บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จในการสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง ซึ่งล่าสุด ฮอนด้า ซีวิค ใหม่ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว รวมถึงฮอนด้า บริโอ้ อเมซ ใหม่ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว จากการทดสอบการชนของ ASEAN NCAP นอกจากนี้ ฮอนด้า ยังได้รับอีก 10 รางวัลกรังด์ปรีซ์ อวอร์ด 2016 ด้านความปลอดภัยดีเยี่ยม จัดขึ้นโดย ASEAN NCAP เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่มีคุณภาพและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย รวมทั้งความปลอดภัยต่อลูกค้า และผู้ใช้ถนนทุกคน
ฮอนด้า ซีวิค ใหม่ ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนด้านหน้าแบบเยื้องศูนย์ และการชนด้านข้างในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก และสำหรับรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้งระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้า (Seatbelt Reminder: SBR) ก็ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว จากการทดสอบการชนด้านหน้าในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
ฮอนด้า ซีวิค ใหม่ เจเนอเรชั่นที่ 10 เผยโฉมเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมียอดจองในประเทศไทยแล้วกว่า 25,000 คัน นับตั้งแต่การเปิดตัว ทั้งยังได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ "รางวัลรถยนต์แห่งปี 2016 (Car of the Year 2016)" ในประเทศมาเลเซีย "รางวัลรถยนต์ซีดานอเนกประสงค์แห่งปี (Compact Sedan of the Year)" ในประเทศฟิลิปปินส์ และ "รางวัลรถยนต์รุ่นใหม่ยอดเยี่ยม (Best Newcomer)" ในประเทศอินโดนีเซีย
สำหรับ ฮอนด้า บริโอ้ อเมซ ใหม่ ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว จากการทดสอบการชนในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งทำให้ ฮอนด้า บริโอ้ ใหม่ ที่ได้รับการพัฒนาบนแพลตฟอร์ม และติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยเดียวกันกับ บริโอ้ อเมซ ใหม่ สามารถผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ฮอนด้ายังได้รับรางวัลด้านความปลอดภัยดีเยี่ยมจาก ASEAN NCAP กรังด์ปรีซ์ อวอร์ด 2016ถึง 10 รางวัล ซึ่งจัดขึ้น ณ สนามแข่งรถเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย ได้แก่ ฮอนด้า ซีวิค ใหม่ ได้รับรางวัลรถยนต์ซีดานขนาดกลางสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ (Best Medium Family Car in Adult Occupant Protection: AOP) และรางวัลรถยนต์
ซีดานขนาดกลางสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นเด็ก (Best Medium Family Car in Child Occupant Protection: COP) และ Honda SENSING ได้รับรางวัลเทคโนโลยีความปลอดภัย (Safety Technology Award) ในส่วนผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งเป็นระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ใหม่ล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดยฮอนด้า รวมถึงรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมด้านความปลอดภัยในระดับ 5 ดาว ด้วยราคาที่น่าเป็นเจ้าของ (The Most-Affordable 5-Star Car) อีก 7 รางวัล สำหรับ 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งจากรางวัลทั้งหมดที่ได้รับ ทำให้ฮอนด้าเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในการมอบรางวัลครั้งนี้
เทคโนโลยีความปลอดภัยอันล้ำสมัย Honda SENSING ซึ่งติดตั้งอยู่ใน ฮอนด้า แอคคอร์ด ไฮบริด ใหม่ เป็นระบบความปลอดภัยอัจฉริยะที่ผสานการทำงานของเรดาร์และกล้องด้านหน้า เพื่อตรวจจับสภาวะแวดล้อมบนท้องถนน แล้วแจ้งเตือนผู้ขับขี่หรือช่วยควบคุมรถในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ขับและผู้โดยสารในรถ รวมถึงเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน
Honda SENSING ประกอบด้วย 4 ระบบ ได้แก่
และด้วยพันธสัญญาใน "ความปลอดภัยเพื่อทุกคน" ฮอนด้าจะยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีและยนตรกรรมเพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ที่ใช้ถนนร่วมกัน เพื่อสร้างเสริมสังคมที่ปราศจากอุบัติเหตุ
