- เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้าน
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเคยดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามละนวัตกรรม (RDMIS) และได้รับการขึ้นทะเบียนโดย สวทช. หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำรายละเอียดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมฉบับเต็ม (Full Paper) รวมทั้งจัดเก็บบันทึกการวิจัย สรุปผล และรายงานการวิจัยไว้เป็นหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจประเมินภายหลัง
- โครงการที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก สวทช. แล้ว
- บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับการตรวจประเมินระบบบริหารการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมฉบับเต็ม (Full Paper) รวมทั้งจัดเก็บบันทึกการวิจัย สรุปผล และรายงานการวิจัยไว้เป็นหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจประเมินภายหลัง
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “สวทช. ได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองโครงการ วิจัยฯ ในรูปแบบ pre-approval ตั้งแต่ปี 2545 โดยผลการดำเนินงานจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2558 มีโครงการวิจัยฯ ที่ยื่นขอรับการรับรองจำนวน 3,236 โครงการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,808 ล้านบาท สำหรับช่องทางใหม่ที่เป็นวิธี Self-Declaration ในช่วงที่ผ่านมา สวทช. และ วว. ได้ร่วมกันจัดทำข้อกำหนดระบบ RDIMS ขึ้น โดยจะประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค. 2559 เป็นต้นไป เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่ระบบ RDIMS ได้เตรียมความพร้อมสำหรับรับการตรวจประเมินระบบและขึ้นทะเบียนฯ โดยในวันนี้จะมีการลงนามความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ วว. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการการรับรองระบบ RDIMS เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีในรูปแบบ Self-declaration ต่อไป”
ด้าน ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า “วว. มีสำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรอง (Certification Body; CB) ที่ให้บริการตรวจประเมินและรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล อาทิ ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, GMP, HACCP และ ISO 22000 เป็นต้น ดังนั้น จึงเชื่อมั่นได้ว่าการทำงานร่วมของทั้ง 2 หน่วยงานจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารการวิจัยฯ ให้มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อองค์กรที่นำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ และเมื่อเชื่อมโยงในการใช้สิทธิยกเว้นภาษี 300% จะเป็นกลไกสำคัญอีกอันหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการผลักดันด้านการลงทุนงานวิจัย มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นต่อระบบเศรษฐกิจของชาติต่อไป”
ด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. และ ผอ.ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี กล่าวเพิ่มเติมว่า “เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้ประกอบการจะสามารถดำเนินงานและประยุกต์ใช้ ระบบ RDIMS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่ผ่านมา สวทช. ได้ร่วมกับ วว. ดำเนินการโครงการนำร่องในการตรวจประเมินระบบ RDIMS ให้กับผู้ประกอบการเอกชนอาสาสมัคร 5 ราย ได้แก่ บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยโพลิเอทิลีน จำกัด บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด และบริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งผลจากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการ อาสาสมัครดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดย สวทช. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าอบรมหลักสูตร “ความรู้เบื้องต้นสิทธิประโยชน์ตามมาตรการยกเว้นภาษี 300% และระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม” เพื่อเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมิน ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอรับการตรวจประเมินระบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2559 เป็นต้นไป ”
รูปและที่มาข่าว : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี