วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ผลิตน้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทดแทน พร้อมจัดส่งเทคโนโลยีและองค์ความรู้เข้าถ่ายทอดแก่ชุมชน ตั้งเป้า 1 ปีให้เป็นชุมชนต้นแบบผลิตน้ำมันสบู่ดำใช้แทนน้ำมันดีเซลสำหรับชุมชนอื่นๆ ต่อไป
. |
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) หนุน "วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง" จังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูน ผลิตน้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทดแทน พร้อมจัดส่งเทคโนโลยีและองค์ความรู้เข้าถ่ายทอดแก่ชุมชน ตั้งเป้า 1 ปีให้เป็นชุมชนต้นแบบผลิตน้ำมันสบู่ดำใช้แทนน้ำมันดีเซลสำหรับชุมชนอื่นๆ ต่อไป หวังสร้างความเป็นไทด้านพลังงานให้กับชุมชน ภายใต้แนวคิด "1 ชุมชน 1 พลังงานทางเลือกทดแทน" |
. |
รศ.ศิริลักษณ์ นิวิฐจรรยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ( เอ็มเทค ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงความร่วมมือในโครงการโรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการผลิตน้ำมันสบู่ดำ ระยะที่ 1 ระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูนว่า โครงการฯ ดังกล่าวเกิดจากความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง ที่ต้องการผลิตน้ำมันจากสบู่ดำขึ้นใช้เอง เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนไม่ต้องนำรายได้ไปจัดซื้อน้ำมัน เพราะที่ผ่านมาชุมชนมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของพลังงานมากกว่า 60 – 70% ทั้งก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ |
. |
หากชุมชนสามารถผลิตพลังงานใช้เองจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น น้ำมันสบู่ดำ ก็จะช่วยผ่อนภาระให้กับชุมชนและถือว่าชุมชนหรือหมู่บ้านนั้น ‘มีความเป็นไททางด้านพลังงาน’ และในอนาคตยังสามารถมองไปถึงพลังงานรูปแบบอื่นได้ต่อไป เนื่องจากสบู่ดำยังมีศักยภาพที่จะนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลได้อีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้น้ำมันและความพร้อมของชุมชนนั้น ๆ |
. |
. |
"ในอดีตกระแสความต้องการใช้น้ำมันสบู่ดำส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของการขายต้นหรือพันธุ์ จึงสนับสนุนให้มีการปลูกกันเพื่อการขายต้นสบู่ดำเพื่อนำไปใช้ผลิตน้ำมันมากกว่า แตกต่างจากวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้างที่มีการรวมตัวกันเพื่อต้องการผลิตน้ำมันสบู่ดำขึ้นใช้เองแทนน้ำมันดีเซล โครงการฯ นี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด 1 ชุมชน 1 พลังงานทางเลือกทดแทน และหวังให้เป็นชุมชนต้นแบบในการถ่ายทอดความสำเร็จของโครงการโรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการผลิตน้ำมันสบู่ดำ สำหรับชุมชนอื่นๆ ต่อไปในอนาคต" |
. |
โดยการสนับสนุนของ สวทช. ประกอบด้วย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ในฐานะผู้มีบทบาทในการวิจัยพลังงานทางเลือก จะให้การสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนาเครื่องจักรสำหรับการผลิตน้ำมันสบู่ดำ , ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุนเรื่องของการเพาะพันธุ์สบู่ดำ และโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี.) ให้การสนับสนุนเรื่องการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันสบู่ดำให้กับชาวบ้าน |
. |
นางสาวสนธวรรณ สุภัทรประทีป ผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย ( iTAP) กล่าวว่า ถือเป็นโครงงานแรกที่ทางโครงการ iTAP ได้เข้ามาให้การสนับสนุนแก่วิสาหกิจชุมชนที่มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งและมีความต้องการที่ชัดเจนในการที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาจากเดิมที่ iTAP ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่ภาคเอกชนในรูปแบบของบริษัทหรือโรงงานในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต , การจัดการการผลิตให้สามารถผลิตได้ดีขึ้นมีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งการเข้ามาสนับสนุนแก่วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง เนื่องจากเห็นว่าเป็นชุมชนที่เล็งเห็นความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มองค์ความรู้ให้กับชุมชนเอง นับเป็นโครงการหนึ่งที่ทางสวทช.ให้ความร่วมมือกับชุนชนในการพัฒนาและยกระดับมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น |
. |
ด้าน นาง
|
. |
"การที่มองสบู่ดำมาเป็นพลังงานทดแทน เพราะเป็นพืชที่มีอยู่ดั่งเดิมในชุมชน หลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิรักษ์ไทยทั้งเรื่องการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน และการสร้างอาชีพเสริมของกลุ่มสตรีในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น รวมถึงเรื่องของพลังงานทดแทนที่ได้ร่วมกิจกรรมในโครงการการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และก๊าซชีวภาพกับกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ทำให้เกิดแนวคิดในการนำต้นสบู่ดำที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับพืชท้องถิ่นอีกด้วย" |
. |
ดร.สมัย ใจอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวเสริมว่า โครงการฯ นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนที่ต้องการนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผลิตเป็นไบโอดีเซลเพื่อการพึ่งตนเอง โดยความร่วมมือดังกล่าว จะมีระยะเวลา 1 ปี แบ่งเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูกต้นสบู่ดำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยทาง iTAPได้เชิญ รศ.ดร.พรชัยเหลืองอาภาพงศ์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมงานของหน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบทจากไบโอเทคเข้าไปช่วยเหลือเรื่องของพันธุ์ การเพาะปลูกและการคัดเลือกสายพันธุ์ รวมถึงกการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันสบู่ดำ , การใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องจักรกลการเกษตร และการผลิตเครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำแบบไฮดรอริกมือโยก ราคาถูกและผลิตง่ายเพื่อให้ชุมชนได้ทดลองการผลิต ซึ่งเครื่องดังกล่าวออกแบบและพัฒนาโดย ดร.
|
. |
ส่วนระยะที่สอง จะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรผลิตน้ำมันสบู่ดำ ประกอบด้วย เครื่องกะเทาะเปลือก เครื่องหีบและเครื่องกรอง ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับกำลังการผลิตที่ใหญ่ขึ้น (mass products) โดยขนาดและกำลังการผลิตขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชนเป็นหลัก นอกจากนี้จะมีการติดตามผลการใช้งานของเครื่องจักร การเพาะปลูก และการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินการผลิตน้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองได้ |
. |
โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) |