รถยนต์ฮอนด้ารุ่นต่างๆ ที่ผ่านการทดสอบการชนของ ASEAN NCAP:
รุ่น |
ปีทดสอบ |
ผลลัพธ์ |
ซีวิค |
2016 |
ระดับ 5 ดาว** |
บริโอ้ อเมซ |
2016 |
ระดับ 4 ดาว |
บริโอ้ |
2016 |
ระดับ 4 ดาว |
บีอาร์-วี |
2015 |
ระดับ 5 ดาว* |
เอชอาร์-วี |
2015 |
ระดับ 5 ดาว** |
แจ๊ซ |
2014 |
ระดับ 5 ดาว* |
ซิตี้ |
2014 |
ระดับ 5 ดาว* |
ซีอาร์-วี |
2013 |
ระดับ 5 ดาว* |
ซีวิค |
2013 |
ระดับ 5 ดาว* |
ซิตี้ |
2012 |
ระดับ 5 ดาว* |
* ในรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้งระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (Vehicle Stability Assist: VSA) และระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้า (Seatbelt Reminder: SBR) ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว
** สำหรับฮอนด้า ซีวิคและเอชอาร์-วี ในรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้งระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้า (Seatbelt Reminder: SBR) ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว
รางวัลต่างๆ ที่ฮอนด้าได้รับจาก ASEAN NCAP กรังค์ปรีซ์ อวอร์ด 2016:
รุ่น / เทคโนโลยี |
ประเภท |
รางวัล |
ปี |
ซีวิค (รุ่นปี 2016) |
สมรรถนะ ด้านการปกป้องจากการชน
|
รถยนต์ซีดานขนาดกลางสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ |
2016
|
รถยนต์ซีดานขนาดกลางสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นเด็ก |
|||
ซีวิค (รุ่นปี 2013) |
รถยนต์ซีดานขนาดกลางสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นเด็ก |
2014
|
|
ซิตี้ (รุ่นปี 2014) |
รถยนต์ที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ |
||
รถยนต์ซีดานขนาดเล็กสำหรับครอบครัวที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ |
|||
ซีอาร์-วี (รุ่นปี 2013) |
รถยนต์สปอร์ตอเนกประสงค์ที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ |
||
รถยนต์สปอร์ตอเนกประสงค์ที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นเด็ก |
|||
Honda SENSING |
เทคโนโลยี |
ผู้ผลิตรถยนต์ยอดเยี่ยมด้านเทคโนโลยีความปลอดภัย |
2016 |
Honda Lane Watch |
2014 |
||
ซิตี้ (รุ่นปี 2014) |
รางวัลระดับ 5 ดาว ด้วยราคาที่น่าเป็นเจ้าของ |
รางวัลระดับ 5 ดาว ด้วยราคาที่น่าเป็นเจ้าของ ในประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม |
2016 |
แจ๊ซ (รุ่นปี 2014) |
รางวัลระดับ 5 ดาว ด้วยราคาที่น่าเป็นเจ้าของ ในประเทศฟิลิปปินส์ |
||
บีอาร์-วี (รุ่นปี 2016) |
รางวัลระดับ 5 ดาว ด้วยราคาที่น่าเป็นเจ้าของ ในประเทศอินโดนีเซีย |
||
เอชอาร์-วี (รุ่นปี 2015) |
รางวัลระดับ 5 ดาว ด้วยราคาที่น่าเป็นเจ้าของ ในประเทศบรูไนและสิงคโปร์ |
เกี่ยวกับ ASEAN NCAP:
การทดสอบการชนเพื่อทดสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของรถยนต์ของ ASEAN NCAP (ASEAN New Car Assessment Program) จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย (The Malaysian Institute of Road Safety Research: MIROS) กระทรวงคมนาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2554 สถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับ Global NCAP ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหราชอาณาจักร เพื่อมุ่งส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยบนท้องถนน กระตุ้นให้เกิดการรับรู้และเห็นถึงความสำคัญของการขับขี่ปลอดภัย รวมถึงสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประชาคมอาเซียน)
สำหรับการทดสอบการชนของ ASEAN NCAP เป็นการทดสอบการชนทางด้านหน้า ซึ่งรถยนต์ที่เข้าร่วมทดสอบจะพุ่งชนสิ่งกีดขวางซึ่งทำด้วยอลูมิเนียมที่ความเร็ว 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีหุ่นทดสอบขนาดผู้ใหญ่ 2 ตัว นั่งอยู่ด้านหน้า และหุ่นทดสอบขนาดเด็กจำลองอายุ 3 ปี และ 18 เดือน อย่างละ 1 ตัว นั่งอยู่ในที่นั่งสำหรับเด็กทางด้านหลัง และบันทึกผลการทดสอบด้วยระบบเซนเซอร์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ตัวหุ่นทดสอบและที่รถยนต์ จากนั้นจึงเทียบผลที่ได้กับระดับความปลอดภัยของ NCAP