เนื้อหาวันที่ : 2006-05-30 13:59:08 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1176 views

รัฐเร่งกระตุ้นการลงทุน 3 อุตฯ เป้าหมาย หวังทำยอดสิ้นปีนี้ 8 แสนล้าน

บอร์ดบีโอไอเห็นชอบมาตรการการกระตุ้นการลงทุน 3 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี เกษตรแปรรูป มั่นใจ สิ้นปีนี้การลงทุนจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ระหว่าง 750,000-800,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคาดว่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 550,000 ล้านบาท

บอร์ดบีโอไอเห็นชอบมาตรการการกระตุ้นการลงทุน 3 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี เกษตรแปรรูป เลขาฯ บีโอไอมั่นใจ สิ้นปีนี้การลงทุนจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ระหว่าง 750,000-800,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคาดว่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 550,000 ล้านบาท

 

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่า ภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ภาครัฐต้องหามาตรการกระตุ้นการลงทุน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้บีโอไอปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

 

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประชุมเห็นว่า โครงการที่มีมูลค่าเงินลงทุนตั้งแต่ 30,000 ล้านบาทขึ้นไป และมีความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น เป็นประเภทที่ใช้เทคโนโลยีสูง หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีการผลิตในประเทศ คณะกรรมการเห็นชอบให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเพิ่มมาตรการจูงใจอื่น ๆ ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวิจัยและพัฒนา นอกจากนรี้ ในระยะยาวได้เสนอให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และสามารถให้การอุดหนุนการลงทุนเพื่อช่วยลดต้นทุนด้วย เพื่อให้แข่งขันกับประเทศต่าง  ๆ ได้

 

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี  ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมมพื้นฐานสำคัญที่นำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีกว่า 275,000 ล้านบาท และเพื่อลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จึงเห็นชอบเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมในกิจการผลิตเคมีภัณฑ์ 5 ชนิด ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงครบวงจร ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ คลอรีน โซดาไฟ กรอไฮโดรคลอริก และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ โดยให้ได้รับสิทธิปละประโยชน์ตามเกณฑ์ที่ตั้ง

 

กิจการ การผลิตยางสำหรับยานพาหนะ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเพื่อการส่งออกและตั้งโรงงานในเขต 1 และ 2 ขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น จึงเห็นชอบให้ปรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม โดยยกเว้นภาษีเครื่องจักร สำหรับกิจการเดิมที่ต้องการขยายกิจการในที่ตั้งเดิม ในเขต 1 และ 2 นอกนิคม จากเดิมที่โรงงานที่ตั้งในเขตดังกล่าวไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเครื่องจักร

 

นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ข้างต้น จะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อปัจจัยที่เป็นเหตุให้บางอุตสาหกรรม เช่น ปิโตรเคมี พลังงานทดแทน ฯลฯ ยังไม่มีการลงทุนนั้น คือ การขาดแคลนวัตถุดิบ หรืออุตสาหกรรมต้นน้ำ ดังนั้น เมื่อภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนทำให้เกิดการเชื่อมโยงครบวงจร ก็จะจูงใจให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องเกิดขึ้นตามมา จึงมั่นใจว่า สิ้นปีนี้การลงทุนจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ระหว่าง 750,000-800,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคาดว่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 550,000 ล้านบาท