขา
“ปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องใช้แบนด์วิธสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลิงค์ซิสมองเห็นปัญหาที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่ผู้ใช้คาดหวังว่าจะได้รับจากโฮมเราเตอร์ วันนี้เครือข่าย Wi-Fi ที่เปี่ยมประสิทธิภาพมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เราจึงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี Next-Gen AC และ MU-MIMO เพื่อรองรับการใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่อจำนวนมากของผู้ใช้ตามบ้าน พร้อมด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยที่อย่างเต็มรูปแบบ”
การสำรวจความคิดเห็นในประเทศไทย
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ดำเนินการโดยลิงค์ซิส ครอบคลุมผู้ใช้ 500 คนในประเทศไทย อายุระหว่าง 18 ถึง 45 ปี