บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด หวังผลงานชนะเลิศ Imagine Cup 2007 สร้างแรงกระตุ้นความตื่นตัว ส่งผลยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เตรียมต่อยอดพัฒนาผลงานชนะเลิศระดับโลก "Live Book" เชิงพาณิชย์ พร้อมหนุนนักพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อมด้านธุรกิจ
. |
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด หวังผลงานชนะเลิศ Imagine Cup 2007 สร้างแรงกระตุ้นความตื่นตัว ส่งผลยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เตรียมต่อยอดพัฒนาผลงานชนะเลิศระดับโลก “Live Book” เชิงพาณิชย์ พร้อมหนุนนักพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อมด้านธุรกิจ ส่งอบรมภายใต้โครงการ Imagine Cup Innovation Accelerator ณ ประเทศอังกฤษ ในเดือนมกราคม 2551 เป็นเวลาสองสัปดาห์ |
. |
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "โปรแกรม Imagine Cup Innovation Accelerator จะช่วยให้ผู้ชนะเลิศได้มีโอกาสต่อยอดซอฟต์แวร์ แอพลิเคชั่นที่เขาพัฒนาขึ้นไปสู่การเป็นเทคโนโลยีที่เป็นสากลและขยายผลได้ในเชิงธุรกิจ ผลงานของเด็กไทยในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงศักยภาพที่ยอดเยี่ยมของเด็กไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะกระตุ้นให้นักพัฒนาไทย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยทุกฝ่ายตื่นตัวในการสร้างสรรค์และผลักดันให้นวัตกรรมท้องถิ่นของประเทศไทยได้รับการยอมรับ และสามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ" |
. |
นอกเหนือจากโล่รางวัล และเงินสดมูลค่า 25,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 850,000 บาทที่ทีมผู้ชนะเลิศได้รับแล้ว บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมีโครงการต่อเนื่องเพื่อสนับสนุน และต่อยอดผลงานชนะเลิศ ดังนี้ |
|
. |
"การแข่งขัน Imagine Cup ถือเป็นโครงการสำคัญของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ที่ดำเนินภายใต้ความมุ่งมั่นสามประการ นั่นคือ การพัฒนาด้านการศึกษา การส่งเสริมนวัตกรรมท้องถิ่น และการสร้างงานสร้างรายได้ในประเทศ โครงการ Imagine Cup ตอบโจทย์ความมุ่งมั่นทั้งสามข้อ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้คิดค้นและเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้นำเทคโนโลยีเข้าไปสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในประเทศของเราเอง ซึ่งวันหนึ่งนวัตกรรมเหล่านี้อาจถูกพัฒนาและทำตลาดได้ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ และย่อมก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในประเทศตามมานั่นเอง" นางสาวปฐมา กล่าว |
. |
ผลงานชนะเลิศ "Live Book" ของนายวสันต์ เจียรมณีทวีสิน นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ นายจตุพล สุขเกษม และนายปฐมพล แสงอุไรพร นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยาวชนจากประเทศไทยในนามทีม “3KC Returns” เป็นซอฟต์แวร์แอพลิเคชั่นซึ่งสามารถช่วยให้คนในชนบทที่ไม่รู้หนังสือ เด็ก เยาวชน รวมทั้งคนที่อยากฝึกภาษาต่างประเทศ สามารถพัฒนาทักษะด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูดได้โดยตรงจากหนังสือที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยเพียงแค่วางหนังสือไว้หน้าเว็บแคม ระบบจะจับภาพของย่อหน้าในแต่ละหน้า จดจำตัวอักษร และแปลงแต่ละตัวอักษรให้เป็นภาพที่น่าสนใจบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยแสดงรายละเอียดและคำศัพท์บนย่อหน้าพร้อมความหมาย และสอนให้ผู้เรียนสามารถฝึกอ่านได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น ผู้เรียนจะสามารถเรียนทักษะการอ่าน เขียน และฟังจากหนังสือที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้แม้ว่าจะไม่รู้หนังสือก็ตาม |
. |
. |
นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงการได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ว่า "ผลงานของเราเป็นที่ยอมรับจากคณะกรรมการเนื่องจาก ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น "Live Book" ที่เราพัฒนาขึ้นสามารถตอบโจทย์ที่ทางไมโครซอฟท์ตั้งไว้คือ "Imagine a world where technology enables a better education for all” ซึ่งมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันเพื่อสังคม และสร้างสรรค์แอพลิเคชั่นที่ช่วย พัฒนาในเรื่องการศึกษาและปรับปรุงชีวิตของคนนับล้านทั่วโลกให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีอย่าง .NET Framework และ Windows platform ซึ่งสิ่งที่น่าตื่นเต้นอย่างหนึ่งของโครงการ Imagine Cup ของไมโครซอฟท์ก็คือ เราได้นำเทคโนโลยีในปัจจุบันมาสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นไปได้ และพยายามนำโซลูชั่นซอฟต์แวร์มาใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง" |
. |
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยร่วมยินดีและพร้อมร่วมผลักดันให้นวัตกรรมท้องถิ่นของไทยแข็งแกร่งในเวทีโลก |
ในส่วนของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ในฐานะองค์กรที่ดูแลรับผิดชอบในการผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศให้เกิดการพัฒนาและเติบโตสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ในเวทีโลก และได้มีความร่วมมือในโครงการต่างๆ กับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนนักพัฒนาของไทย ได้กล่าวชื่นชมกับความสามารถของเด็กไทย โดยเชื่อว่าประเทศไทยมีนักพัฒนาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ ซึ่งซิป้าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพื่อสร้างความเเข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย |
. |
ดร. นิรชราภา ทองธรรมชาติ รองผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เผยว่า "ความสามารถของเยาวชนไทยในครั้งนี้ได้เป็นที่ประจักษ์แก่อุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติแล้วว่า เรามีนักพัฒนารุ่นใหม่ที่มีฝีมือพร้อมก้าวไปสู่เวทีระดับโลกเช่นกัน การแข่งขัน Imagine Cup ของไมโครซอฟท์ถือเป็นหนึ่งในหลายๆ กิจกรรมของหน่วยงานและองค์กรในประเทศที่พร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้ก้าวหน้าและแข็งแกร่ง ในส่วนของซิป้าซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศนั้น พร้อมและยินดีที่จะทำงานร่วมกับทุก ๆ ฝ่ายเพื่อช่วยกันส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เติบโตยิ่งขึ้นต่อไป" |
. |
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้มีความเข้มแข็งมากว่าหนึ่งทศวรรษ และมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนโครงการ Imagine Cup มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุน Incubation Program หรือโปรแกรม บ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเพิ่มทักษะแก่นักศึกษาในการต่อยอดซอฟต์แวร์แอพลิเคชั่นในเชิงพาณิชย์ |
. |
นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า "รางวัลที่ทีมเยาวชนไทยได้รับในครั้งนี้เป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งประเทศ และเป็นการประกาศศักยภาพของเยาวชนไทยในเชิงนวัตกรรม และทักษะการใช้เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส ที่สามารถประยุกต์และตอบโจทย์ในระดับโลก ซึ่งโครงการ Imagine Cup Innovation Accelerator ของไมโครซอฟท์นี้สอดคล้องกับกลยุทธ์หนึ่งของซอฟต์แวร์พาร์คในการบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อก้าวสู่เวทีธุรกิจโลกบนฐานความรู้ที่เป็นสากล ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์พาร์คยินดีและพร้อมที่จะสนับสนุนเยาวชนทีมนี้และโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่เพื่อเป็นกำลังในการผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยแข็งแกร่งยิ่งขึ้น" |
. |
สำหรับการแข่งขัน Imagine Cup ครั้งต่อไป หรือ Imagine Cup 2008 มีกำหนดจะจัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ภายใต้แนวคิด “Imagine a world where technology enables a sustainable environment” ซึ่งนักศึกษาที่สนใจจะเข้าร่วมการแข่งขัน สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.imaginecup.com ได้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป |